Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิรติ กีรติกานต์ชัย
•
ติดตาม
11 ธ.ค. 2021 เวลา 04:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมดาวหางจึงน่าสนใจ
ดาวหาง Leonard C/2021 A1 โดย วิรติ กีรติกานต์ชัย 8 Dec 2021 05:15-05:35 A.M.
1.ดาวหางก็เหมือนฟอสซิล การศึกษาดาวหางทำให้เราเสมือนนั่งไทม์แมชชีน ย้อนกลับไปในตอนเริ่มต้นระบบสุริยะ โดยเฉพาะดาวหางที่ไกลออกไปมากๆในบริเวณเมฆออร์ต มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก หนึ่งในภารกิจของยานสำรวจ New Horizon ก็คือการสำรวจดาวเคราะห์น้อย ดาวหางและวัตถุในระบบสุริยะชั้นนอก ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องกำเนิดระบบสุริยะได้ดีและมากขึ้น
2.ดาวหางมีความแตกต่างจากดาวเคราะห์น้อย โดยมีองค์ประกอบเป็นแก็ส สารประกอบต่างๆ โดยเฉพาะอินทรียสารได้แก่ มีเทน กรดอะมิโน อีเทน ไฮโดรคาร์บอนห่วงโซ่ยาว รวมถึง เมทานอล ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ฟอร์มัลดีไฮด์และ เอทานอล เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์หลายฝ่ายสันนิษฐานว่าดาวหางที่พุ่งชนโลกในยุคแรก อาจเป็นต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิตแรกบนโลก
Leonard comet From Sakeao province By Wittichai Krodkiri
3.ยานสำรวจ Rosetta -Philae โดย ESA ได้ลงจอดบนดาวหาง Comet 67 P/Churyumov-Gerasimenko ปฏิบัติภารกิจสำรวจส่วนหัวหรือนิวเคลียสของดาวหางนี้ ก่อนจบภารกิจ 12 ปีด้วยการบังคับให้ Rosettta พุ่งชนดาวหาง 67P/Churyumov-Gerasimenko ยานทั้งสองได้อยู่ด้วยกันบนดาวหางนี้ตลอดไป
Image from ESA
4.ขนาดของดาวหางมีตั้งแต่ขนาดเล็กไม่กี่ร้อยเมตรไปจนหลายร้อยกิโลเมตร เส้นทางโคจรเป็นวงรีไม่อยู่ในระนาบสุริยะ วงโคจรของดาวหางมีผลให้คาบการโคจรของดาวหางมีเวลามากน้อยต่างกันออกไปตั้งแต่ไม่กี่ปีไปจนนับล้านปี
Comet and asteroid size : NASA & JPL
5.จากการศึกษาพบว่ามีดาวหางขนาด 300 เมตร พุ่งชนโลกทุกๆ 500 ปี และขนาด 1.6 กม. พุ่งชนโลกทุกๆ 6,000 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ตกลงในทะเลและมหาสมุทร ไม่รวมกับดาวเคราะห์น้อยซึ่งถือว่าเป็นอีกวัตถุอวกาศที่ชนปะทะโลกสลับกับดาวหางมาตั้งแต่กำเนิดโลก
Leonard comet From Srakeao By Songyut Suphadej
การชนครั้งใหญ่ของดาวหาง อุกกาบาตและดาวเคราะห์น้อยนี้เกิดขึ้นอย่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อโลกอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อ 250 ล้านปี ในยุค Permian-Triassic ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปกว่า 90 % และต้องใช้เวลากว่า 10 ล้านปีในการกลับคืนสภาพ และที่สำคัญคือการชนในยุค Cretaceous–Paleogene เมื่อ 66 ล้านปีก่อนทำให้สิ้นสุดยุคของไดโนเสาร์ที่เราทราบกันดี
6.มนุษย์เพิ่งอุบัติบนโลกนี้เพียงล้านปีเท่านั้น เป็นระยะเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของโลกและระบบสุริยะ ในอดีตการชนโดยวัตถุนอกโลกจึงดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์และเข้าใจสมาชิกของระบบสุริยะมากขึ้น เราจึงตระหนักว่าเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนและสร้างระบบเตือนภัยคุกคาม International Asteroid Warning Network (IAWN) เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติในการสังเกตการณ์ จำแนก เฝ้าระวังไปจนถึงการทำลายวัตถุที่อาจคุกคามโลก
1
7.โดยความน่าจะเป็นและสถิติแล้ว โอกาสที่โลกจะถูกชนด้วยวัตถุขนาดใหญ่ที่เป็นภัยนั้นมีต่ำมากๆ จึงไม่ควรตื่นตระหนกและวิตกกังวลจนเกิดความเครียดหรือเชื่อข่าวลวงจนทำให้ชีวิตเสียสมดุล เราควรรับฟังข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้หลายแหล่ง เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ด้วยเหตุผล บนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้
ด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน นักดาราศาสตร์สามารถตรวจจับ พิสูจน์ เก็บข้อมูลและระบุเส้นทางโคจรของวัตถุเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานมากพอที่จะเตรียมตัว รวมทั้งมีหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยตรงอีกด้วย
ดาวหางเป็นหนึ่งในเทหวัตถุที่เราสังเกตการณ์มาตั้งแต่แรก เป็นหนึ่งในวัตถุที่เราให้ความสนใจ จากความกลัวที่ไร้ซึ่งความเข้าใจ จากความสงสัยใคร่รู้ เปลี่ยนไปเป็นการแสวงหาความจริงและคำตอบ วิทยาศาสตร์ทำให้เราเข้าใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ งานวิจัย เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จนท้ายที่สุดเราอาจตอบได้ว่าเรามีจุดกำเนิดอย่างไร จะวิวัฒน์ไปในทางใดและสิ้นสุดลงอย่างไร
Image info :
Camera : Nikon D600 Astro modded
Lens : Nikon AF/ED 80-200 mm @ 200 mm
Aperture : F2.8
Exposure : 20 Mins Total (Comet) / 1 Mins x 4 (FG)
ISO : 1600
WB : 3250
Tracking : SW Pro 2i
Technic/Editor software : Stacking (SSS)/ PS(Edit)
Location : Mae Pha Reservoir, San Kam Peang, Chiangmai
D/M/Y Taken : 8 December 2021 @ 05:15-05:35 A.M.
astrophotography
ดาวหาง
ถ่ายภาพดาราศาสตร์
1 บันทึก
6
1
1
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย