Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
EveryGreen
•
ติดตาม
13 ธ.ค. 2021 เวลา 04:44 • สิ่งแวดล้อม
มาดากัสการ์อาจเป็นประเทศแรกในโลกที่เผชิญความอดอยากจากสภาวะโลกร้อน
จากข้อมูลของ World Food ระบุว่าประชากรกว่า 1.3 ล้านคนต้องประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร ในขณะที่ประชากรอีกราว 30,000 คนเผชิญ 'สถาวะทุพโภชนาการ' ก็คือร่างกายขาดแคลนสารอาหารอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากภัยแล้งต่อเนื่องยาวนานถึง 4 ปี และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะสภาวะโลกร้อน
bbc.com
มาดากัสการ์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา มีระบบนิเวศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ทั้งสายพันธุ์สัตว์และพืชมากกว่า 80% บนเกาะไม่พบที่อื่นบนโลกนี้
ซึ่งโดยปกติแล้วมาดากัสการ์จะมีช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงตุลาคม ส่วนฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิอากาศของมาดากัสการ์ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไปเพราะสภาวะโลกร้อน (Climate-Change Disruption) ทำให้เมื่อถึงฤดูฝนกลับมีฝนตกเพียงน้อยนิด จนไม่อาจเรียกว่าเป็นฤดูฝนได้ ทำให้ประชาชนไม่สามารถทำเกษตรกรรมหรือปลูกพืชผักใดใดได้เลย
1
Mahosoa ชาวมาดากัสการ์ผู้มีลูก 12 คน เล่าประสบการณ์อันเจ็บปวดว่าเขาต้องสูญเสียลูกคนเล็กไปถึง 4 คน ตั้งแต่ประเทศเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งเมื่อ 3 ปีก่อน
"พวกเขาตายจากความหิว วันละคน เพราะตอนนั้นพวกเราไม่ได้กินอะไรเลยเป็นเวลา 1 อาทิตย์ ไม่มีอาหารกิน ไม่มีน้ำดื่ม”
1
bbc.com
เนื่องจากทำการเพาะปลูกไม่ได้ ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาบริโภคแมลงอย่างตั๊กแตนเป็นอาหาร แต่เนื่องจากแทบไม่มีน้ำ นี่จึงเป็นภาพของตั๊กแตนที่สะอาดที่สุดเท่าที่คุณแม่ผู้มีลูกอายุ 4 ขวบจะสามารถทำความสะอาดให้ได้ก่อนบริโภค
1
"ฉันและลูกกินแต่ตั๊กแตนแบบนี้ทุกวันมาเป็นเวลา 8 เดือนแล้ว เพราะไม่มีอาหารอย่างอื่นเลย"
1
1
นอกจากตั๊กแตน ก็ยังมีผักผลไม้บางชนิด และใบของต้นกระบองเพชรที่พอประทังชีวิตได้ ซึ่งปกติใบของต้นกระบองเพชรนั้นจะถูกใช้เป็นอาหารเลี้ยงวัว ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ควรนำมาบริโภคด้วยซ้ำ
3
แต่เนื่องจากภัยแล้งไม่เพียงเกิดขึ้นอย่างยาวนานเท่านั้น ยังทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปัจจุบันแม้กระทั่งต้นกระบองเพชรก็เริ่มล้มตายเนื่องจากทนความแล้งไม่ไหว
Bole ผู้ที่บริโภคใบต้นกระบองเพชรเป็นอาหารเล่าว่าเธอเพิ่งสูญเสียสามีไปเพราะความหิว ทิ้งเธอไว้กับลูกอีกสองคน ซึ่งเธอก็ต้องออกหาใบของต้นกระบองเพชรให้ตัวเองและลูกๆทุกวัน
สถานการณ์ภัยแล้งมีความหนัก-เบาแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ บางพื้นที่ยังพอปลูกมันฝรั่งได้ บางพื้นที่ปลูกมะเขือเทศได้ (ถึงแม้มะเขือเทศจะมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลเพราะขาดแคลนน้ำ) แต่บางพื้นที่ก็ไม่สามารถปลูกอะไรได้เลย
ถึงแม้บางเมืองจะเริ่มมีการปลูกพืชทนแล้งที่สามารถเติบโตได้ดีในดินทราย แต่ก็ยังเป็นส่วนน้อยและไม่เพียงพอที่จะแบ่งปันไปยังพื้นที่อื่น
ผลกระทบดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อเมืองขนาดใหญ่ในมาดากัสการ์อย่างเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ มีเด็กจำนวนมากกลายเป็นขอทานตามท้องถนน ราคาอาหารแพงขึ้น 3-4 เท่า บางคนถึงกับต้องขายที่ดินเพื่อให้มีเงินซื้อข้าวประทังชีวิต
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบจำนวนครึ่งล้านเป็นโรคขาดสารอาหาร [bbc.com]
สิ่งที่เกิดขึ้นกับมาดากัสการ์ขณะนี้ อาจเป็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับประเทศไหนก็ได้ในโลก หากต้องเผชิญกับความผิดปกติของสภาพอากาศ ทำให้ฝนไม่ตกเป็นเวลา 4 ปี ดังนั้นอย่าคิดว่าปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัวหรือเป็นเรื่องของอนาคต เพราะมันกำลังเกิดขึ้นแล้วในตอนนี้
References >>
https://news.un.org/en/story/2021/10/1103712
https://www.bbc.com/news/world-africa-58303792
https://www.bbc.com/news/world-africa-59595276
madagascar
drought
agriculture
7 บันทึก
26
9
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
NEWS
7
26
9
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย