14 ธ.ค. 2021 เวลา 10:51 • หนังสือ
สรุปเนื้อหา : อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
เริ่มต้นคุยเล่น
  • เล่าเรื่องที่ผิดพลาดเล็กๆน้อยๆของตนเอง,ประสบการณ์,เรื่องที่เหนือความคาดหมาย
  • เลียนเสียงเพื่อให้เราสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้เห็นภาพมากขึ้น
  • พูดประโยคสั้นๆ กระชับ และมีจังหวะ (ฝึกพูด3รอบ ให้มีเรื่องเด็ดๆที่น่าเล่าติดตัวไว้)
  • กำหนดเป้าหมายการคุยเล่นให้มีแบบแผน
  • ทักทายแบบนอบน้อมจะสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นได้
หัวข้อสนทนาที่สนุก
  • เลือกเรื่องเบาๆเป็นหัวข้อสนทนาแรก ยิงไปเรื่อยๆจนรู้ว่าอีกฝ่ายสนใจเรื่องไหน และจับจุดนั้นคุยเรื่องที่อีกฝ่ายสนใจยาวๆ
  • เตรียมเรื่องน่าสนใจสำหรับพูดคุยไว้
  • ดึงดูดความสนใจด้วยความรู้ที่อีกฝ่ายสามารถนำไปใช้งานจริงได้
  • ขัดเกลาสื่งที่ตนถนัด และเสพข้อมูลให้ได้เยอะๆ เพื่อที่จะมีข้อมูลในการพูดคุยกับผู้คนที่หลากหลายได้
วิธีทำให้เปิดใจ
  • "อย่างนี้นี่เอง" "นั่นสินะ" แสดงออกถึงความไม่ใส่ใจ การตอบรับที่ดีสามารถทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีขึ้นได้
  • เวลาฟังให้มองตา และตอบรับอย่างอ่อนโยน พยักหน้ารับตามจังหวะ
  • พูดความคิดเห็นสั้นๆ เพื่อให้การสนทนาไหลลื่น
  • กระตุ้นให้อีกฝ่ายพูดรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยการทวนคำพูด
  • ทำให้อีกฝ่ายอยากคุยด้วยการถามว่าช่วงนี้ทำอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า
  • มองหาสิ่งที่ทำให้ฝ่ายภูมิใจลึกๆ หรือสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นแล้วพูดถึงสิ่งนั้น
  • ตั้งคำถามที่ดึงภูมิหลังหรือความทรงจำของอีกฝ่ายได้ แต่ต้องเป็นคำถามที่มีเป้าหมาย
  • อย่าใช้คำว่า"ทำไมล่ะ"เพราะมันเป็นการสร้างภาระให้ผู้สนทนา
  • การแกล้งทำเป็นเข้าใจคือการไม่ใส่ใจ การถามด้วยความกระตือรือร้นต่างหากคือการ ตั้งใจฟัง
  • ไม่ถามอย่างเดียว ควรพูดความคิดเห็นของตนเองด้วย
  • เมื่ออีกฝ่ายตอบคำถามให้พูดสรุปคำตอบนั้นทันที
  • คุยจบควรจดโน๊ต
วิธีลดระยะห่างทันทีที่เจอกัน
  • "ยิ้ม"
  • "ฝึกเล่าเกินจริง" เพื่อดึงดูดความสนใจของคนฟัง ทำให้ข้อเท็จจริงมีสเน่ห์มากขึ้น
  • เราสามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้ด้วยคำว่า "ผมไม่ได้คิดให้รอบคอบเอง"ได้
  • เวลาชมให้"พึมพัมชม" และละสายตาจากคู่สนทนา จะดูจริงใจมากขึ้น และคนเราจะวางใจคนที่กล่าวชมอย่างจริงจังมากกว่า
  • เพิ่มความประทับใจดีๆในตอนท้าย เช่น "ขอเป็นแฟนคลับได้ไหม" ถ้าเราสามารถปิดการสนทนาได้ดี การสนทนาครั้งหน้าก็จะเป็นไปได้สวยได้
วิธีคุยเล่นในการเจอกันครั้งถัดไป
  • บอกกับอีกฝ่ายว่าได้เคยทำตามคำแนะนำที่เขาเคยบอกแล้ว
  • พูดถึงเรื่องที่อีกฝ่ายเคยพูดหรือเล่าให้ฟัง เพราะคงไม่มีใครเกลียดคนที่ให้ความสนใจตัวเองหรอก
  • ถึงแม้อีกฝ่ายจะไม่อยู่ด้วยก็ต้องถ่อมตน พูดให้คนอื่นรู้สึกดีกับคนที่เราคุยด้วย
  • คุยโทรศัพท์ให้เหมือนคุยกับเพื่อนที่คบมาสิบปี
การเปลี่ยนหัวข้อสนทนาตามคู่สนทนา
  • การคุยกับคนที่มั่นใจในตนเอง ต้องพูดให้ชัดเจนตรงไปตรงมา และเอ่ยชม จะได้รับความเอ็นดู
  • การคุยกับคนที่หัวอ่อน ต้องอาศัยการมองตากับอีกฝ่ายให้ถูกจังหวะเพื่อกระตุ้นอีกฝ่าย มองอย่างไม่กดดันและไม่รุนแรง
  • การคุยกับคนที่ชอบวิเคราะห์หรือจับผิด ต้องคุยโดยบอกข้อดีของเรื่องที่เราพูด เพราะคนประเภทนี้มักจะรีบเร่งที่จะรู้ข้อสรุปเร็วๆ
  • การคุยกับคนที่ร่าเริง ทำเพียงแค่เพลิดเพลินไปกับเรื่องที่อีกฝ่ายเล่า
  • การคุยกับคนขี้เกรงใจ ต้องพูดแบบเนิบๆให้เข้ากับจังหวะการพูดของอีกฝ่าย และรอให้อีกฝ่ายพูดอย่างไม่รีบร้อน
วิธีเข้าประเด็นต่อจากการคุยเล่น
  • อย่าพูดว่า"ว่าแต่วันนี้..." เพราะมันทำลายความต่อเนื่องของการสนทนา
  • การเข้าประเด็นอย่างธรรมชาติควรจะพูดในทำนอง "จากที่คุยกันทำให้นึกขึ้นได้..."
  • พูดเข้าประเด็นจากคีย์เวิร์ดที่ได้จากการคุยเล่น เพราะถ้าหัวข้อที่คุยมีความเชื่อมโยงกัน จะมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น
  • ก่อนพูดเรื่องสำคัญให้เว้นช่วงเล็กน้อยเพื่อให้อีกฝ่ายตั้งใจฟัง
  • ใช้เวลาในช่วงแรกไม่เกิน10วินาที เพื่อแจกแจงประเด็นที่จะพูดคุย
  • รออีกฝ่ายตอบด้วยสีหน้าอ่อนโยนและไม่กลัวความเงียบ
แบบฝึกหัดการคุยเล่น
  • เวลาอยู่ในลิฟต์ให้ถามว่าจะไปชั้นไหน
  • พูดคุยสั้นๆกับพนักงานตอนจ่ายเงิน
  • เรียกพนักงานร้านเหล้า
  • เข้าร่วมงานเลี้ยงที่ไม่มีคนรู้จักในนั้นเลย
  • คุยเล่นกับคนที่ไม่ชอบหน้า
  • เล่าเรื่องที่ตนเองรู้ให้เพื่อนร่วมงานฟัง
  • ฝึกทายปริศนาหาคำเชื่อมโยง
  • กล่าวคำที่น่าสนใจตอนชนแก้ว ในงานเลี้ยงที่เป็นทางการ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา