12 ธ.ค. 2021 เวลา 14:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
008 ช่องอากาศ (Air cell) ใช้วัดความสดของไข่ได้อย่างไร ?
เปลือกไข่จะมีรูพรุนเล็ก ๆ ที่อากาศและความชื้นสามารถผ่านได้ ทำให้มีผลกับอายุของไข่และใช้บอกความสดของไข่ได้
How can air cell gauge egg freshness?
ทันทีที่แม่ไก่ออกไข่
ไขที่เคลือบเปลือกไข่จะเริ่มบางลง ความชื้นจะเริ่มระเหยออกจากไข่ขาวผ่านทางรูพรุนของเปลือกไข่ ทำให้ของเหลวภายในเกิดการหดตัว และทำให้มีอากาศเข้าไปแทนที่ประมาณ 4 มิลลิลิตรต่อวัน อากาศที่ผ่านเข้าไปในเปลือกไข่นี้ จะรวมตัวกันเป็นฟองอากาศที่ขยายตัวอย่างช้า ๆ เรียกว่า ช่องอากาศ (Air cell หรือ Air pocket หรือบางคนก็เรียกว่า Air bubble)
Egg anatomy
ซึ่งช่องอากาศนี้ สามารถใช้เป็นตัววัดความสดหรืออายุของไข่ได้
เมื่อไข่เก็บไว้นานขึ้น หรือมีความสดน้อยลง ช่องอากาศจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จนกระทั่งเมื่อช่องอากาศมีขนาดใหญ่พอ จะทำให้ไข่สามารถลอยในน้ำได้ ดังนั้น จึงนำ fact นี้ไปใช้ทดสอบความสดของไข่ได้
จริง ๆ แล้ว
วิธีที่ง่ายที่สุดในการบอกว่าไข่สดหรือไม่ คือดูจากรหัสวันที่บรรจุไข่ ซึ่งจะบอกไว้บนบรรจุภัณฑ์
แต่ถ้าไปซื้อไข่จากตลาดสด หรือบนบรรจุภัณฑ์ไม่ระบุวันบรรจุเอาไว้ เราก็จะงง ๆ หน่อย ว่า ไข่สดจริงดังที่พ่อค้าแม่ค้ารับรองหรือเปล่า
การทดสอบว่าไข่ที่ซื้อมาสดหรือไม่ สามารถทำได้โดยการนำไปแช่น้ำ หรืออีกวิธีนึก็คือ ถือไข่ไว้ใกล้ ๆ หูแล้วลองเขย่าดู หากมีเสียงดัง แสดงว่าช่องอากาศใหญ่พอที่จะดันให้ไข่เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ด้านในเปลือกไข่ได้ แสดงว่าไข่ใกล้เสีย ไม่ควรนำมารับประทาน
สำหรับการทดสอบความสดของไข่โดยการนำไปแช่น้ำ (Water test)
ทำได้โดย เตรียมชามใส่น้ำเอาไว้ และค่อย ๆ วางไข่ลงไปในชาม
Water test
หากไข่จมและนอนราบอยู่ที่ก้นชาม
แสดงว่า ไข่ยังสดมาก เนื่องจากช่องอากาศยังมีน้อย
หากไข่จมอยู่ที่ก้นชาม แต่อยู่ในลักษณะเอียงติดก้น หรือ ตั้งตรงในแนวดิ่ง
แสดงว่าไข่ยังมีความสดน้อยลง เนื่องจากช่องอากศเริ่มขยายใหญ่ขึ้น
หากไข่ลอยขึ้น
แสดงว่าไข่ไม่สด เป็นไข่เก่า ช่องอากาศจึงขยายใหญ่เพียงพอที่จะทำให้ไข่ลอย
คำถาม คือ ไข่ที่ลอยนั้น นำไปรับประทานได้หรือเปล่า ?
คำตอบ คือ ถ้าไข่ยังไม่เน่า ก็ยังคงเอาไปรับประทานได้ แต่ไม่ปลอดภัยนัก เนื่องจากระหว่างการเก็บไข่นั้น ไขเคลือบเปลือกไข่ที่บางลงและการผ่านเข้าออกของน้ำและอากาศทางรูเปลือกไข่ จะเอื้อให้จุลินทรีย์ปนเปื้อนเข้าไปในไข่ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกัน ไข่ขาวจะมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ลดลง น้ำจากไข่ขาวซึมเข้าไปในไข่แดงมากขึ้นจนทำให้เยื่อหุ้มไข่แดงแตก
1
ไข่ที่เสีย จะมีกลิ่นเหม็น (มาก)
Development of bad smell in aging egg
เมื่อตอกไข่ที่เสีย จะพบว่าไข่แดงแตกและรวมกับไข่ขาว กลายเป็นของเหลวที่มีกลิ่นเหม็น ซึ่งกลิ่นของไข่เน่านั้น เกิดจากการเปลี่ยนสารประกอบซัลเฟอร์ในกรดอะมิโนที่มีอยู่ในไข่ขาว ให้เป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulphide) หรือ ที่เรียกว่าก๊าซไข่เน่านั่นเอง
โฆษณา