12 ธ.ค. 2021 เวลา 16:50 • ดนตรี เพลง
History of Bass in 80’s PART 2
สวัสดีครับเพื่อนพี่น้องชาวนักตะบันเบส
วันนี้ BEAT MAKER 101 จะมาต่อกันจากที่เรา คั่งค้างไว้ใน Part ที่ 1 ไปลุยกันเลยครับ !!
 
จะพาทุกๆคนเข้าสู่ช่วงยุคต้นกำเนิดของ Thrash ERA ด้วยหัวหอกสำคัญอย่าง “Metallica”
สำหรับหลาย ๆ คน แทรชเมทัลไม่เคยมีอยู่จนกระทั่งการก่อตั้งของ
1 ใน BIG 4 ในปี 1981 ซึ่งเป็นหนี้บุญคุณของ “Motorhead” เพราะ ทาง Lars Ulrich ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ และนี่คือคำพูดของเขา
"หากไม่มีเลมมี่หรือ Motorhead, คงไม่มีวงที่ชื่อ Metallica อยู่บนโลกนี้"
- ลาร์ส อุลริช แห่ง Metallica
และนี่คือรายชื่อ สมาชิกยุคต้นกำเนิด และยุคที่รุ่งเรืองที่สุด
James Hetfield กีตาร์และร้องนำ, Lars Ulrich มือกลอง, Kirk Hammett เล่นกีตาร์ และ Cliff Burton เล่นเบส
ช่วงเวลานี้มีผลงานที่สุดยอดมากมาย รวมถึง
“Kill 'Em All, Ride the Lightning” และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“Master of Puppets” ในปี 1986 แต่ในที่สุดเวลาของ Cliff ก็สั้นลงเมื่อรถทัวร์ของวงชนในสวีเดนและเขาเสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น เป็นเหตุการณ์ที่สุดสะเทือนใจของวงอย่างมากครับ
และเป็นเรื่องที่ยากมากในการทำตามแนว Bass ของ Cliff และคนที่มารับช่วงต่อคือ “ Jason Newsted “ เขาได้รับงานนี้หลังจาก ที่ Cliff เสียได้แค่
3 สัปดาห์ และในช่วงที่ Newsted มีบทบาท ก็จะเป็นช่วงอัลบั้ม
“….And Justice for All” และ ใน “TO live is To Die” Newsted
ได้นำ Part ที่ทำไม่เสร็จ ของ Cliff พาร์ทเบสและซาวด์ของทั้งคู่นี้ จะมีความแตกต่างเรื่องซาวด์ และ รูปแบบที่แยกแตกต่างต่างกัน ถ้าลองฟังให้ชัดเจน
ลองดูในลิ้งค์ของเพลงทั้งข้างบนและข้างล่างจะเห็นถึงความแตกต่างมากขึ้นครับ
ในขณะที่ Metallica กำลังจะกลายเป็นที่สุดของโลก
จะขอแวะมาคุยต่อกันในความเดือดดาลของวงรุ่นเก๋าอย่าง
“Iron Maiden”
อัลบั้ม “Live After Death” อัลบั้มเต็มชุดแรกของ Iron maiden ในปี 1985 ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าความดุเดือดของไลน์เบสนั้นมันโหดร้ายแค่ไหน
หลายๆคนก็บอกว่า ตลอดการทำเพลงในฐานะนักดนตรีมืออาชีพของ
Iron Maiden สร้างขึ้นจากสไตล์การเล่นเบสที่เหมือนกับการควบม้าของ
“Steve Harris” และเขาแสดงให้โลกได้รับรู้ว่านอกจากเทคนิคที่ยากกับการเล่นตามแล้ว เขายังแสดงอีกว่าคนเล่นเบสในชุดเฮฟวี่เมทัลไม่จำเป็นต้องเล่นแต่ Root note ลองดูเพลง “Rime of the Ancient Mariner” ซึ่งเป็นผลงานที่สุดยอดมากในอัลบั้มนี้
และช่วงต่อไป คือยุคที่ “Synth Bass” ขึ้นครองเมือง
และเปิดด้วยอะไรที่ซอฟต์ๆอย่าง “Duran Duran”
ในช่วงเวลาที่เสียงเบสสังเคราะห์ขึ้นครอง
“Duran Duran” อธิบายว่าตัวเองเป็นลูกผสมระหว่าง “Sex Pistols” กับ “Chic” และเล่นดนตรีร็อคด้วยกรู๊ฟเสียงต่ำที่เร้าใจมาก และผลงานความเร้าใจนี้ ต้องขอบคุณมือเบส “John Taylor” และ Bass Aria Pro ของเขา อัลบั้ม Rio ในปี 1982 ของพวกเขามีเพลงฮิตมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
“Hungry Like The Wolf” ,”Save A Prayer”
และเบสที่ไพเราะ ไม่น้อยไปกว่าเพลงไตเติ้ล “Rio”
(อยากฟังเบสที่เดินเป็นกรู๊ฟอย่างสวยงาม ลองฟังดูนะครับ)
และหลังจากนี้ จะเป็นช่วงที่ Synth bass ขึ้นมาครองโลกอย่างแท้จริง ทุกคนอาจจะเคยได้ยิน ช่วงยุคที่มือเบสกังวลกลัวจะตกงานกัน ใช่ไหมครับ ?
และพวกมือเบสได้นำเอา เบส 5 สายมาแก้ไข ด้วยการที่ Root สายล่าง ลงไปอยู่ได้ถึง B จึงทำให้ เรนจ์ในการเล่นมันต่ำมากขึ้น ทำให้ถึงแม้ว่าในขณะนั้น Syth bass ที่ลงไปได้ต่ำกว่า (Low C) เบส 5 สาย ก็ลงไปได้ต่ำกว่านั้น ( แย่งกันลง เรนจ์ต่ำนั่นเอง )
และต่อจากนี้ เรามาดูเรื่องราวของเบสในช่วงยุคต่อจากนี้กันครับ
*Tip For Bass 5-6 Strings*
(เบส 5 สายจริงๆมีมาตั้งแต่ยุค1950’s และในยุค60 fender ก็มี เบส 6 สายออกมา และก็มีกระทั่ง เบส 5 สายที่เพิ่ม High-C แทน Low-B ที่เรารู้จักกันปกติ แล้วก็มีแม้กระทั่ง ยุค 1950’s ที่เป็นเบส 6 สาย ที่จูนเหมือนกีตาร์แต่ต่ำลงมา 1 octave ของ “Dan Electro”)
“Jimmy Johnson” เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกๆ ที่ใช้สาย 5 สายพร้อม low B ด้วยเทคนิคการเล่นแบบล้ำยุคของเขาในอัลบั้ม Tokyo Dream ของ Allan Holdsworth ในปี 1984’s
ช่วงนี้เป็นช่วงยุคทองของนักดนตรีจากห้องอัดอย่างแท้จริง และอีกหนึ่งคนที่หน้าสนใจคือ
“Donald Fagan’s”
และ อัลบั้ม “The Nightfly” ในปี 1982’s
นี่เป็นการเปิดตัวเดี่ยวของ Donald Fagan หลังจากที่เขาแยกตัวจาก Walter Becker ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของวง “Steely Dan”
และรวบรวมกลุ่มนักดนตรีที่เป็นตัวเต็งอันดับต้น ๆ
ในยุคนั้น “Anthony Jackson “ ซึ่งทำหน้าที่เล่นเบสร่วมกับ “Abe Laboriel”“Will Lee””Marcus Miller” และ “Chuck Rainey”
ซึ่งล้วนเป็นมาสเตอร์คลาสในการเล่นเบส มีเสียงเบสที่ไพเราะจาก “Greg Philinganes” ด้วยเช่นกัน
หลังจากนี้ จะมาถึงวงที่ใครหลายๆคนรู้จักกันดี ที่มีความจัดจ้านในเรื่อง Part ดนตรี อีกวงหนึ่ง
“TOTO”
“Toto IV”
สตูดิโออัลบั้มสำคัญอีกอัลบั้มหนึ่งจากช่วงต้นยุค 80
ซึ่งเปิดตัวในฤดูใบไม้ผลิปี 1982 และได้รับรางวัลแกรมมี่หกรางวัลในปีต่อมา
และนี่เป็นอัลบั้มสุดท้ายของ Line-up สมาชิกหลักที่เจ๋งที่สุดของ TOTO ด้วยเหตุผลหลายๆอย่างของทางวงเอง
ต่อไปจะแวะฟังผลงานของ “The Brothers Johnson”
ซักเล็กน้อยนะครับ
“Louis Johnson” ได้ทิ้งผลงานที่เป็นสุดยอดไว้บนโลกแห่งเสียงเบสที่ไม่อาจลืมเลือนได้ เพลงที่ฮิตและยาวนานที่สุดคือ “Stomp!” จากอัลบั้ม ในปี 1980’s
“ Light Up the Night “
ต่อไปก็จะแวะพูดถึงอีกหนึ่งผลงานของ
“Quincy Jones”
ตัวของ Quincy นั้นเป็นทั้ง Producer และเคยเป็นกระทั้ง ผุ้จัดการของ The Brothers Johnson และเขาก็มีผลงานของตัวเองที่เป็นตำนานที่ทำงานร่วมกันกับ Brothers J
“The Dude” ในปี 1981’s
และเขาเองก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้มที่ขายดีที่สุดของราชาเพลงป๊อป “Michael Jackson” ร่วมกับ Johnson
อัลบั้ม “ Thriller “ในปี 1982’s
ด้วยชื่อแลผลงานที่สุดยอดตลอดการของ MJ คงไม่ต้องพูดถึงอะไรมาก ต่อไปจะมาพูดถึงผลงานของตัว Johnson เองที่ได้ฝากผลงานตลอดงานไว้กับศิลปินมากมายด้วยลีลาการ Slap bass ของเขา อาทิเช่น
“Time Exposure” by “Stanley Clarke”
“Hydra” by “Grover Washington Jr”
“Thief in the Night” by “George Duke”
“I Keep Forgettin’” by “Michael McDonald”
Johnson ได้เขย่าวงการเบสร่วมกันกับ Larry Graham
และ Johnson เองก็ได้อีกชื่อนึงว่า
“Godfather of Slap-bass”
รถเมล์สาย Bass 80’s ป้ายต่อไปเราจะแวะกันที่ “Level 42”
และในขณะเดียวกัน “Mark King” มือเบสมากฝืมือชาวอังกฤษ ก็ปูทางให้การ Slap-Bass ในเพลงป็อป Main stream ในยุค 80 อาทิเช่น
“ Love game “
“ Hot Water “
พวกเขามีเพลงฮิตติดชาร์ตมากมาย ติดใน Top 40 ในประเทศอังกฤษในช่วงยุค 80’s และอีกหนึ่งเพลงที่เป็นเพลงที่ทำให้ Mark king กลายเป็นจุดสนใจ คือ
“The Chinese Way” จากอัลบั้ม “Pursuit of Accidents” จากปี 1982
เทคนิคการ Slap-bass ของเขานั้นเป็นสิ่งที่เรียกได้อีกอย่างว่า “พรสวรรค์” เพราะไม่ว่าจะเป็นการ Slap หรือ การเล่นแบบ Finger-style ก็น่าจับตามองทุกครั้ง
เหมือนว่าเขาเป็นพ่อมดกำลังร่ายมนต์อยู่บนเวที พร้อมกับเสียงร้องอันไพเราะเหมาะเจาะของตัวเขาเอง
ป้ายนี้จะแวะพูดถึงอัลบั้มนึงของ “Paul Young” นั่นคือ “No Parlez” (1983)
เป็นเพลงที่กลิ่นอาย 80’s ยังอยู่ชัดเจน ด้วย Drum-machine ที่เป็นกลิ่นและเอกลักษณ์ของยุคนั้น ลองฟังกันดูนะครับกับอัลบั้มนี้ “No Parlez”
และอีกเพลงที่เบสมีความนุ่มลึกจากศิลปิลท่านเดียวกันลองฟังกันดูนะครับ
“Everytime You Go Away”
เอาล่ะ ! ป้ายต่อไป จะแวะกันที่ วงที่ชื่อว่า “Japan”
“Japan” เป็นอีกวงดนตรีที่พาเราล่องลอยไปกับความบริสุทธิ์ของดนตรีและซาวด์สังเคราะห์และเสียงร้องอันนุ่มลึก และพูดถึงมือเบส “Mick Karn” ก็ต้องขอบคุณโทนเสียงที่เป็นเครื่องหมายการค้าเอกลักษณ์ของ Wal Bass Fret-less ของเขา และอัลบั้ม Tin Drum จากปี 1981 น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของวง โดยนำเสนอท่อนเบสแบบคลาสสิกในเพลงอย่าง
“Cantonese Boy”
“Sons of Pioneers”
จบจาก “Japan” ป้ายต่อไป จะมาเล่าเกี่ยวกับ การพัฒนาเทคนิคการเล่นเบสอีกแบบหนึ่งสำหรับใครบางคนที่ยังอาจจะไม่เคยได้ยินและเผื่อพี่ๆน้องๆได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกันต่อครับ
นวัตกรรมของ “Tony Levin” กับ “King Crimson” และ “Peter Gabriel” ทำให้เกิดเสียงเบสที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง พวกเขาเรียกมันว่า “Funk-finger”
ลองดูตามในลิ้งค์นี้นะครับจะเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
และพวกเขาก็นำมาใส่ในผลงานของ “Peter Gabriel” ในเพลงของพวกเขา อาทิเช่น
“Sledgehammer”
 
“Big Time”
จากนั้นก็มีการแสดงของเขาในอัลบั้ม Discipline ของ King Crimson ในปี 1981 อัลบั้มนั้นได้เปิดหูเปิดตาและหูของผู้คนให้พบกับโลกใบใหม่แห่งการเล่นเบส
ป้ายต่อไป ขอแนะนำผลงานของ “Paul Simon” นะครับ
อัลบั้มของ “Paul Simon” ในปี 1986 ที่ชื่อ “Graceland” ซึ่งมีไลน์เบสที่ยอดเยี่ยม รวมถึง Paul Simon เองที่เล่นเบส 6 สาย มีแทร็กดีๆ มากมายที่จะพูดถึงที่นี่ อาทิเช่น
“Boy in the Bubble”
“Diamonds On The Soles Of Her shoes”
“Graceland”
“You Can Call Me Al”
ป้ายต่อไป จะพาไปดูผลงานในรูปแบบของ Hip-Hop ยุคนั้นกันบ้างครับ
“Doug Wimbish” อาจเป็นที่รู้จักกันดีในผลงานของเขากับวงดนตรี “Living Colour” ถ้าเรามองย้อนกลับไปถึงผลงานที่ได้รับการยกย่องซึ่งเริ่มต้นจาก “Sugar Hill Records” ในช่วงต้นยุค 80
นอกเหนือจากมือกีตาร์ “Skip McDonald” และมือกลอง “Keith LeBlanc” แล้วตัว Wimbish ยังได้เล่นเพลงฮิปฮอปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น รวมถึง
“White Lines (Don't Do It)” - Grandmaster Melle Mel
“That's The Joint” - Funky 4+1
Doug เชี่ยวชาญด้านเอฟเฟกต์เสียงเบส และสนุกกับงานของตัวเองในฐานะผู้ช่วยของ “Jeff Beck” , “Mick Jagger” , “Mos Def” , “Carly Simon” , “Seal” และ “Madonna” นอกจากนี้ ลองฟังงานของ Doug กับ “Will Calhoun” มือกลอง “Living Color” ในผลงานรูปแบบ Trio ของพวกเขา ในฐานะมือเบสและมือกลอง ยกตัวอย่างอาทิเช่น
“Bye Bye Bye”
กลิ่นอายจัดจ้านสมกับชื่อวง ไม่ผิดหวังแน่นอนครับทุกคน
ป้ายต่อไป ขอเชิญพบกับมือเบสสาย Half-Reggea ที่ไม่หยุดอยู่แต่ที่คำว่า Half-Reggea
“Robbie Shakespeare” ร่วมกับมือกลอง “Sly Dunbar” ได้เปลี่ยน Funk reggae bass ให้เป็นรูปแบบศิลปะที่สามารถปรับเปลี่ยนและลงไปอยู่ในผลงานแบบใดก็ได้ และพิสูจน์ให้เห็นถึงพลังเสียงของเบสของเร้กเก้ แม้แต่ในยุคดิจิทัล
พวกเขาสองคน ได้ทำสิ่งมหัศจรรย์หลายอย่างให้กับ “Grace Jones” , “Bob Dylan” , “Paul McCartney” และ “Sinead O'Connor” ยกตัวอย่างผลงานของพวกเขาก็ อาทิเช่น
“NightClubbing” - Grace Jones
“Liberation: The Island Anthology” - Black Uhuru
และส่งท้ายเรื่องราวของชาวนักตะบันเบสในยุค 80’s ด้วย 3 คนนี้ที่เคยเล่นด้วยกันใน Bass Supergroup
นั่นคือ “Stu Hamm” , “Jeff Berlin” และ “Billy Sheehan”.
มาคนแรกก่อน “Billy Sheehan”
สไตล์เสียงเบสของ Billy ได้รับการหล่อหลอมมาโดยตลอด ตั้งแต่วงดนตรียุคแรกอย่าง “Talas” ไปจนถึงการร่วมงานกับ “Steve Vai” , “David Lee Roth” และ “Niacin” ไปจนถึงการครองโลกกับ
“Mr Big” เป็นเวลาหลายปี
Billy Sheehan bass solo
มาถึงคนถัดมา “Jeff Berlin”
ในปี 1986 Jeff ได้มีอัลบั้มเดี่ยว ที่ชื่อว่า “Pump It” สไตล์การเล่นเบสของเขานั้นเป็นฟีลแบบการเล่นแบบ Chop หรือเล่นแบบสับ ลองดูในลิ้งค์นี้จะเข้าใจได้หมดทุกอย่าง
Jeff Berlin, Frank Gambale, Vinnie Colaiuta
อัลบั้มเดี่ยวของเขา “Pump It!” - Jeff Berlin
และสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด “Stu Hamm” หรือ “Stuart Hamm” ทำงานในสายอาชีพของเขาในฐานะผู้ช่วยของ “Joe Satriani” และ “Steve Vai” และเขายังมีผลงานอัลบั้มเดี่ยวที่เน้นเบสจำนวนมาก อัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 2 ของเขา “Kings of Sleep”
วางจำหน่ายในปี 1989 เป็นสถานที่ที่ดีเยี่ยมที่ทุกคนจะได้ชมผลงานของชายที่เรียกได้ว่าเป็นคนนำเอาการ Tapping มาใช้กับ โลกของ Bass เลยทีเดียว
“Stu Hamm” Bass Solo
“King of Sleep” - Stu Hamm
และสุดท้ายนี้ก็จบกันไปกับเรื่องราวของ “History of Bass in 80’s” หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์และความรู้ใหม่ๆไปไม่มากก็น้อยนะครับ ยังไงเรื่องต่อไปจะเป็นเรื่องอะไร ก็รอติดตามกันได้ใน
BEAT MAKER 101
แปลโดย : Ryan MathrFucque
โฆษณา