13 ธ.ค. 2021 เวลา 01:36 • ไลฟ์สไตล์
คนผัดวันประกันพรุ่ง 6 แบบ แล้วคุณคือแบบไหน?
แม้จะมีงานสำคัญรอเราอยู่ แต่เราก็เลือกที่จะเลื่อนงานนั้นออกไปก่อน เลื่อนจนไม่ได้ทำสักที ค่อยทำวันพรุ่งนี้ วันที่ไม่เคยมาถึง ลองดูคนผัดวันประกันพรุ่งทั้ง 6 แบบและเทคนิคการหยุดผัดวันประกันพรุ่งในแต่ละแบบ
1. แบบคนช่างฝัน
Photo by Nathan Dumlao on Unsplash
ปัญหาใหญ่ที่สุดของคนกลุ่มนี้คือ มักจะตั้งเป้าหมายที่ใหญ่มากและมัวแต่ฝันถึงความสำเร็จที่จะได้รับจากเป้าหมายนั้น
1
แต่เมื่อต้องลงมือทำ คนช่างฝันจะเกิดความกลัว ทำให้จิตใจรู้สึกต่อต้านและเลื่อนการลงมือทำออกไปก่อน
1
การตั้งเป้าหมายใหญ่และการฝันถึงความสำเร็จไม่มีอะไรผิด แต่มันจะไม่มีความสำเร็จเกิดขึ้นจริง **ถ้าเราไม่ลงมือทำ**
2
การที่คนกลุ่มนี้ผัดวันประกันพรุ่งแทนที่จะลงมือทำเพราะความฝันมันใหญ่มาก แม้มันจะสร้างแรงบันดาลใจแต่ก็สร้างความท้อแท้ใจเช่นกัน
ทางที่จะหยุดผัดวันประกันพรุ่งคือ การเขียนแผนการทำงานที่ชัดเจน โดยแบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อยๆ ระยะกลางและระยะสั้น ที่สามารถลงมือทำและเห็นผลได้เร็วขึ้น
2. แบบคนเรื่อยเปื่อย
3
Photo by Adrian Swancar on Unsplash
คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยากที่สุดที่จะลุกขึ้นมาทำงานตามเป้าหมายของตัวเอง ชอบที่จะใช้เวลานั่งๆ นอนๆ ดูหนัง ดูมือถือไปเรื่อยเปื่อย
แต่ข้อดีคือ เมื่อต้องลงมือทำงาน คนกลุ่มนี้มักจะหาทางลัดสำหรับการทำสิ่งต่างๆ อยากใช้แรงและเวลาน้อยที่สุด แต่ได้งานหรือได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งทำให้คนกลุ่มนี้มักจะทำงานอย่างฉลาด
2
แต่ไม่ใช่ทุกอย่างที่จะใช้ทางลัดได้ บางงานต้องการการลงแรง เวลาและความอดทน ซึ่งงานแบบนี้จะมีปัญหากับคนกลุ่มนี้อย่างที่สุด
คนกลุ่มนี้มักคิดว่าความขี้เกียจเป็นตัวตนของตัวเอง แต่ความจริงแล้วความขี้เกียจเป็นแค่ภาวะอารมณ์ชั่วคราวทางจิตใจ ที่ไม่ว่าคนไหนก็เคยพบเจอ
1
จุดสำคัญคือต้องเรียนรู้รูปแบบหรือสิ่งที่กระตุ้นให้เรารู้สึกขี้เกียจ เพื่อการไม่เข้าสู่ภาวะนั้นตั้งแต่แรก รวมถึงสังเกตสิ่งที่จะให้เราหลุดจากภาวะนั้นได้
ทางที่จะหยุดผัดวันประกันพรุ่งคือ เริ่มต้นวันด้วยกิจวัตรที่สร้างพลังบวกหรือเป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าได้ทำสำเร็จ เพื่อต่อยอดทิศทางของอารมณ์ เนื่องจากอารมณ์ในยามเช้าจะส่งผลต่อทิศทางของอารมณ์ทั้งวัน
1
3. แบบคนงานยุ่ง
Photo by Firmbee.com on Unsplash
ในขณะที่คนช่างฝันเฝ้าฝันกับความสำเร็จ คนเรื่อยเปื่อยนั่งๆ นอนๆ ไปเรื่อย แต่คนงานยุ่งคือคนที่ยุ่งวุ่นวายตลอดเวลา
คนกลุ่มนี้ยุ่งวุ่นวายกับทุกงาน แต่กลายเป็นการติดกับดับกับความยุ่งโดยลืมเป้าหมายสำคัญของตัวเอง แทนที่จะวิ่งไปข้างหน้า กลับวิ่งวนเป็นวงกลม
เป็นรูปแบบนึงของการผัดวันประกันพรุ่งที่แยกจากความ productive ได้ยาก แต่มันสามารถขัดขวางการไปสู่เป้าหมายของเราได้ถ้าแยกไม่ออก
คนกลุ่มนี้จะรู้สึกว่าตัวเองมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะมีงานมากมายที่ทำสำเร็จในแต่ละวัน ซึ่งความจริงแล้วสิ่งที่ทำนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อเป้าหมายเลย
มักถูกงานที่ไม่สำคัญแทรกเข้ามาจนไม่มีเวลา และต้องเลื่อนการทำงานที่สำคัญออกไป
ทางที่จะหยุดผัดวันประกันพรุ่งคือ การจัดความสำคัญของงานแต่ละชิ้น วางแผนงานในแต่ละวัน โดยเลือกงานสำคัญ 3 งานที่จะทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น และ focus ในการทำ 3 งานนี้ให้สำเร็จ
1
[อ่านเพิ่มเติม | 5 นิสัยเล็กๆ ที่ทำให้ productivity ของคุณดียิ่งขึ้น https://bit.ly/3rBFSZB
4. แบบคนรักความสมบูรณ์แบบ
Photo by Tim Gouw on Unsplash
ปัญหาของคนกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องของการลงมือทำ แต่เป็นเรื่องของการไม่ยอมปล่อยผลงานของตัวเอง
การไม่ปล่อยผลงานของเราเพียงเพราะเรารู้สึกว่ามันยังไม่สมบูรณ์แบบ ทั้งที่ผลงานของเราอาจเปลี่ยนชีวิตคนหนึ่งคนหรือเปลี่ยนสังคมได้ **แต่มันจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเราเก็บมันไว้กับตัวเอง**
1
ทางที่จะหยุดผัดวันประกันพรุ่งคือ การทำใจยอมรับความสมบูรณ์ 80% ของผลงานว่าดีพอที่จะปล่อยงานออกไป
ความสมบูรณ์แบบไม่มีอยู่จริง ทุกอย่างมีจุดที่พัฒนาเพิ่มได้เสมอ มันคือวงจรที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นกับดักที่กั้นเราไปสู่ความสำเร็จ
5. แบบคนเสพติดการเรียนรู้
2
Photo by Dmitry Ratushny on Unsplash
คนกลุ่มนี้จะอ่านหนังสือเยอะมาก เรียนรู้หลายสิบชั่วโมง **แต่ไม่เคยเอาความรู้มาใช้จริง**
คำพูดที่ว่าความรู้คืออำนาจ ที่จริงแล้วความรู้จะกลายเป็นอำนาจได้ก็ต่อเมื่อเรานำมันมาใช้งาน
แทนการลงมือทำจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มา คนกลุ่มนี้มักชอบหาหนังสือเล่มใหม่หรือคอร์สใหม่มาเรียนรู้และหวังจะเจอทางลัดสู่ความสำเร็จ การเรียนรู้เป็นสิ่งดี แต่อย่าเสพติดอยู่กับการเรียนรู้โดยไม่นำมาใช้
คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าการเรียนรู้มันสนุก แต่การนำมาใช้จริงมันยาก ถึงแม้ว่าการเรียนรู้จะทำให้รู้สึกว่า productive แต่เราจะไม่ก้าวเข้าใกล้เป้าหมายแม้แต่น้อย ถ้าเราไม่ลงมือทำ
3
เหมือนเราเรียนรู้การฟิตหุ่นผ่านทางบทความมากมาย แต่ถ้าไม่เคยไปออกกำลังกายเลยสักครั้ง เราจะไม่มีทางมีหุ่นที่ฟิตได้ เราอาจจะรู้สึกว่าการเรียนรู้มันสนุกกว่าการทำจริง แต่ถ้าเราไม่ลงมือทำก็ไม่มีทางสำเร็จ
ทางที่จะหยุดผัดวันประกันพรุ่งคือ ตั้งคำถามกับตัวเราเองในทุกๆ วันว่าวันนี้เราเสพความรู้หรือผลิตความรู้มากกว่ากัน
หลังจากอ่านหนังสือหนึ่งเล่มหรือเรียนคอร์สจบหนึ่งคอร์ส ก่อนที่จะไปเรียนรู้เรื่องใหม่ ให้หยุดแล้วเขียนสิ่งที่จะนำไปทำจริง 3 หัวข้อ และให้ความสำคัญกับการนำแต่ละข้อไปลงมือทำ
6. แบบคนเสียสมาธิได้ง่าย
Photo by Nubelson Fernandes on Unsplash
ตรงกันข้ามกับกลุ่มคนเรื่อยเปื่อย คนกลุ่มนี้มีความต้องการที่จะทำงานให้เสร็จ แต่ก็มักโดนกวนสมาธิได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเสียงเตือนจากมือถือหรือการเสพความบันเทิง เสพ social media
1
แม้จะมีแผนงานและความตั้งใจของวันนั้นๆ แต่คนกลุ่มนี้จะถูกรบกวนและโดนดึงเข้าสู่โลกของความบันเทิงได้ง่ายมาก และหลงไปกับสิ่งรบกวน จนเลื่อนที่ต้องทำตามเป้าหมายออกไป
ทางที่จะหยุดผัดวันประกันพรุ่งคือ กำจัดสิ่งรบกวนก่อนการเริ่มงาน ปิดเสียงมือถือ ปิดเสียงเตือน ปิด social media โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เราต้องการโฟกัสกับการทำงาน
1
จัดมุมทำงานในส่วนที่ไม่โดนรบกวน เพื่อรักษาสมาธิในการทำงานตามแผนที่วางไว้
เมื่อเราเข้าใจการผัดวันประกันพรุ่งทั้ง 6 แบบแล้ว ลองสำรวจตัวเองว่าเราเป็นแบบไหน เพื่อปรับตัวเราจากเลื่อนเป็นลงมือ
อ้างอิงจาก
โฆษณา