13 ธ.ค. 2021 เวลา 08:21 • สุขภาพ
🐹โรคที่พบบ่อยในช่องหู ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย​ Pseudomonas aeruginosa และStaphylococci ได้แก่
1. หูชั้นนอกอักเสบแบบฉับพลัน (diffuse acute otitis externa)
2. หูชั้นนอกอักเสบแบบเรื้อรัง
3. เยื่อแก้วหูอักเสบแบบแกรนูล่าร์ (granular myringitis)
4. หูชั้นกลางอักเสบแบบฉับพลันและมีน้ำไหลออกเยื่อแก้วหู
5. หูชั้นกลางอักเสบแบบเรื้อรัง
🐸ยาที่นิยมใช้รักษาได้แก่
Cravit® (มีในรูปแบบยาหยอดตา​ ไม่มีในรูปแบบหยอดหูโดยเฉพาะ)​,
Tarivid® (ถอนออกจากตลาดประเทศไทย)​
Chloramphenicol (ต้องเก็บในตู้เย็น)​
neomycin sulfate, gentamicin และ polymyxin B (มีในรูปแบบยาหยอดตา​ ไม่มีในรูปแบบหยอดหูโดยเฉพาะ)
🕷️ยาหยอดหู ไม่ว่าจะเป็น chloramphenicol, neomycin, streptomycin, gentamicin, propylene glycol และ polymyxin B ล้วนแล้วแต่มีพิษต่อหูชั้นกลาง
ในขณะที่ amoxycillin,ceftazidime, vasodine และ ticarcillin พบว่าไม่มีพิษต่อcochlear
🦂ยาในกลุ่ม aminoglycosides เช่น gentamicin, kanamycin และ​ tobramycin การใช้ยาในกลุ่มนี้ควรระมัดระวัง สามารถเป็นพิษทั้งระบบการได้ยิน​ และส่วนของการทรงตัวได้​ จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยแก้วทะลุเนื่องจากมีพิษต่อประสาทหู​ ใช้เฉพาะในการรักษาหูอักเสบชั้นนอกที่เยื่อแก้วหูยังปกติเท่านั้น​
🐞มีศึกษาพบว่าการนำยาneomycin polymyxin หรือ chloramphenicol ใส่ในหูของสัตว์ทดลอง ยาจะไปทำลาย hair cells ของทั้งส่วน vestibular และ cochlear
สำหรับยา neomycin พบว่าร้อยละ 80 ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa​ ในรูหูดื้อต่อ neomycin
ส่วนยา Corticosporin® (neomycin + polymyxin b sulfates และ hydrocortisone otic suspension) มีข้อความระบุในฉลากยาว่าห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แก้วหูทะลุ
💐ยาหยอดหูชนิดที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์​ ให้ผลการรักษาดีกว่าไม่ผสม เนื่องจากสเตียรอยด์มีคุณสมบัติละลายในไขมัน (lipophilic)​ จึงสามารถกระจายตัวอยู่ในผิวหนังชั้น stratum corneum ของรูหูได้นานขึ้น แต่มีข้อควรระวังคือ hydrocortisone มีพิษต่อหูชั้นในสัตว์ทดลอง​ เชื่อว่าจากฤทธิ์​ mineralocorticoid ใน hydrocortisone เป็นตัวการทำให้เกิดพิษต่อหูชั้นใน ส่วน dexamethasoneและ triamcinolone ไม่พบว่ามีพิษต่อหูชั้นใน
🏵️ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดหูที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม ในผู้ที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อรา วัณโรค หรืองูสวัด ในช่องหู
👿👹👺เนื่องจากยาหยอดหูมีสัดส่วนตลาดค่อนข้างน้อย​ และยา​หยอดหูฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญ​ คือ​ TARIVID​ OTIC​ SOLUTION​ ได้ถอนออกจากประเทศไทย​ ปัจจุบันจึงเหลือตัวเลือกของยาหยอดหูไม่มาก​ เพราะส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นยาหยอดตา​ และอาจจะมีคนที่ไม่รู้​ เอายาหยอดตาบางชนิดไปใช้หยอดหู​ ซึ่งจะต้องระวังพิษต่อหูชั้นกลางและประสาทหูที่เกิดขึ้น ถ้าไม่แน่ใจควรส่งต่อแพทย์​ อย่าดันทุรังจ่ายยาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
💢การเลือกใช้ยาหยอดหูทางคลินิก - Thaijo
🐣ยาหยอดหู ยาหยอดตา ใช้แทนกันได้หรือไม่
ปัจจุบันยาหยอดหูและยาหยอดตามีอยู่หลายชนิดในท้องตลาด โดยอาจทำมาจากตัวยาเดียวกัน​เพื่อต้องการผลการรักษาทำนองเดียวกัน เช่น มีตัวยาปฏิชีวนะที่ฆ่าแบคทีเรียชนิดเดียวกัน หรือมียาลดบวมลดอักเสบพวกยาสเตียรอยด์ อีกทั้งรูปลักษณ์ขวดยาที่คล้ายกัน ทำให้เกิดความสับสนในการใช้ แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ทุกกรณี เนื่องจากคุณลักษณะของยาแตกต่างกัน เช่น
1.ยาหยอดหู มีความเข้มข้นของตัวยา และความหนืด มากกว่ายาหยอดตา
2.มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH ) แตกต่างกัน โดย pH ของยาตาต้องเหมาะสมกับสารน้ำในลูกตา
3.ยาหยอดตาผลิตภายใต้สภาวะสะอาดปราศจากเชื้อ
😊หากเลือกใช้อย่างเหมาะสม ก็จะลดปัญหาผลแทรกซ้อนจากการใช้ยา จึงควรศึกษาข้อบ่งชี้ในการใช้ ยาอย่างถูกวิธี ดังนี้
1.ยาหยอดหู ที่ระบุเฉพาะการหยอดหู : ห้ามนำมาใช้หยอดตา เนื่องจากมีความเข้มข้นสูงกว่า และเยื่อบุตาก็บางมาก เชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นก็แตกต่างกัน
2.แม้ปัจจุบันจะมีการผลิตยาที่สามารถหยอดได้ทั้งตาและหู แต่ก็พบอยู่เสมอว่าผู้ป่วยมีอาการระคายเคืองตามาก เมื่อนำยาหยอดหูไปหยอดตา
3.ยาหยอดตาที่ระบุเฉพาะใช้หยอดตา อาจใช้หยอดหูได้ในกรณีจำเป็นจริงๆที่หายาอื่นไม่ได้ เพราะความเข้มข้นของของยาหยอดตาต่ำกว่า แต่ผลการรักษาทางหูอาจได้ผลน้อยหรือใช้เวลารักษานาน เช่น ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
4. ข้อบ่งใช้ของยาหยอดหูบางชนิดใช้ได้เฉพาะหูชั้นนอก หรือในรายแก้วหูปกติเท่านั้น เช่น 3 % Hydrogen peroxide ใน Merthiolate ซึ่งพวกนี้สามารถทำลายหูชั้นในได้หากนำไปใช้ในรายแก้วหูทะลุ
5.การเลือกใช้ หากไม่สามารถพบแพทย์ได้ควรปรึกษาเภสัชกร อย่าพยายามเลือกเองโดย ไม่ทราบการออกฤทธิ์ หรือผลข้างเคียง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/247789
POSTED 2021.12.13
UPDATED 2021.12.20
บทความอื่น
✈️ หูอื้อ​ จากการขึ้นเครื่องบิน​ 🛬
ตะกอนหินปูน​ในหูชั้นในหลุด
หูอักเสบ
หูชั้นกลางอักเสบ
การดูแลสุขภาพหู
โฆษณา