13 ธ.ค. 2021 เวลา 09:07 • การเกษตร
มะพร้าวน้ำหอม ทำไมถึงหอม หอมแล้วดีมั้ย ???
เกษตร "รุ่น" สู่ "รุ่น" ตอน.....มะพร้าวน้ำหอม ทำไมถึงหอม หอมแล้วดีมั้ย ???
วันนี้ขอมาเล่าเรื่องมะพร้าวน้ำหอม ด้วยที่ว่า เจ้าของเพจชอบทาน มีติดบ้านเสมอ เป็นทลายเลยทีเดียว ด้วยความชอบนี่เองเลยศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในสิ่งที่ชอบทานเป็นแรงบันดาลใจครับ
ก่อนอื่น มาทำความรู้จักหน้าตามะพร้าวน้ำหอมกันก่อนเลยว่าหน้าตาแว๊บแรกแบบไหนถึงใช่ ?
ดูได้ตามภาพเลยครับ ว่าแต่...มันมีตั้ง 5 แบบ เลยนะครับ แต่ที่มักจะเจอและทานบ่อยๆเห็นจะเป็นแบบก้นจีบๆ ผลสีเขียว และมักพบป้ายโฆษณาว่ามาจากบ้านแพ้ว ไม่รู้ว่าเห็นเหมือนกันมั้ย
หน้าตามะพร้าวน้ำหอม 5 แบบ
แล้วไอ้ที่ว่าหอมนั้น มันหอมแบบไหน มันคือสารอะไร ?
จะบอกว่ากลิ่นหอม จะเรียกว่า "กลิ่นคล้ายใบเตย" เกิดจากสารให้กลิ่นหอม
ชื่อ " 2–อเซตทิล-1-ไพโรลีน (2-acetyl-1-pyrroline) "
เรียกย่อ ๆ ว่า " 2-เอพี (2 A-P) "
แล้วอะไรบ้างหล่ะ ที่หอม?
จุดแรกเลย "ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว"
อันนี้น่าจะเลอะหน่อยถ้าจะลองพิสูจน์กลิ่น เคยทดสอบมาแล้ว ต้องจิกเล็บไปที่เนื้อรากให้เป็นแผลหน่อยๆ จะได้กลื่นหอมจริงครับ
ปลายรากอ่อนของหน่อมะพร้าว
จุดที่สอง "กะลาของผลอ่อน"
จุดนี้ใครปลอกไปเป็นยากพิสูจน์ แต่สำหรับเจ้าของเพจ ง่ายๆครับ มีดพร้าเล่มเดียวจบครับ สับพิสูจน์ ก็หอมจริง แต่...มันก็หอมน้ำหอมเนื้อด้วย ปนๆกันไป
กะลาของผลอ่อน
จุดที่สาม "น้ำมะพร้าว"
อันนี้น่าจะเบสิคสุดในการที่ใครๆก็พอจะเอาได้ครับ ว่าหอมหรือไม่ ทั้งดมทั้งกิน อิ่มไปเลยทีเดียว
น้ำมะพร้าว และเนื้อมะพร้าว
จุดสุดท้าย "เนื้อมะพร้าว"
เนื้อมีกลิ่นหอมเช่นกัน ก็น่าจะหอม เพราะอยู่ระหว่างกะลา กับน้ำ อยู่ใกล้อะไรก็เป็นแบบนั้น เกี่ยวกันมั้ย 55
แล้วความหอมแบบนี้ดีมั้ย ?
ดีแน่นอนครับ ถึงขั้นส่งออกความหอมไปต่างประเทศสร้างรายได้กันล้มหลามเลยทีเดียว เพราะเจ้ามะพร้าวน้ำหอมนี้ ความหอมเป็นเสน่ห์ที่ไม่พบในมะพร้าวทั่วๆไป จึงทำให้เป็นที่นิยมบริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลด้านการเกษตร มีการออกกฎระเบียบการส่งออกมะพร้าวว่าถ้าต้องการส่งออกหรือเรียกมะพร้าวน้ำหอม จะต้องระบุว่า "มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย" ซึ่งเกิดจากสารให้กลิ่นหอมชื่อ 2–อเซตทิล-1-ไพโรลีน (2-acetyl-1-pyrroline) เรียกย่อ ๆ ว่า 2-เอพี (2 A-P) ด้วย
....วันนี้พอเท่านี้ก่อน ฝากติดตามให้กำลังใจ ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ มือใหม่ซิงๆเลยครับผม
ที่มาข้อมูล : สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
โฆษณา