14 ธ.ค. 2021 เวลา 00:34 • ข่าว
เมื่อประเทศลาวมีเส้นทางรถไฟลาว-จีน ที่เกิดจากการลงทุนในยุทธศาสตร์ BRI ของทางประเทศจีนจึงทำให้ตอนนี้ประเทศลาว กลายเป็นฮับด้านการคมนาคมของอาเซียน
อนาคตทุเรียนไทย อาจจะต้องอาศัยประเทศลาวในการขนส่งทุเรียนไปยังประเทศจีน
ถึงแม้ว่าปัจจุบันเส้นทางการขนส่งทุเรียนไทยไปยังประเทศจีน จะต้องผ่านประเทศลาว
โดยมี 2 เส้นทางหลักคือ
1. ถนนหมายเลข 9 หรือ R9 จากมุกดาหาร ผ่านดานัง เข้าพักที่ฮานอย แล้วสู่ปักกิ่ง เป็นศูนย์กลางการกระจายผลไม้ไทยไปยังภาคเหนือของจีน โดยมีตลาดซินฟาดี้ ซึ่งเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงปักกิ่ง โดยใช้เวลาเพียง 36 ชั่วโมง
2. ถนนสาย R 3A จากเชียงของ จ.เชียงราย ผ่าน ส.ป.ป.ลาว สู่ทางใต้ของจีนผ่านเมืองสิบสองปันนา คุนหมิง ไปพักที่มณฑลเสฉวน กระจายผลไม้ไทยสู่ภาคใต้ และชายแดนทิเบต หรือ จะเข้ามาสู่ปักกิ่งก็ได้
และล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งจัดทำพิธีสารเปิดเส้นทางการขนส่งใหม่เพิ่มอีก 2 เส้นทาง คือ R12 จาก จ.นครพนม และผ่านด่านตงซิง หลังผู้ประกอบการส่งประสบปัญหาการล้าช้า (กรณีด่านโหย่วอี้กวนแออัด)
สร้างความเสียหายให้ทุเรียนไทยจำนวนมาก ที่เกิดจากระเบียบใหม่ของจีน รวมถึงการจัดการโลจิสติกส์ และการจัดพื้นที่การเดินรถในด่านโหย่วอี้กวน ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำและหารือรายละเอียดของพิธีสารก่อนลงนามต่อไป แต่อย่างที่หลายท่านทราบปัจจุบันผลไม้ไทยยังไม่สามารถเข้าด่านตงชิงได้ ต้องไปพักที่เวียดนามก่อน ให้คู่ค้าเวียดนามขนข้ามไป
เส้นทาง R 12 ผ่าน เริ่มจาก จ.นครพนม-ด่านท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว-จังหวัด Quang Binh จ. Lang Son ของเวียดนามเข้าสู่จีน โดย ผ่านด่านผิงเสียง มณฑลกว่างซี ซึ่งเมืองผิงเสียงมี “ตลาดผลไม้เมืองผิงเสียง” (Pingxiang City) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของจีน เป็นตลาดที่สามารถใช้เป็นประตูให้กับผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดจีนได้ มีความสะดวกสบาย มีการบริหารจัดระบบโลจิสติกส์ดี และผ่านพิธีการศุลกากรได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผลไม้ ไม่เน่าเสีย
เมืองผิงเสียง เป็นอำเภอระดับเมืองที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเมืองฉงจั่ว มณฑลกว่างซี เป็นเมืองชายแดนที่มีแนวพรมแดนติดกับ 3 อำเภอในจังหวัด Lang Son ประเทศเวียดนาม และสามารถเดินทางต่อไปถึง สปป.ลาว และไทย ตามเส้นทาง R 8 บึงกาฬ หนองคาย รวมถึงถนนสาย R9 มุกดาหาร และ R12 นครพนม ถือเป็นระยะทางสั้นที่สุดและสะดวกที่สุดของจีนที่ใช้เชื่อมต่อกับอาเซียน และยังเป็นข้อต่อสำคัญในยุทธศาสตร์ “มุ่งลงใต้” จากจีนไปยังสิงคโปร์
ส่วน “ด่านตงซิง” เป็นด่านการค้าผลไม้ แห่งใหม่ของเขตกว่างซีจ้วง และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว ด่านแห่งนี้ส่วนใหญ่นิยมผ่านตามถนนเส้นทาง R 8 มีจุดเริ่มต้นที่ จ. บึงกาฬ เข้าเขตปากซันของ สปป.ลาว ผ่านเมืองวิงห์ มุ่งสู่ กรุงฮานอยของเวียดนาม และไปสิ้นสุดที่กว่างซีเช่นกัน
แล้วการมาของเส้นทางรถไฟลาว-จีน จะมีประโยชน์อะไรกับการขนส่งทุเรียน ?
จากการวิเคราะห์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง สมาคมทุเรียนไทย สมาคมผู้ส่งออกทุเรียน มองว่าทางรถไฟลาว-จีน เส้นนี้อาจจะช่วยทำให้การขนส่งทุเรียนไทยลดระยะเวลาลง และ แก้ปัญหารถติดด่านทางประเทศเวียดนาม ที่ผู้ส่งออกต้องเจอปัญหาทุกปี ซึ่งปัจจุบันถึงแม้ระบบต่างๆทั้งเรื่องการเปลี่ยนตู้ เรื่องของรายละเอียดหน้าด่านจะยังไม่พร้อมรองรับได้ภายในปีนี้ แต่จากการที่ได้ติดตามทางประเทศลาวและจีนก็พร้อมจะอำนวยความสะดวกให้ ถ้าผู้ส่งออกเริ่มหันมาใช้เส้นทางรถไฟลาว-จีนในการขนส่งทุเรียนมากขึ้น
ระเบียงเศรษฐกิจ จีน-ลาว-ไทย สิ่งที่ผู้ประกอบส่งออกทุเรียนไทยต้องอาศัยประโยชน์
โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาวภายใต้ BRI ของจีน เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สามารถส่งเสริมยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศของลาวที่ต้องการเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลไปสู่ประเทศที่เป็นสะพานเชื่อมในภูมิภาค (from land-locked to land-linked) โดยมีโครงการรถไฟจีน-ลาวที่เชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับบ่อเต็นที่เป็นชายแดนระหว่างแขวงหลวงน้ำทาของลาวกับเขตฯ สิบสองปันนาของมณฑลยูนนานที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปี 2564 (เปิดใช้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564)
การที่จีนกำหนดให้ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาวเริ่มต้นจาก มณฑลยูนนาน ก็เนื่องมาจากที่ตั้งของยูนนานซึ่งเป็นมณฑลเดียวของจีนที่มีพรมแดรติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึงสามประเทศ ได้แก่ เวียดนาม ลาว และเมียนมา จึงมีลักษณะที่เปรียบเสมือน “ประตูสู่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ของจีน
การประกาศลงทุนก่อสร้างทางด่วนระหว่าง เวียงจันทน์ กับ โม่ฮาน และทางด่วนระหว่าง บ่อเต็น กับ ห้วยทรายย่อมเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าไทยมายังจีนผ่านถนนสายนี้ โดยเฉพาะในด้านระยะเวลา เนื่องจากถนนสาย R3A ในปัจจุบันยังมีสภาพคับแคบและคดเคี้ยว เมื่อรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ก็ยังเป็นทางเลือกการขนส่งสินค้าไทยมายังมณฑลยูนนานที่สะดวกรวดเร็วอีกทางหนึ่งด้วย
ประเทศไทยกับมณฑลยูนนานมีความสัมพันธ์ทางการค้ามาอย่างยาวนาน โดยทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ค้าหลักในด้านสินค้าเกษตรที่สำคัญระหว่างกัน โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อนของไทย เช่น มังคุด ทุเรียน ส้มโอ และกล้วยไม้ไทย เป็นที่นิยมในตลาดยูนนานอยู่แล้ว ขณะที่ผักและผลไม้สดของยูนนานก็ส่งออกมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาวที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ย่อมสร้างโอกาสในการขยายมูลค่าการค้าของทั้งสองฝ่ายได้แน่นอน
ทำไมผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการทุเรียนไทย ต้องไปอาศัยรถไฟลาว-จีน ?
หากเราพิจารณาประเทศลาวแล้ว พื้นที่ปลูกทุเรียนมีไม่มากพบในเขต ปากซอง แขวงจำปาสักหลัก พัน ไร่ ซึ่งลาวแองในอนาคต น่าจะมอง
ประโยชน์ทางด้านการจัดการโลจิสติกทุเรียนมากกว่า เพราะลาวเองมีภูมิศาสตร์ทางพื้นที่เหมาะสม มีพรมแดน ติดถึงห้าประเทศ ทั้งจีน เมียนมาร์
ไทย กัมพูชาและเวียดนาม นั้นหมายความว่า การส่งทุเรียนทางบก รถคอนเทนเนอร์ทุกคันจากไทยต้องผ่านประเทศลาว ทั้ง ถนน R3A ทางด่าน
เชียงของ จังหวัดเชียงรายเพื่อเข้ามณฑลยูนาน เส้นถนน R12 ทางจังหวัดนครพนม เพื่อเข้าแขวงคำม่วนออกเวียดนาม และ ถนน R9 ทางจังหวัด
มุกดาหาร เข้าแขวงสะหวันนะเขต ออกทางด่านลาวบาว ประเทศเวียดนาม
สิ่งสำคัญสำหรับ ทุเรียนไทย คือเส้นทางรถไฟความเร็วระดับกลางที่
160 กม./ชั่วโมง จาก มณฑลยูนาน ประเทศจีน เข้าบ่อเต๊น แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาวที่จะแล้วเสร็จ ในปี 2564 นี้ พบว่า มีการขยายพื้นที่เครือข่าย
ธุรกิจขาวจีนขนาด หนึ่งหมื่นห้าพันไร่ เพื่อสร้างศูนย์กลางเมืองใหม่แบบครบวงจร ทั้งศุนย์กระจายสินค้า ฮับโลจิสติกทุกๆเรื่อง
*** ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและวิกฤตของสินค้าไทย ขึ้นอยู่การปรับตัวและมีแผนกลยุทธ์การจัดการในเรื่องนี้ เพราะเราต่างทราบดีว่าไม่ใช่แค่รถไฟมาถึง แต่หมายถึง องคาพยพทุกๆ สิ่ง ที่ดำเนินมาถึงเช่นกัน แนวทางแรกรัฐบาลสามารถ สนับสนุนให้เกษตรกรสวนทุเรียนผลิตทุเรียนเกรดส่งออกเพื่อสร้างผลกำไรให้มากขึ้น และสร้างกลไกให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์มากที่สุดตามอำนาจต่อรองที่มีมากขึ้น
และคาดว่าจะมีทุเรียนจากประเทศที่ยังไม่ได้รับพิธีสารจ้องจะสวมสิทธิ์ทุเรียนลาวส่งเข้าไปในยังจีนแน่นอน เป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้อกำลังติดตามกันอย่างใกล้ชิด จึงเห็นว่า สมาคมทุเรียนไทยพยายามผลักดันให้กับทางภาครัฐเร่งเจรจาเงื่อนไขต่างๆ เพราะไม่ใช่แค่จะเป็นเส้นทางขนส่งทุเรียนไทยเท่านั้น แต่จะเป็นการแหย่เข้าไปเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์จากประเทศคู่แข่งในอุตสาหกรรมทุเรียนของประเทศไทยไว้แต่เนิ่นๆ
ซึ่งต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด.........
เขียนโดย : เด็กท้ายสวน
ข้อมูลจาก : บทความเรื่อง “จับตาบทบาทยูนนานใน “ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว” มองหาโอกาสไทย” ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง (3 JUL 2020)
ยุทธศาสตร์ โอกาสทุเรียนไทย : การแข่งขัน ทุเรียน อาเซียน
ดร.วรชาติ ดุลยเสถียร ผู้เขี่ยวชาญโซ่อุปทานด้านเกษตร CLMV
เลขาธิการสมาคมส่งเสริมธุรกิจเกษตรระหว่างประเทศ
ติดตามข่าวสารในวงการทุเรียนต้อง The Durian
Facebook : The Durian
Blockdit : The Durian
IG : thedurian2021
Youtube : The Durian Official
#thedurian #duriannews #ครบทุกเรื่องข่าวสารวงการทุเรียน
โฆษณา