14 ธ.ค. 2021 เวลา 04:45 • การศึกษา
Agatha Christie : ราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม
ถ้าพูดถึงนักเขียนนวนิยายอาชญากรรม ภาพที่เข้ามาในหัวคงจะไม่พ้นภาพของผู้ชายใส่แว่นสักคนที่สูบไปป์ แต่เอาเข้าจริง ในโลกแห่งนวนิยายอาชญากรรม นักเขียนที่เป็น Best Seller of All Time ของ Guinness World Records คือผู้หญิงอังกฤษที่ชื่อว่า “Agatha Christie”
เธอเป็นผู้เขียนนวนิยายอาชญากรรม 78 เล่มขาย นวนิยายของเธอมียอดขาย 2 พันล้านเล่มใน 44 ภาษาทั่วโลก นอกจากนี้ยังเขียนบทละคร 19 เรื่องและนิยายโรแมนติก 6 เรื่องภายใต้นามแฝง Mary Westmacott ความสำเร็จของเธอทำให้เธอมีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์คาดว่าจะมีมูลค่านับล้านดอลลาห์ต่อปี
ตำนานของ Christe ไม่ได้จบลงด้วยการมียอดขายเป็นสถิติโลก บทละครของเธอในเรื่อง The Mousetrap ยังสร้างสถิติบทละครที่ยาวที่สุดอีกด้วย
“Plots come to me at such odd moments, when I am walking along the street, or examining a hat shop...suddenly a splendid idea comes into my head.”
Agatha Mary Clarissa Miller (อกาธา แมรี่ คลาริสซา มิลเลอร์) เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 1890 ที่ Torquay เมือง Devon ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ในครอบครัวชนชั้นกลาง เธอได้รับการศึกษาที่บ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นพ่อของเธอ ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน นิสัยรักการเล่าเรื่องของเธออาจจะมาจาก คลาร่า แม่ของเธอที่เป็นนักเล่าเรื่องที่ยอดเยี่ยม
เมื่ออกาธาอายุได้ 5 ขวบ ครอบครัวของเธอใช้เวลาช่วงหนึ่งในฝรั่งเศสโดย ที่นี่เอง ที่อกาธาได้เรียนรู้สำนวนภาษาฝรั่งเศส เมื่อเธออายุได้ 11 ปี ครอบครัวของเธอเกิดปัญหาทางการเงิน และพ่อของเธอเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย และอกาธาก็กลายเป็นเพื่อนสนิทที่สุดของแม่เธอ
อกาธา คริสตี้พูดเสมอว่าเธอไม่มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นนักเขียน แม้ว่าเธอจะมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่ออายุสิบเอ็ดปีด้วยบทกวีในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในลอนดอน
เธอใช้เวลาส่วนใหญ่กับเพื่อนในจินตนาการ เธอสอนตัวเองให้อ่านหนังสือและมีการศึกษาตามแบบแผนเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยจนกระทั่งอายุ 15 หรือ 16 ปี เธอถูกส่งตัวเรียนไปเรียนโรงเรียนสอนสุภาพสตรีในปารีส (Finishing School)
เมื่ออายุได้ 18 ปี เธอก็ได้ค้นพบความสามารถของเธอ เธอพบความสนุกสนานกับการเขียนเรื่องสั้น ซึ่งบางเรื่องได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดยมีเพื่อนและนักเขียนชื่อ Eden Philpotts ที่ให้คำแนะนำ
มันเริ่มจากการที่เธอเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ และแม่ของเธอแนะนำให้เธอเขียนเรื่องราวที่เธอชอบเล่า และความหลงใหลในชีวิตก็เริ่มต้นขึ้น ในช่วงวัยรุ่น นอกจากบทกวีบทแรกตอนอายุ 11 แล้ว เธอก็มีบทกวีอีกหลายเล่มที่ตีพิมพ์ใน The Poetry Review และเขียนเรื่องสั้นจำนวนหนึ่ง
อกาธา คริสตี้เขียนเกี่ยวกับโลกที่เธอรู้จักและเห็น ทหารสุภาพบุรุษ ขุนนางและสุภาพสตรี สปินสเตอร์ หญิงม่าย และแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเพื่อนและคนรู้จักในครอบครัวของเธอ เธอเป็นนักสังเกต และมีคำอธิบายของเธอเกี่ยวกับการเมืองในหมู่บ้าน การแข่งขันในท้องถิ่น และความอิจฉาริษยาในครอบครัว
“คุณยาย เป็นคนที่ฟังมากกว่าพูด และมองเห็นมากกว่าที่เห็น” — ​​Mathew Prichard หลานเพียงคนเดียวของอกาธาพูดถึงเธอไว้
แรงบันดาลใจของ Hercule Poirot มาจากไหน?
‘ราชินีแห่งนวนิยายอาชญากรรม’ เป็นที่รู้จักในวงกว้างจากผลงานที่ชื่อ The Mysterious Affair at Styles (1920) ชื่อไทย “ความลี้ลับเหนือเคหาสน์สไตลล์ คดีแรกของปัวโรต์” โดยมี Hercule Poirot (แอร์คูล ปัวโรต์) ตัวละครที่มีคาแรกเตอร์เป็นชาวเบลเยียม ตาสีเขียว หุ่นตุบตั๊บ มีเอกลักษณ์ที่ทาหนวดด้วยน้ำมันจนแข็งและมีปลายจมูกเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ และมีมิสมาร์เปิล เป็นนักสืบหญิงชาวบ้าน ที่มีคาแรกเตอร์เป็นสาวแก่ โดยมีวิธีการไขคดีแบบนักสิบชาวบ้าน โดยงานเขียนของอกาธาจะมีประเด็นจากมุมมองผู้หญิงที่พูดถึงธรรมชาติของผู้คน เช่น การชอบซุบซิบและสังเกตสังกาเรื่องชาวบ้าน
ในเว็บไซต์ของอกาธาเขียนไว้ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีผู้ลี้ภัยชาวเบลเยียม ย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่ชนบทของอังกฤษ ที่เมืองที่เธออยู่ก็เช่นกัน แม้ว่านักสืบปัวโรต์จะได้มีตัวตนอยู่จริง แต่ตัวละครตัวนี้เกิดจากการที่อกาธาจิตนาการว่าผู้ลี้ภัยชาวเบลเยี่ยมที่เธอเห็น จะอดีตตำรวจเบลเยียมผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นนักสืบที่ยอดเยี่ยมสำหรับนวนิยายเรื่องแรกของเธอที่ชื่อ The Mysterious Affair at Styles — Hercule Poirot ถือกำเนิดเช่นนี้
ชีวิตครอบครัวและช่วงท้ายของชีวิต
อกาธาแต่งงานสองครั้ง ครั้งแรกเธอให้กำเนิดบุญสาวเพียงคนเดียวของเธอ Rosalind Margaret Clarissa ก่อนจะหย่าร้างกับสามีในปี 1926 เรื่องการหย่าร้างของเธอถูกให้ความสนใจเป็นวงกว้างจากการหายไปตัวไปของเธอ โดยมี วิลเลียม จอยน์สัน-ฮิกส์ รัฐมนตรีมหาดไทยกดดันตำรวจให้ตามหาเธอ และมีการประกาศตามหนังสือพิมพ์โดยเสนอที่จะให้เงินรางวัลมูลค่า 100 ปอนด์ (ประมาณเทียบเท่ากับ 6,000 ปอนด์ในปี 2020) มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมากกว่าหนึ่งพันคน อาสาสมัคร 15,000 คน และเครื่องบินหลายลำ ออกตรวจค้นหาตามพื้นที่ต่าง ๆ
การหายตัวไปของคริสตี้ปรากฏอยู่บนหน้าแรกของเดอะนิวยอร์กไทมส์ แม้จะมีการตามล่าอย่างกว้างขวาง แต่ก็ไม่มีใครพบเธอเลยตลอด 10 วันที่เธอหายตัวไป และเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2469 เธอถูกพบอยู่ที่โรงแรมสวอน ไฮโดรพาทิค ในเมืองฮาร์โรเกต รัฐยอร์กเชียร์ ห่างจากบ้านของเธอในซันนิงเดลไปทางเหนือ 184 ไมล์ (296 กม.)
หนังสืออัตชีวประวัติของคริสตี้ไม่ได้พูดถึงการหายตัวไปของเธอ และแพทย์สองคนวินิจฉัยว่าเธอกำลังทุกข์ทรมานจาก "การสูญเสียความทรงจำอย่างแท้จริงไปอย่าวไม่ต้องสงสัย" ทว่าความเห็นยังคงแตกแยกจากเหตุผลของการหายตัวไปของเธอ บางคน รวมทั้งมอร์แกน นักเขียนชีวประวัติของเธอ เชื่อว่าเธอหายตัวไปในระหว่างที่ยังมีความทรงจำต่าง ๆ อยู่แน่นอน ส่วนผู้เขียนที่ชื่อจาเร็ด เคด สรุปว่าคริสตี้วางแผนเรื่องนี้เพื่อทำให้สามีของเธออับอาย แต่ไม่ได้คาดหวังผลประโลมโลกที่จะเกิดขึ้นต่อสาธารณะ ส่วนลอร่า ธอมป์สัน ผู้เขียนชีวประวัติของคริสตี้ให้มุมมองทางเลือกว่าคริสตี้อาจหายตัวไประหว่างที่มีอาการทางจิตใจ ซึ่งเธอตระหนักถึงการกระทำของเธอ แต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง อีกทั้งปฏิกิริยาในสาธารณะในขณะนั้นส่วนใหญ่เป็นแง่ลบ ที่มีการตั้งสมมติฐานว่าคือการแสดงหรือความพยายามที่จะใส่ร้ายสามีของเธอในข้อหาฆาตกรรม
คริสตี้ยื่นคำร้องเพื่อหย่า และได้รับอนุญาตให้หย่ากับสามีของเธอในเดือนเมษายน 1928 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน อาร์ชีแต่งงานกับแนนซี่นีลในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ซึ่งคริสตี้ยังคงดูแลลูกสาวของพวกเขา โรซาลินด์ และใช้นามสกุลคริสตี้สำหรับการเขียนของเธอ
ในปี ค.ศ. 1928 คริสตี้ออกจากอังกฤษและขึ้นรถ (Simplon) Orient Express ไปยังอิสตันบูลแล้วไปยังแบกแดด ในการเดินทางครั้งที่สองนั้น เธอได้พบกับนักโบราณคดี Max Mallowan ซึ่งอายุน้อยกว่าเธอ 13 ปี คริสตี้และมัลโลแวนแต่งงานกันในเอดินบะระในเดือนกันยายน พ.ศ. 2473 [13]:  295–96  [55] การแต่งงานของพวกเขาดำเนินไปจนกระทั่งคริสตี้เสียชีวิตในปี 1930 เธอเดินทางไปกับมัลโลแวนในการเดินทางสำรวจทางโบราณคดี และการเดินทางของเธอร่วมกับเขามีส่วนทำให้เกิดนิยายของเธอหลายเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องราวในตะวันออกกลาง เช่น Peril at End House
และในช่วงนั้นเองเป็นช่วงที่ คริสตี้ใช้ประสบการณ์การเดินทางโดยรถไฟระหว่างประเทศของเธอ เขียนนวนิยายเรื่อง Murder on the Orient Express ในปี 1934 โดยมี The Pera Palace Hotel ในอิสตันบูล อ้างว่าหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นที่นั่น และดูแลห้องของคริสตี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้เขียน
การเดินทางกับรถไฟ Orient Express กลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอย่าง “Murder on the Orient Express” โดยเป็นเรื่องราวของนักสืบปัวโรต์กับผู้ต้องสงสัยทั้ง 13 คนบนรถไฟที่หรูหรา นวนิยายตอนนี้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ถึง 3 ครั้งในปี 1974, 2001 และปี 2016 โดยในภาพยนต์ที่สร้างจากนวนิยายของเธอจะได้นักแสดงระดับตำนานมาเล่นเสียทุกรอบที่มีการสร้างเป็นภาพยนตร์ การที่ได้รับการตอบรับเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่านวนิยายของอกาธาเป็นตำนานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
*ทั้งนี้ Death on the Nile อีกหนึ่งการเดินทางของนักสืบปัวโรต์ ก็กำลังจะกลับมา ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี 2022
โฆษณา