Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่องคนดัง ส่องธุรกิจ
•
ติดตาม
14 ธ.ค. 2021 เวลา 10:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เครือซีพี-กลุ่มเทเลนอร์ ประกาศร่วมมือ
"ศึกษาเทคโนโลยีอวกาศ ดันไทยขึ้นฮับภูมิภาค"
(ปัจจุบันหลายประเทศ...ขับเคลื่อนเทคโนโลยีอวกาศ อย่างจริงจังแล้ว)
ซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ มุ่งจับมือศึกษาโอกาสด้านเทคโนโลยีอวกาศ
ล่าสุด เครือซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ มุ่งจับมือตั้งบริษัทเทคโนโลยีบริษัทใหม่ ศึกษาโอกาสด้านเทคโนโลยีอวกาศ-ดันไทยเป็นเทคโนโลยีฮับระดับภูมิภาค ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company) ภายใต้ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีฮับ พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม และกองทุนสตาร์ทอัพ เพื่อสอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีระดับภูมิภาค
https://www.kaohoon.com/news/495804
ซึ่งปัจจุบันไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศมีการประกาศขับเคลื่อนและศึกษาเทคโนโลยีด้านอวกาศ มาช่วยพัฒนาในประเทศของตนเอง เช่นกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เป็นต้น และเชื่อว่าอีกไม่นานหลายประเทศ จะมีการประกาศศัยกภาพเทคโนโลยีอวกาศให้นานาชาติรับรู้ได้เช่นกัน
ฉะนั้น ก็ไม่น่าแปลกที่ประเทศไทย จะมีการขับเคลื่อนจริงจัง "เทคโนโลยีอวกาศ" ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน ซึ่งที่ใครหลายๆ คน "คิดไว้" มันเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ... แต่มันจะไม่เป็น "เรื่องเพ้อเจ้อ" อีกต่อไป
"เทคโนโลยีอากาศ" (Space Technology) การพัฒนาเกิดขึ้นมากมาย โดยองค์การต่างๆ และองค์การที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ คือองค์การนาซ่า ของประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในการสำรวจสิ่งที่ต้องการ ศึกษาสิ่งต่างๆ ในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ ในด้านต่างๆ เช่น การสื่อสาร การสำรวจทรัพยากรโลก
สำหรับประเทศไทย จะมี Gistda (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) ขับเคลื่อนเทคโนโลยีอวกาศ นำมาใช้ประโยชน์ด้านคลัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เช่น วางแผนด้านเกษตร แก้ปัญหาภูมิศาสตร์และทรัพยากร พยากรณ์อากาศ ฯลฯ ปัจจุบันมีเปิดรับสมัครหลักสูตรเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และมีความเป็นไปได้ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย เริ่มเปิดหลักสูตร "เทคโนโลยีอากาศ" เพื่อรองรับความต้องการตลาดแรงงานในอนาคตอีกด้วย
ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ "อะไร" จาก "เทคโนโลยีอากาศ" (Space Technology)
1. โอกาส "พัฒนาประเทศ" แบบที่ "ไร้จุดความเลื่อมล้ำ" ด้วยเทคโนโลยีนี้ สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ (5-10 ปีข้างหน้า) ได้อย่างแม่นยำ นำข้อมูลพร้อมสู่การวางแผน ป้องกันทางภูมิศาสตร์ได้เป็นอย่างดี กระจายองค์ความรู้เหล่านี้ไปสู่ท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
2. โอกาส "สร้างพันธมิตร" วงการอวกาศ ดึงดูดเพื่อสร้างความร่วมมือกันในอนาคต ปัจจุบันหลายๆ ประเทศ มีการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในด้านนี้ด้วย
3. โอกาส "รายได้" กับประเทศไทยได้ ซึ่งหลายๆ ประเทศก็มองแบบนี้ เช่นกัน
4. โอกาส "สร้างคน" ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย คิดค้นและพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำมาบูรณาการและต่อยอดได้
5. โอกาส "ระบบสื่อสาร" เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงด้านโทรคมนาคม ควบคู่กับระบบ 5G ขึ้นไป เช่น สื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ ร่วมถึงระบบ IOT ครอบคลุมมากขึ้น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็คือ ระบบ Smart home เป็นต้น
โดย สรุป ถือว่า "เทคโนโลยีอากาศ" (Space Technology) สามารถนำมาช่วยส่งเสริมในการกำกับการดำเนินงานในอนาคตได้ รวมถึงต่อยอดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ถือว่า "สร้างรายได้" ให้กับประเทศไทยได้
รวมถึงรองรับอุตสาหกรรมอวกาศและกิจการอวกาศที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องและเตรียมรับมือกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศได้อีกด้วย
เอาละที่นี้ ... เราจะก้าวไป หรือ จะถอยหลัง ก็ลองพิจารณาดู!!
อวกาศและเทคโนโลยี
true
dtac
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย