14 ธ.ค. 2021 เวลา 11:50 • คริปโทเคอร์เรนซี
รู้จัก “Tokenomics” เศรษฐศาสตร์ของคริปโทเคอร์เรนซี
4
ในช่วงที่ผ่านมา กระแสของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ร้อนแรงเป็นอย่างมาก
หลังจากมูลค่าได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมหาศาลตั้งแต่ต้นปี
3
Bitcoin เคยราคาขึ้นไปมากกว่า 2,000,000 บาท
Ethereum เคยราคาขึ้นไปมากกว่า 150,000 บาท
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่ามูลค่าเหล่านี้ มาจากไหน ?
โดยเบื้องหลังมูลค่าเหล่านี้ เกิดขึ้นจากกลไกที่เรียกว่า “Tokenomics”
หรือ “เศรษฐศาสตร์ของเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี” ในการช่วยสร้างมูลค่าให้กับมัน
แล้ว Tokenomics คืออะไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
จริง ๆ แล้ว มูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซี หรือสิ่งต่าง ๆ บนโลกนั้น
ถูกตั้งอยู่บนหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานอย่าง Demand และ Supply
เมื่อสิ่งใดมีปริมาณน้อย หาได้ยาก ตอบโจทย์ และมีคุณค่า
มันจะมีความต้องการมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้มีมูลค่าสูงขึ้น
1
ในทางกลับกัน สิ่งใดมีปริมาณมาก หาง่าย และไม่ตอบโจทย์
ความต้องการก็จะลดลง ส่งผลให้มูลค่าลดลงตามไปด้วย
Tokenomics คือการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจมูลค่าของเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีมากขึ้น
1
โดยเราสามารถเข้าไปศึกษาได้จาก “Whitepaper” ของโปรเจกต์ที่เราสนใจ รวมถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจโปรเจกต์นั้นได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปใช้งานหรือลงทุนกับมัน
2
ทีนี้ เราลองมาดูว่ามีเรื่องอะไรที่เราจะต้องคำนึงถึงบ้าง ?
เริ่มต้นที่ “เหรียญนี้มีไว้เพื่ออะไร”
ในบรรดาเหรียญที่เราอยากลงทุนนั้น เราควรมีความเข้าใจว่าเหรียญนั้น คืออะไร
ใช้ทำอะไรและประโยชน์ของมันคืออะไร มีการใช้งานจริงหรือไม่ และทำไมคนถึงต้องใช้มัน
4
ยกตัวอย่างเช่น
 
Ethereum ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับ NFT แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม Decentralised จำนวนมาก
มูลค่าของสกุลเงินบนระบบอย่าง ETH จึงขึ้นอยู่กับการเติบโตของการใช้งาน เมื่อมีการใช้งานมากจึงเป็นที่ต้องการและมีมูลค่า
3
อีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ “เหรียญนี้ มีปริมาณเท่าไร”
3
ก่อนอื่นก็ต้องดูว่าเหรียญที่เราศึกษานั้นมีปริมาณจำกัดหรือไม่ หรือสามารถผลิตออกมาได้เรื่อย ๆ
มีการผลิตออกมาแล้วเป็นสัดส่วนเท่าไร มีกลไกในการผลิตอย่างไร
มีกลไกในการควบคุมการเฟ้อหรือไม่ ปริมาณเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระยะยาว
ยกตัวอย่างเช่น
Bitcoin ที่หลายคนเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้รักษามูลค่าของเงิน หรือช่องทางการเคลื่อนย้ายเงินที่สะดวก รวดเร็ว และมีอิสระ เปรียบเสมือนทองคำดิจิทัล มี Tokenomics ที่จำกัดปริมาณหมุนเวียนทั้งระบบอยู่ที่ 21,000,000 เหรียญ โดยปัจจุบันมีการขุดสำเร็จแล้วราว 90% และจะมีอัตราการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
2
ต่อมา คำถามที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ “เหรียญนี้อยู่ในมือใคร”
1
การกระจายเหรียญถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โปรเจกต์ที่เราสนใจนั้นมีโครงสร้างในการกระจายเหรียญอย่างไรบ้าง สามารถสร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน ที่ปรึกษา นักลงทุน พันธมิตร ชุมชน ได้หรือไม่
2
รวมถึงตัวเหรียญมีการปล่อยเหรียญออกมาก่อนหน้าสาธารณชนหรือไม่ หากเหรียญมีการกระจุกอยู่ที่รายใดรายหนึ่ง การเข้าควบคุมราคาหรือการชี้นำตลาดจะสามารถทำได้โดยง่าย
2
ยกตัวอย่างเช่น
1
Solana อีกหนึ่งบล็อกเชนโปรโตคอล ที่มีประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ด้วยค่าธรรมเนียมสบายกระเป๋า แต่มีโครงสร้างการกระจายเหรียญในวงแคบ โดยเน้นไปที่ทีมงาน นักลงทุน และพันธมิตรเป็นหลัก
1
นอกจากนั้น เราก็ควรดูว่า “เหรียญนี้ มีความสามารถในการแข่งขันไหม”
1
อีกหนึ่งจุดชี้เป็นชี้ตายที่อธิบายได้ว่าเหรียญนี้ควรมีมูลค่าเท่าไร คือความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขัน
2
บนโลกที่ไร้ศูนย์กลางและมีการแข่งขันอย่างเสรี
จริงอยู่ว่ามันจะมีโปรเจกต์ดาวรุ่งดวงใหม่เกิดขึ้นมา
แต่มันก็จะมีดวงดาวที่ลับขอบฟ้า ในเวลาเดียวกัน
เราจึงควรศึกษาว่าโปรเจกต์ที่เราสนใจ มีความสามารถพอที่จะแข่งขันในระยะยาวหรือไม่
ใครเป็นคู่แข่ง และใครจะเป็นผู้ชนะ
1
ยกตัวอย่างเช่น
1
Binance กระดานเทรดคริปโทเคอร์เรนซี แม้จะไม่ได้เก่าแก่ที่สุดและมีอายุเพียงแค่ราว 4 ปี แต่สามารถแซงหน้ากระดานเทรดชั้นนำอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นกระดานเทรดอันดับ 1 ที่มีผู้ใช้งานจากทั่วทุกมุมโลกได้
2
ในขณะที่บางโปรเจกต์ แม้จะวางแผนโครงการไว้แล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย หรือไม่ได้เป็นไปตามที่ตลาดคาดหวังเอาไว้ ความสามารถในการแข่งขันและความดึงดูดจะน้อยลงตามไปด้วย
1
หลักการทั้งหมดที่เล่ามานั้น ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำความรู้จักและเข้าใจในกลไกและความเสี่ยงของตัวเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีที่เราสนใจ ซึ่งนับเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่เราควรเข้าใจก่อนที่เราจะเริ่มต้นไปข้องเกี่ยว ใช้งาน หรือแม้แต่นำเงินของเราเข้าไปลงทุน..
2
References
3
โฆษณา