17 ธ.ค. 2021 เวลา 05:20 • สุขภาพ
ว่าด้วยเรื่อง "ต้อยติ่ง" มันมีประโยชน์มั้ยนะ?
"ต้อยติ่ง" มีประฌโยชน์มั้ยนะ....
วันนี้ขอมาเล่าเรื่อง "ต้อยติ่ง" มาดูกันว่า
เจ้าพืชที่หลายคนมองว่าเป็นวัชพืชนี้
มันมีประโยชน์อะไรมั้ย
นอกเหนือจากเอาไปเล่นเป็นเม็ดเป๊าะแป๊ะ
เริ่มจาก ต้อยติ่ง เป็นใครมาจากไหน ?
ต้น "ต้อยติ่ง"
จะบอกว่า ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกา​ และมีกระจายขึ้นทั่วไปในเขตร้อน เช่น ไทย หรือแถบเพื่อนบ้านเรา
แบบนี้แสดงว่ามีชื่อต่างประเทศแน่ๆ ?
มีครับ เช่น
ชื่อวิทยศาสตร์ จะเรียกว่า
"Ruellia tuberosa Linn."
ชื่อสามัญ ก็มี เช่น
Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Trai-no, Toi ting เป็นต้น
แล้วชื่อไทยหล่ะ ?
ก็ "ต้อยติ่ง" งัย...
ว่าแต่ เรียกชื่ออื่นได้อีกมั้ย ?
ก็มีนะ ที่ค้นได้ก็มี เช่น
ต้อยติ่งนา, น้ำดับไฟ, ต้นเม็ดเป๊าะแป๊ะ เป็นต้น
ส่วนชื่อแปลกอื่นๆมาเติมเต็มใต้คอมเม้นได้นะครับ มาๆ
แล้วลักษณะต้นเป็นแบบไหนกันนะ?
ตามภาพเลย...
ต้น "ต้อยติ่ง"
ต้อยติ่ง เป็นพืชล้มลุก (ล้มแล้วก็กลับมาลุกได้ เฮ่อๆ สู้ไม่ถอยจริงๆ)
มีอายุยืน ลำต้นสูงได้ถึงประมาณ 25 - 50 ซม. (เคยเจอสูงมากๆประมาณว่าสูงเอาตัวรอดจากพืชข้างเคียง แย่งหาแสงเพื่อความอยู่รอด ไม่แน่อาจสูงได้ร่วมเมตรเลยรึป่าวน้อ)
ตามลำต้นถ้าสังเกตุดู จะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย
การขยายพันธุ์
ก็ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้แสนจะง่ายเลยทีเดียว
(ขนาดไม่ตั้งใจเพาะก็ขึ้นง่ายๆเลยจริงมั้ย)
ใบ
เป็นแบบใบเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีหยักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย
ใบ มีขนาดกว้างได้ถึงประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวได้ประมาณ 2.5-3 นิ้ว
การเกาะติดของใบบนกิ่งจะเป็นคู่ๆ คู่กันแล้วไม่แคล้วกัน เฮ่อๆ
ดอก
เห็นออกที่ซอกใบบริเวณปลายยอด
ดอกสีออกม่วงน้ำเงิน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก ประมาณ 4 - 5 ซม.
(ถ้าออกดอกเป็นทุ่งก็ดูสวยไปอีกแบบเนาะ..ว่ามั้ย)
ดอก "ต้อยติ่ง"
ผล
(อันนี้ ทำให้เป็นที่รู้จักของทุกคน)
ผลเป็นฝัก ขอเรียกว่า "ฝัก" ต่อแล้วกันครับ
ตอนแรกฝักก็สีเขียว(โดนน้ำยังไม่แตก)
"ผล" หรือ "ฝัก" ของ ต้อยติ่ง
ฝัก
พอแก่มาก็เปลี่ยนสีเป็นสีออกเข้มแบบสีขี้ม้า
(โดนน้ำเริ่มแตกได้ แต่ถ้ามีสีเขียวอ่อนปนอยู่แถวขั้ว อาจยังไม่แตก)
"ฝัก" ต้อยติ่ง
แล้วมาจบที่สีน้ำตาลเข้มๆ (แบบนี้เล่นสนุกเลยแตกแน่นอน ชื้นจัดๆ หรือแห้งจัดๆ แบบธรรมชาติก็แตกเองได้)
ฝัก ต้อยติ่ง แตก
ขนาดฝัก ยาวได้ 2 - 3 ซม.
เมล็ด
อันนี้จะอยู่ในฝัก มีลักษณะ กลม แบน
มีจำนวนมาก ไม่น่าจะต่ำกว่า 8 เมล็ด (ลองไปหานับดูนะครับ และก็ถือว่าเมล็ดเป็นของเด็ดอีกตัวเลยก็ว่าได้ เด็ดยังงัย เดี๋ยวเล่าต่อ)
ส่วนต่อมา ของดีไฮไลท์เลย ใครว่าวัชพืชของเล่นที่ชื่อ "ต้อยติ่ง" ไม่มีประโยชน์ มาดูกันครับ
มาดูสรรพคุณและประโยชน์ของต้อยติ่งกัน ว่ามีอะไรบ้าง?
# ราก
1.ใช้เป็นยารักษารักษาโรคไอกรน
2.ใช้เป็นยาขับเลือด
3.ใช้เป็นยารักษาโรคไตได้
4.ช่วยดับพิษในร่างกาย
5.ช่วยทำให้อาเจียน
6.ใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยจำกัดสารพิษในเลือดได้
7.ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ
8.ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
9.รากใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อได้ด้วย
2
#ใบ
1.ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
2.ใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้
"เมล็ด" ต้อยติ่ง ในฝัก
#เมล็ด
1.ใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ
2.ใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ ช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น
3.เมล็ดช่วยแก้อาการผดผื่นคัน
4.ในเมล็ดมีสาร "ลูทอีโอลิน (Luteolin)" ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่พบในน้ำนมแม่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีแร่ธาตุและสารอาหารในปริมาณสูง ให้ความชุ่มชื้น และช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโปรโตซัว รวมทั้งมีคุณสมบัติในการเสริมสุขภาพและความงาม
(รวมๆน่าสนใจมากๆ จะบอกว่า มีขายในเว็บขายออนไลน์ด้วย)
#ต้อยติ่งทั้งต้น
เอาชนิดที่ไม่แก่ ดอกยังไม่ร่วงโรย ถอนเอาทั้งรากไม่ให้รากขาดและอย่าให้เมล็ดแตก ประมาณ 4-5 ต้น แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด โขลกต้นเอาแต่น้ำมาดื่ม จะช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาชา ร้าวลงได้ ซึ่งใช้เวลาในการรักษาเพียง 7 วันก็หาย
เป็นไงบ้างครับ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะบอกว่าไม่ธรรมดาเลยใช่มั้ยครับ สำหรับต้อยติ่ง เดี๋ยวนี้น่าจะเริ่มลดน้อยถอยลงแล้ว ถ้าใครเคยพิสูจน์สรรพคุณดูแล้ว ได้ผลจริงในแต่ละข้อ คอมเม้นต์แบ่งปันข้อมูลกันได้นะครับ แต่ทางที่ดีก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสมุนไพรที่ได้รับการรับรองก่อนน่าจะดีที่สุดก่อนใช้นะครับผม อิอิ
สุดท้ายแล้ววันนี้ หากถูกใจ ก็ฝากติดตามเพจกันด้วยนะครับ เป็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลงานต่อไปครับผม
ขอบคุณที่มาข้อมูลต่างๆจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี , thaihealth (สสส.),นิตยสารธรรมลีลา, สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย
โฆษณา