Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Krungthai Asset Management
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2021 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ขายของออนไลน์ต้องรู้ วิธีลดหย่อนภาษีให้คุ้ม!
รู้หรือไม่ !? หากเราขายของออนไลน์ จะต้องเสียภาษีด้วยนะ แต่จะเข้าข่ายเงินได้ประเภทไหน ยื่นอย่างไร ต้องเสียเท่าไหร่ และเราจะลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กัน
ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีแบบไหน
ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อนว่ารายได้จากการขายของออนไลน์ ในกรณีบุคคลธรรมดา (ไม่จดทะเบียนนิติบุคคล) ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (😎 เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) จะต้องนำรายได้นั้นมายื่นภาษี 2 รอบ คือ
1.
กลางปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 โดยเป็นการสรุปรายได้ครึ่งปีแรกในช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย.
2.
สิ้นปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 เป็นการสรุปรายได้ในปีในช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. ของปีถัดไป
วิธีคำนวณภาษีขายของออนไลน์
ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่น เรามาคำนวณเงินได้สุทธิก่อน โดยเราสามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี โดย
●
เงินได้ คือ รายได้จากการขายของตลอดปีนั้น ๆ
●
ค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนที่หักจากการสร้างเงินได้ เราสามารถหักได้ 2 วิธี คือ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% ของรายได้ หรือ หักตามจริง โดยต้องแนบบัญชีรายรับรายจ่ายและหลักฐานให้ครบถ้วน
●
ค่าลดหย่อน คือ สิทธิประโยชน์ที่ช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง หรือได้รับเงินภาษีคืนเพิ่มขึ้น เช่น กองทุน SSF RMF
วิธีที่ 2 เงินได้ x 0.5% วิธีนี้ เราจะใช้ต่อเมื่อรายได้ของเราเกิน 1 ล้านบาทต่อปี หลังจากที่เราคำนวณเงินได้สุทธิแล้ว หากวิธีไหนมีเงินได้สุทธิมากกว่า จะเลือกวิธีนั้นมาเทียบกับตารางคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขายของออนไลน์ก็สามารถรับโอกาสสร้างเงินให้งอกเงยพร้อมรับสิทธิลดหย่อนภาษีได้ง่าย ๆ ด้วยกองทุน KT70/30S-SSF และ KT25/75RMF
หากนำรายได้สุทธิไปคำนวณภาษีแล้วพบว่าต้องจ่ายภาษีเพิ่มเป็นจำนวนมาก KTAM ขอแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยให้คุณรับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมๆ กับโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดี นั่นคือ การลงทุนในกองทุน SSF และ RMF
มาทำความรู้จักกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้กันก่อน
1.
กองทุน SSF (Super Saving Fund) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาว และกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุ โดยกองทุน SSF สามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ระยะเวลาลงทุนคือ 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ
2.
ส่วนกองทุน RMF สามารถซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปีและไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาลงทุนคือ ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันลงทุนครั้งแรก และถือจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ กองทุน SSF และ RMF เมื่อรวมจำนวนเงินที่ซื้อกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กอช. ประกันบำนาญ เป็นต้น สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
ในวันนี้ KTAM ขอแนะนำ กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม (ชนิดเพื่อการออม) (KT70/30S-SSF) ซึ่งเป็นกองทุนรวมผสมที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนใน SET และ/หรือ MAI โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 70% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน มีกลยุทธ์แบบ Active Management ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อเอาชนะดัชนี เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะกลาง-ยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป...
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail.aspx?IdF=30
หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) ของกองทุน คลิก
https://www.ktam.co.th/.../Factsheet_th_KT7030S-SSF.pdf
และกองทุนเปิดกรุงไทย คอนเซอเวทีฟ 25/75 เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT25/75RMF) ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เสนอขายทั้งใน และ/หรือต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก และ/หรือตราสารทางการเงินที่บริษัทจัดการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นตราสารแห่งหนี้ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง และลงทุนในตราสารแห่งทุนในประเทศไม่เกินร้อยละ 25 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนรวมไปลงทุน ซึ่งอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หรือลดลงจนต่ำกว่ามูลค่าที่ลงทุนและทำให้ขาดทุนได้ และผู้ที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : KT25/75RMF มีความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน/ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน และ KT70/30S-SSF มีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์/ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน ทั้งนี้ กองทุน KT25/75RMF มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน โดยกองทุนมีนโนบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
คำเตือน : SSF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาวและ RMF เป็นกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
ศึกษารายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่
www.ktam.co.th
บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9 หรือ ธนาคารกรุงไทย และ ผู้สนับสนุนการขาย (ถ้ามี)
#กองทุนสิทธิลดหย่อนภาษี2564 #กองทุนสิทธิลดหย่อนภาษี #กองทุนรวมสิทธิลดหย่อนภาษี #กองทุนรวม #กองทุนไหนดี #กองทุนSSFRMF #กองทุนRMF #กองทุนSSF #กองทุนKTAM #ซื้อกองทุนผ่านบัตรเครดิต #KTAMSMARTTRADE
ร่วมติดตามเนื้อหาการเงิน-การลงทุน ทั้งบทความและวิดีโอดีๆจาก KTAM ได้ที่
ช่องทางโซเชียลมีเดีย
Facebook
https://bit.ly/2C6urxv
Youtube
https://bit.ly/2LYtPyz
Twitter
https://bit.ly/2TzV98V
line
https://lin.ee/hz6k8G6
IG
https://bit.ly/2TuB0RI
Podbeam
http://bit.ly/3fajE78
Spotify
https://spoti.fi/3CKOH5Z
Clubhouse
https://bit.ly/3cRFGNO
Blockdit
https://bit.ly/2W0yzgb
เพิ่มเติมคลิก
https://www.ktam.co.th/ktam-edutainment-detail.aspx
...
ลดหย่อนภาษี
กองทุนสิทธิลดหย่อนภาษี
กองทุนลดหย่อนภาษี
5 บันทึก
5
12
5
5
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย