15 ธ.ค. 2021 เวลา 11:59 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราวชีวิตรักของไอน์สไตน์ที่ไม่ได้สวยงามเหมือนทฤษฎีสัมพันธภาพ
.
แน่นอนว่าใคร ๆ ก็รู้จักไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพที่สวยงามและเปลี่ยนมุมมองของมนุษย์ที่มีต่อจักรวาลและอวกาศใบนี้ไปตลอดกาล นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า “หากไม่มีไอน์สไตน์ในวันนั้น เราอาจจะยังรอการค้นพบทฤษฎีนี้อยู่ในปัจจุบัน” นั่นเป็นคำกล่าวสรรเสริญความอัจฉริยะที่ไม่มีคำใดมาทดแทนได้
ชื่อเสียงของเขาไม่มีใครสงสัย มาพร้อมกับทรงผมที่โดดเด่นราวกับว่าใช้เวลากับฟิสิกส์จนไม่เหลือให้จัดทรงผม แม้แต่ช่วงสุดท้ายของชีวิตบนเตียงในโรงพยาบาล มือของเราก็พยายามขีดเขียน ค้นหา และไขคำตอบในการรวมทฤษฎีสัมพันธภาพและทฤษฎีควอนตัมให้เข้ากันให้ได้(เพราะไอน์สไตน์นั้นเกลียดควอนตัมอย่างที่สุด เนื่องจากมันละเมิดกฎระเบียบทุกอย่างในจักรวาลสัมพันธภาพที่ไม่มีอะไรเร็วไปกว่าแสง)
.
แม้จะทำไม่ได้ ไอน์สไตน์ก็ยังได้รับการสรรเสริญว่าคือบุคคลอัจฉริยะที่สุดในโลก แต่แม้จะเป็นอัจฉริยะมากแค่ไหน เขาก็ยังคงเป็นมนุษย์ผู้ที่มีหัวใจและเช่นเดียวกันเขาก็มีความรักที่ทำให้หัวใจเขาเต้นแรงไม่แพ้ฟิสิกส์
รักแรกที่หวานชื่นและขมขื่น
.
ไอน์สไตน์แต่งงานครั้งแรกกับ มิเลวา มาริค(Mileva Marić) นักฟิสิกส์ชาวเซอร์เบีย พวกเขาทั้งคู๋พบกันที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ไอน์สไตน์จะค้นพบและตีพิมพ์ทฤษฎีสัมพันธภาพ โดยเขากล่าวไว้ในจดหมายของเขาว่า การที่สามารถพูดคุยเรื่องสมการทางคณิตศาสตร์และปัญหาฟิสิกส์กับมิเลวาได้เป็นสิ่งที่ดีมากและเขาชอบตรงจุดนั้น
.
“เมื่อฉันอ่าน Helmholtz(ว่าด้วยเรื่องอุณหพลศาสตร์) เป็นครั้งแรก มันรู้สึกแปลกมากที่คุณไม่ได้อยู่เคียงข้างฉัน และวันนี้ก็ไม่ดีขึ้น ผมพบว่างานที่เราทำร่วมกันนั้นดีมาก รู้สึกได้รับการเยียวยา และง่ายกว่าด้วย” เขาเขียนจนหมายหามิเลวา "... อากาศที่นี่ไม่เหมาะกับฉันเลย และในขณะที่ฉันขาดงาน ฉันพบว่าตัวเองเต็มไปด้วยความคิดที่มืดมน กล่าวคือ ผมคิดถึงการที่มีคุณอยู่ใกล้ๆ คอยช่วยเหลือผม ตรวจสอบและป้องกันไม่ให้ผมหลงทาง”
มิเลวามีส่วนช่วยผลักดันให้ไอน์สไตน์ตีพิมพ์ทฤษฎีเปลี่ยนโลกของเขาจนมันโด่งดังไปทั่วโลก ทั้งคู่แต่งงานในปี 1903 มีลูกด้วยกัน 3 คนคือ Lieserl(ลูกสาว) Hans Albert และ Eduard(ลูกชาย) แม้จะเป็นช่วงชีวิตที่ดีของไอน์สไตน์ แต่เรื่องราวก็กลับตาลปัด
.
เมื่อใจของเริ่มคนถึงคนอื่น โดยมีหลักฐานเป็นจดหมายที่ไอน์สไตน์เขียนถึง Marie Winteler ซึ่งเป็นอดีตแฟนสาวของเขาสมัยหนุ่ม ๆ ว่า “ผมคิดถึงคุณด้วยความรักจากใจจริงทุกนาทีที่ว่าง” นั่นทำให้เขาและมิเลวา ภรรยาคนปัจจุบันต้องห่างเหินกันไป
.
จนปี 1914 ไอน์สไตน์ขอหย่ากับมิเลวา แต่เธอปฎิเสธและพยายามที่จะประคองรักนี้ต่อไป ไอน์สไตน์จึงยื่นข้อเสนอว่ามิเลวาต้องปฏิบัติตามดังนี้คือ ทำความสะอาดบ้าน เสิร์ฟอาหาร 3 มื้อต่อวันในห้องทำงานของเขา อย่าคาดหวังความใกล้ชิดทางร่างกาย และหยุดพูดเมื่อเขาขอให้หยุด
1
ไอน์สไตน์และมิเลวา ภรรยาคนแรกของเขา ภาพจาก : Wikimedia Commons
แม้ว่ามิเลวาจะพยายามทำตามทั้งหมดแต่ท้ายที่สุดมันก็ไปต่อไม่ไหว “เขามีชีวิตอยู่เพื่อวิทยาศาสตร์เท่านั้น คำว่าเรามันไม่สำคัญสำหรับเขาและกลายเป็นที่สอง” มิเลวากล่าวในจดหมาย โดยเธอยอมตกลงหย่าในปี 1919 โดยไอน์สไตน์สัญญาว่าจะมอบเงินทั้งหมดหากเขาได้รับรางวัลโนเบล
.
แน่นอนว่าเขาได้รับรางวัลนี้จริง ๆ ในปี 1921 พร้อมกับเงิน 32,000 ดอลลาร์ในขณะนั้น(485,000 ดอลลาร์ในปัจจุบัน, ราว 16 ล้านบาท) อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่ได้ทำตามที่ตกลงไว้ เขาฝากเงินบัญชีของมิเลวากับลูกเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น ส่วนเหลือเขานำไปลงทุน
.
ในขณที่มิเลวาและลูก ๆ ได้แยกกันอยู่กับไอน์สไตน์ซึ่งเธอใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก อีกทั้ง Eduard ยังป่วยเป็นโรคจิตเภทแและสุดท้ายต้องเสียชีวิตลง
รักครั้งสองที่ดูจะผิด
.
เป็นการแต่งงานกับ เอลซ่า ไอน์สไตน์(Elsa Einstein หรือ Elsa Löwenthal) เธอคือลูกพี่ลูกน้องของไอน์สไตน์เองซึ่งทั้งคู่ได้ติดต่อกันอย่างลับ ๆ ตั้งแต่ปี 1912 ถึง 1914 ซึ่งเป็นเวลาที่ไอน์สไตน์ระหองระแหงกับมิเลวาพอดี แน่นอนว่าเธอก็รู้ จากหลักฐานที่มิเลวาเขียนจดหมายหาเฮเลนเพื่อนของเธอว่า “ด้วยชื่อเสียงทั้งหมดนี้ เขามีเวลาให้ภรรยาน้อย ฉันไม่มีอะไรจะพูดกับชื่อเสียงฉาวโฉ่นี้ คนหนึ่งได้ไข่มุก อีกคนหนึ่งได้เปลือกหอย”
.
พวกเขาทั้งคู่แต่งงานกันหลังจากไอน์สไตน์หย่ากับมิเลวาได้สามเดือนครึ่ง และใช้ชีวิตด้วยกันไปตลอดชีวิต แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหากันอยู่เรื่อยไป จากการที่ไอน์สไตน์ยังคงนอกใจภรรยาของเขาอยู่เรื่อย ๆ และเอลซาก็รู้ตัว
ไอน์สไตน์และเอลซ่า ภรรยาคนที่สองของเขา ภาพจาก : Wikimedia Commons
ไมว่าจะเป็น Betty Neumann เลขาของเขา, Margarete Lebach สาวผมบลอนด์ชาวออสเตรีย, Estella Katzenellenbogen นักธุรกิจหญิงที่ร่ำรวย, Toni Mendel หญิงม่ายชาวยิวผู้มั่งคั่ง และ Ethel Michanowski นักสังคมสงเคราะห์ชาวเบอร์ลิน
.
แม้มีข้อบกพร่องมากมาย เอลซ่าก็ยังคงอยู่กับไอน์สไตน์จนวันสุดท้ายของชีวิตเธอ
.
“If everybody lived a life like mine, there would be no need for novels.”
— Albert Einstein
ไอน์สไตน์ทักทายแฟนๆ งานของเขาที่ New York World's Fair ในปี 1939 ภาพจาก : exhibits.uflib.ufl.edu
อ้างอิง
.
Radmila Milentijević: Mileva Marić Einstein: Life with Albert Einstein, United World Press, 2015.
Dord Krstić: Mileva & Albert Einstein: Their Love and Scientific Collaboration, Didakta, 2004.
Desanka Trbuhović-Gjurić Mileva Marić Einstein: In Albert Einstein’s shadow): in Serbian, 1969, German, 1982, and French, 1991.
Milan Popović: In Albert’s Shadow, the Life and Letters of Mileva Marić, Einstein’s First Wife, The John Hopkins University Press, 2003.
Renn and Schulmann, Albert Einstein / Mileva Marić, The Love Letters, Princeton University Press, 1992.
Peter Michelmore, Einstein, Profile of the Man, Dodd, Mead & Company, 1962.
R.S. Shankland, Conversation with Albert Einstein, Am. J. of Physics, 1962.
โฆษณา