17 ธ.ค. 2021 เวลา 04:11 • ประวัติศาสตร์
ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law)
นิยามคำว่า"สังคมนิยม" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมืองที่มีหลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจนการจำแนกแจกจ่ายและวางระเบียบการบริโภคผลผลิต
ในบทความนี้จะกล่าวถึงคอมมิวนิสต์ด้วยดังนั้นเราก็จะให้คำนิยามของคอมมิวนิสต์
โดยคำว่า"คอมมิวนิสต์" หมายความว่า ลัทธิเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมที่ยึดหลักว่าการรวมกันของบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายเป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด เอกชนจะถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มิได้
กฎหมายสังคมนิยม หรือกฎหมายโซเวียต แล้วเหตุใดจึงเรียกอีกชื่อว่ากฎหมายโซเวียต
แต่เดิมนั้นรัสเซียมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กฎหมายนี้พัฒนาขึ้นในภายหลังจากการปฏิวัติรัสเซีย ปี1917 โดยพวกบอลเชวิค(กลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซียซึ่งนิยมลัทธิมากซ์ กลุ่มนี้นำโดยเลนิน)
เมื่อปี ค.ศ. 1903 กลุ่มบอลเชวิคกลายมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต พวกบอลเชวิคมองเศรษฐกิจในแนวสัมคมนิยมสุดขั้วและเชื่อในความเป็นสากลของชนชั้นกรรมาชีพ
กฎหมายสังคมนิยม หรือกฎหมายโซเวียต มีพื้นฐานมาจากระบบกฎหมายแพ่ง มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจากแนวคิดในเรื่องสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์ เกิดจากแนวคิดหรือทฤษฎีทางเศรษฐกิจของ คาร์ล มาร์กซ์ และเลนิน
คาร์ล มาร์กซ์ และวลาดีมีร์ เลนิน
ทั้งสองเชื่อว่าต้องสร้างผลประโยชน์ส่วนรวมขึ้น โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมาย คือทำให้สังคมเป็นคอมมิวนิสต์โดยที่ทรัพยากรและผลผลิตต่างๆ ตกเป็นของชุมชน และไม่มีสิ่งใดเป็นของเอกชนเลย
ดังนั้นแนวความคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และเลนินก็ให้ถือว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมายสังคมนิยม
แม้ว่าปัจจุบันลัทธิสังคมนิยมจะล่มสลายไปแล้วในรัสเซีย แต่ก็ยังมีหลายประเทศที่ยังคงใช้ระบอบนี้ในการปกครองอยู่ เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
#ก็"เล่า"ปายยย
โฆษณา