16 ธ.ค. 2021 เวลา 13:20 • การศึกษา
🍦 ทำไมถึงเขียน ไอศกรีม ไม่เขียนว่า ไอศครีม
ทั้งๆที่เวลาอ่านจริงๆ ก็อ่านว่า ไอ-สะ-ครีม
จากคำว่า Ice-cream นี่นาา ??
🙋 เหตุเกิดจาก ผู้เขียนเขียนรีวิว Ice-cream ต๊อกชีส
ในโพสที่แล้ว แต่ก็ขัดใจ กับการเขียนว่า ไอศกรีม 😅
เลยเขียนเป็นภาษาพูดว่า ไอติม ซะเลย
พอสงสัย ก็เลยอยากหาที่มา มาฝากกันค่ะ
เพื่อนๆ ชาว BD สงสัยเหมือนผู้เขียนไหมคะ ???
🧐 ต้องบอกว่าเป็นเรื่องสงสัยมาตัั้งแต่เด็กๆแล้วเหมือนกัน
จนปัจจุบันก็ยังไม่ชินกับการเขียน ไอศกรีม..
ก็เหมือนเป็นความเคยชินเนอะ พูดแบบไหน
ก็อยากสะกดแบบนั้น..😅
มาดูกันดีกว่า ว่ามีที่มาอย่างไร ถึงต้องเขียนว่า ไอศกรีม..
  • 📖 จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กล่าวไว้ว่า ..
🍦 ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม)
มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียน
เป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม
🍦 ไอศกรีม เป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม
ตั้งแต่ครั้งที่คนไทยเพิ่งจะรู้จักของกินชนิดนี้ใหม่ ๆ
ในช่วงสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรม
ตะวันตก ที่พระองค์ทรงนำมาเผยแพร่
หลังเสด็จประพาสประเทศอินเดีย ชวา และสิงคโปร์
จึงถือได้ว่าเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ
เป็นคำทับศัพท์ที่เขียนว่า ไอศกรีม ตั้งแต่ยุคสมัยนั้น
😅😅 จากข้อมูลของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
ก็ยังไม่พบที่มาที่แน่นอนของการเขียนคำว่า
ไอศกรีมจริงๆ ทราบเพียงว่า เขียนกันมาช้านาน
ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน..
  • ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องหาคำตอบ กันต่อไปค่ะ ?
  • มาแบบสั้นๆ เป็นโพสที่ไม่มีคำตอบในตัวเองค่ะ 555 😅☺️😛
1
📖 อ้างอิงที่มาและรูปภาพ
โฆษณา