16 ธ.ค. 2021 เวลา 12:06 • ความคิดเห็น
[Pic of the day]ผัวเมียตีกัน แบบไหนไม่เข้าข่าย "พยายามฆ่า".. "กะโหลกยุบ-เบ้าตาแตก-สมองบวม"??
2
เหมือนผมยังค้างคาใจอะไรบางอย่าง เลยหาข้อมูลทางด้านกฎหมายประดับความรู้เผื่อๆ เอาไว้ จากกรณีนี้.....
ย้ำว่าแค่อยาก "หาข้อมูลประดับความรู้"
มองในมุมของกฎหมาย...
กฎหมายอาญาถือเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาพฤติการณ์การกระทำของจำเลยเพื่อกำหนดฐานความผิดจำเลย โดยพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำแนกเจตนาฆ่ากับเจตนาทำร้าย หรืออีกแง่หนึ่งคือ ผู้กระทำประสงค์ต่อความตาย หรือประสงค์เพียงให้ผู้ถูกกระทำเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ถ้าวินิจฉัยว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หากผู้ถูกกระทำตาย ผู้ตายจะมีความผิดตามมาตรา 288 แต่หากผู้ถูกระทำไม่ตาย เช่น หลบทัน หรือรักษาพยาบาลทัน ผู้กระทำก็ผิดฐานพยายามฆ่าตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตรงกันข้าม หากวินิจฉัยว่าผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น แม้ผู้ถูกกระทำตาย ผู้กระทำผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาเท่านั้น ตามมาตรา 290
เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้ ในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้น จึงต้องถือหลักว่า “การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำ” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” นั่นเอง
การใช้ “หลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” เพื่อวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่า หรือเจตนาทำร้ายนั้น ศาลไทยอาศัยข้อพิจารณา คือ
1. พิจารณาจาก “อาวุธ” ที่ใช้กระทำ
2. พิจารณาจาก “อวัยวะ” ที่ถูกกระทำ
3. พิจารณาจาก “ลักษณะของบาดแผล” ที่ถูกกระทำ
4. พิจารณาจาก “พฤติการณ์อื่นๆ”
จากคดีดัง เธอโดนอดีตสามีทำร้ายเจ็บปางตาย กะโหลกส่วนหน้าแตกยุบ เบ้าตาด้านซ้ายแตก ต้องเจาะคอเพื่อช่วยชีวิต สมองบวม ทำให้ต้องเข้ารับการผ่าตัดหลายครั้งและสลบไป 3 เดือน กลายเป็นคนพิการและเสียโฉม ตลอดจนมีอาการสาหัสต้องผ่าตัดทุกเดือน แพทย์เผยว่า โอกาสรอดมีเพียง 1% เท่านั้น
จนต้องวอนผู้ใจบุญช่วยรักษาใบหน้า และต่อมาได้ไปศัลยกรรมใบหน้าที่เกาหลีจนกลับมาดูดีอีกครั้ง แม่จะไม่เหมือนเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์
-“อวัยวะ” ศรีษะใบหน้า จุดตาย?
-“ลักษณะของบาดแผล” เจ็บปางตาย กะโหลกส่วนหน้าแตกยุบ เบ้าตาด้านซ้ายแตก ต้องเจาะคอเพื่อช่วยชีวิต สมองบวม?
-พิจารณาจาก “พฤติการณ์อื่นๆ”
4 ข้อข้างต้น เข้าข่ายแค่ไหน??? เราคงไม่ได้เห็นสภาพผู้ถูกกระทำ (ที่รอดชีวิต) ที่จะนำมาตีความได้ หรือแม้เราจะโดนกระทำเสียเองก็ตาม ?
มองในมุมของธรรมะ..ในที่สุดแล้ว......."ดี-ชั่ว" ไม่ใช่ธรรมชาติ "ดี-ชั่ว" เป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นมา เพื่ออยากหรือไม่อยากได้มัน
กฎแห่งกรรม ใช้ได้กับทางกายภาพเท่านั้น แต่จะมาใช้อธิบายกับความอยากหรือไม่อยากของมนุษย์ไม่ได้
เช่นเดียวกับคำว่า " ความยุติธรรม"
ความยุติธรรม ไม่ใช่ธรรมชาติ แต่มนุษย์อยากให้มันเป็นเช่นนั้น
มนุษย์อยู่เฉยๆแล้ว ธรรมชาติจะทำให้มันเกิดความยุติธรรมไม่ได้ แต่มนุษย์ต้องทำมันให้เกิดความยุติธรรม
🛑👉ทั้งมุมของกฎหมายกับในมุมของธรรมะ เสมือนเป็นโลกคู่ขนาน
cr: ดิณห์ ไอราวัณวัฒน์ (Dinh Airawanwat)
ขอขอบคุณภาพจากทุกสื่อ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา