16 ธ.ค. 2021 เวลา 12:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯพุ่งสูงถึง6.2% จะมีผลกระทบอย่างไร และจะเป็นไฟลามทุ่งหรือไม่ When U.S inflation has risen 6.2%
 
เรียบเรียงโดย : Ezy management by Sipnarong B. SK
กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยว่า ดัชนีผู้บริโภคของสหรัฐ (CPI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.2% ในเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นการเพิ่มขึ้นแบบปีต่อปีมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 1990 หรือ 31 ปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. ทั้งยังเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 5.9%
สินค้าที่ขึ้นราคาสูงสุดอยู่ในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะเดือนที่แล้วเดือนเดียวราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นถึง 6.1% (น้ำมันทั่วโลกปรับตัวอย่างสอดคล้องกัน)
สำนักข่าว AFP ระบุว่าเงินเฟ้อของสหรัฐนิ่งมาหลายปี และกลับมาพุ่งขึ้นในปีนี้หลังจากธุรกิจของสหรัฐกลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังมีการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19 ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นเพราะได้รับแรงกดดันจากความต้องการของผู้บริโภคที่สูงขึ้น บวกกับการขาดแคลนแรงงานของสหรัฐ น้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับคาราขึ้น และปัญหาซัพลายเชนสะดุด
ทั้งนี้เมื่อวีนที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐยืนยันว่า อัตราเงินเฟ้อขาขึ้นของสหรัฐจะคงอยู่จนถึงไม่เกินปีหน้า และย้ำว่า ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed จะไม่ยอมให้ภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาสูงอย่างในช่วงทศวรรษ 1970 เกิดซ้ำรอย
เหตุการณ์นี้ไม่น่าเป็นที่แปลกใจ เพราะโลก(โดยเฉพาะสหรัฐฯ) ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน การกิน การอยู่ การจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ซึ่งเมื่อเกิดสภาะการณ์เช่นนี้ เป็นเรื่องปกติที่ราคาต้นทุนของวัตถุดิบจะปรับตัวสูงขึ้นทำให้ภาคการผลิตก็ต้องปรับตัวตามเพื่อสะท้อนต้นทุน
แต่การที่ภาวะเงินเฟ้อของ สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการในรอบหลายปี จะส่งผลต่อประเทศอื่นๆเป็น โดมิโนเอฟเฟค (Domino Effect) หรือไม่นั้น ณ การรายงานปัจจุบันของ เว็บไซท์ Pew Research Center ได้ทำการเก็บสถิติไว้ว่า ในปัจจุบันยังมีอีกหลายประเทศที่ไม่ได้ประสบภาวะเงินเฟ้อรุนแรง หรือบางประเทศ สถานการณ์กลับดีขึ้นเป็นลำดับด้วยซ้ำ
cr. Pew research center .com
เพราะฉะนั้น อาจจะยังไม่ต้องตื่นตระหนกกับรายงานภาวะเงินเฟ้อดังกล่าวโดยอาจจะมองว่าเป็นลักษณะชั่วคราว และภาวนาให้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED งัดมาตรการเด็ดๆออกมาเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว
ในฐานะผู้บริหารองค์กร ควรมีความเข้าใจภาวะดังกล่าวและเตรียมรับมือหากเกิดปัญหาที่จะกระทบถึงองค์กร เช่น การที่ต้นทุนการส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ อาจจะสูงขึ้น ค่าธรรมเนียมต่างๆ ภาษี หรือแม้แต่ค่าระวางเรือ อาจจะต้องถูกปรับตัวขึ้นเพื่อล้อกับสภาพการณ์ของประเทศที่ได้รับผลกระทบดังที่กล่าวมา
สรุป หลับตานึกภาพว่า ตื่นเช้ามาเงินในกระเป๋าเราหายไป 6.2% หรือคุณจนลง 6.2% อย่างไม่รู้ตัว การใช้จ่ายอย่างเท่าที่จำเป็น การรัดเข็มขัด หรือมาตราการต่างๆที่เอามารับมือการผันผวนทางเศรษฐกิจ ทั้งตัวเราเองและองค์กร อาจเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องเริ่มคิดให้ทันต่อปัญหาที่กำลังจะเจออยู่ข้างหน้า
หากชอบในบทความที่เรานำมาฝาก หรือสามรถนำไปปรับใช้กับองค์กรหรือการศึกษาได้ ฝากช่วยกด ไลค์ กดแชร์ และติดตามได้กันในทุกช่องทาง
Facebook : www.facebook fanpage@Ezy Management
Blockdit : www.Blockdit@Ezy Management https://www.blockdit.com/posts/61ab79f3b4c15a0cace97e59
โฆษณา