17 ธ.ค. 2021 เวลา 14:10 • ข่าว
[Pic of the day] การเซ็นเซอร์ เป็นเหตุเมื่อ "หนุ่ม กรรชัย" สั่งทีมงานเปิดหน้าหมอปลอม ในรายการ สมัครงานคลินิก "พิมรี่พาย"
1
มีหลายกรณีที่ผู้ชมข่าว สงสัยและวิจารณ์กันว่า ทำไมต้อง เบลอหน้า หรือเซ็นเซอร์ ใบหน้า คนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย ถ้าเห็นใบหน้าชัดจะมีประโยชน์กว่ามั้ย ชาวบ้านจะได้ช่วยกันระวัง หรือแจ้งเบาะแสคนร้าย
จากกรณี พิมรี่พาย เข้าแจ้งความกับตำรวจ หลังโดนสาวปลอมใบประกอบวิชาชีพหมอคนอื่น มาสมัครงานคลินิก จนเดือดร้อนคุณหมอตัวจริง ออกมาโวย ไม่รู้เรื่อง ตนอยู่ต่างประเทศ
ล่าสุดคุณ  หนุ่ม กรรชัย ได้อ่านข่าวกรณีดังกล่าว วันนี้ 17 ธันวาคม ในรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ในช่วงหนึ่งทางทีมงานได้นำเสนอภาพของ น.ส.อาลินดา หมอปลอมคนที่เป็นข่าว โดยมีการเซ็นเซอร์ใบหน้าเอา ไว้ จากนั้น คุณ หนุ่ม กรรชัย ในฐานะผู้ประกาศข่าว จึงได้บอกให้ทีมงานเอาภาพจริงที่ไม่เบลอหน้า ออกอากาศ เพื่อประโยชน์ของประชาชน เพราะจะได้ไม่หลงเชื่อไปฉีดกับหมอปลอมคนดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ทำเอาแฟนคลับชื่นชม นี่แหละคนจริง กล้าตัดสินใจ และทำเพื่อคนส่วนรวม
หลังจากนั้นทีมงานเผยภาพที่ไม่เบลอหน้าออกมา
กรณีนี้ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดว่า
“มาตรา 37 ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง”
เงื่อนไขของการเซ็นเซอร์เนื้อหาในวิทยุและโทรทัศน์ส่วนใหญ่ เป็นเงื่อนไขที่ต้องห้ามสำหรับสื่อประเภทอื่นด้วยอยู่แล้ว มีข้อน่าสังเกตคือ เงื่อนไขเกี่ยวกับรายการที่มีเนื้อหาสาระที่มีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง เป็นเงื่อนไขที่มีในกฎหมายฉบับนี้เพียงฉบับเดียว
1
นอกจากการห้ามออกอากาศรายการบางประเภทแล้ว ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังมีบทบัญญัติที่ควบคุมเนื้อหาในกรณีอื่นๆ อยู่อีกบ้าง เช่น การกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบกิจการสื่อต้องจัดผังรายการตามที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา 34) การออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยในกรณีมีภัยพิบัติฉุกเฉิน (มาตรา 36) หรือ การกำหนดมาตรการบางอย่างเพื่อส่งเสริมสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาส (มาตรา 36) เป็นต้น
1
แต่ก็มีบางประการระบุว่าสาเหตุที่ต้องปิดหน้าผู้กระทำผิด/ผู้ต้องหา/จำเลย เวลาสื่อเสนอข่าว ..
-ตามหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ให้สันนิษฐานว่าผู้ที่ถูกกล่าวหานั้น ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด ถือว่าเป็น”ผู้บริสุทธิ์” อยู่
-ตำรวจต้องการประชาสัมพันธ์ผลการปฏิบัติงานของตำรวจ ไม่ได้ต้องการประจานผู้กระทำผิด
-ตำรวจเชื่อว่าผู้กระทำผิดสามารถกลับตัวกับใจเป็นคนดีของสังคมได้
cr : เที่ยงวันทันเหตุการณ์ วันที่ 17 ธันวาคม 2564

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา