17 ธ.ค. 2021 เวลา 22:29 • ไลฟ์สไตล์
• เคยมีโอกาสได้ฟังธรรมะจากพระมหาเถระท่านหนึ่งเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เรื่องของการแก้ไขนิสัยขี้อิจฉา ไม่ได้ตำหนิอะไรกัน เพียงแต่อยากแบ่งปันเท่านั้น เพราะผู้เขียนก็กำลังแก้ไขอยู่เหมือนกัน มีใจความประมาณนี้
6
การอิจฉาก็เป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่ง “ลดละเลิก” กันเหนียวไม่ทำเลยดีกว่า สบายใจชาตินี้และชาติหน้า
• ความรู้สึกอิจฉาคนอื่นที่มีอะไรดีกว่า มากจนกระทั่ง มีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ดูถูกตนเอง และมากไปกว่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่ความริษยาที่อยากให้ผู้อื่นย่อยยับได้
5
• นิสัยอิจฉาริษยานี้ เกิดจากการทำคุณงามความดีในตัวน้อยกว่าคนอื่น แต่อยากจะให้ได้ดีเท่ากับเขา หรืออยากจะให้ดียิ่งกว่าเขา (ทำน้อยอยากได้มาก) แก้ไขตัวเองด้วยการทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป
5
• อาการคนที่มีนิสัยชอบอิจฉาริษยา จะเป็นคนที่มีใจเศร้าหมองตลอดวัน คำพูดมีแต่เรื่องร้ายๆ ออกจากปาก ไม่มีคำพูดที่เป็นภาษาดอกไม้
4
• เมื่อหนักเข้า ก็จะแสดงอาการร้ายๆ ออกมา ตั้งแต่กระทบกระแทกแดกดันกัน ทำอะไรโครมคราม หรืออาการหน้านิ่วคิ้วขมวดใส่กัน เป็นต้น
4
• ทางลัดที่สุดคือเข้าไปขอความรู้จากเขาเลย ทำให้เราย่นระยะเวลาในการปรับปรุงฝีมือและเวลา ไม่ต้องไปมีวิบากกรรมกัน
5
• การทำตนให้น่ารัก เป็นที่รักของผู้คนรอบข้าง รู้สึกมีความปลอดภัยทั้งตัวเองและผู้อื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้ 4 ข้อคือ
2
1. หมั่นให้ทาน ในที่นี้หมายถึง มีอะไรก็ปันกันกิน ปันกันใช้ รวมทั้งปันกันดังด้วย
3
2. ปิยวาจา เวลาพูดจากับใครก็พูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ เพราะสิ่งที่ให้กำลังใจคนได้ดีที่สุด
4
3. อัตถจริยา คือ ความรู้ความสามารถ ที่เรามีอยู่ ถ้าเอาไปช่วยใครได้ ก็ช่วยๆ กันไป อย่าไปหวงเลย
4
4. สมานัตตตา คือ ไม่ว่าคบกับใครก็มีแต่ความจริงใจให้เขา ไม่แทงใครข้างหลัง ไม่ว่าร้ายใครลับหลัง มีแต่ความจริงใจ มีแต่ความปลอดภัยให้เขาเสมอ
5
“หนึ่งนาทีกว่า” เห็นว่าดีมีประโยชน์ เลยนำมาฝากกัน:
โฆษณา