18 ธ.ค. 2021 เวลา 02:21 • สุขภาพ
รู้ลึกเรื่องเนื้องอกในสมองและการผ่าตัดผ่านวิดีโอ Pok Mindset
134
เนื้องอกในสมองเป็นโรคที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กๆ วัยรุ่น ไปจนถึงผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเอง แต่อาจมีผู้ป่วยบางรายที่พบว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็น ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมองจะทำให้มีญาติพี่น้องเป็นโรคทุกคน ยังมีสาเหตุอื่นที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงได้ เช่น การเป็นมะเร็งที่ส่วนอื่นของร่างกายซึ่งมีโอกาสกระจายไปที่สมอง
117
ประเภทเนื้องอกในสมอง
โดยทั่วไป เนื้องอกในสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
41
  • 1.
    เนื้องอกของเซลล์ที่อยู่ที่สมองเอง ซึ่งจะแบ่งออกเป็นชนิดที่เป็นเนื้อร้ายกับชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย โดยส่วนใหญ่มักพบชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้ายมากกว่า
  • 2.
    เนื้องอกที่กระจายมาจากส่วนอื่นของร่างกายและลุกลามมาที่สมอง
8
เนื้องอกในสมองที่พบในคุณ Pok Mindset เป็นประเภทใด
73
Pilocytic Astrocytoma (Grade 1) ซึ่งเป็นเนื้องอกที่พบได้มากที่สุดในเด็กลักษณะเป็นก้อนที่มีน้ำและเนื้ออยู่ภายใน ขอบเขตชัดเจนแยกจากเนื้อสมองปกติ ได้ง่าย โตช้า ไม่กลายเป็นมะเร็ง
43
อาการ
อาการของโรคเนื้องอกในสมองมีหลายรูปแบบ แต่อาการที่พบได้เป็นส่วนใหญ่และควรรีบมาพบแพทย์ ได้แก่
อาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยโรคทางสมองประมาณ 60-70% จะมีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว แต่สำหรับโรคเนื้องอกในสมองจะมีอาการเฉพาะเจาะจง เช่น
  • 1.
    อาการปวดศีรษะติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร อาจจะหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และมีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
  • 2.
    อาการปวดศีรษะตอนกลางคืน จนอาจทำให้ต้องตื่นขึ้นมากลางดึก
  • 3.
    อาการอ่อนแรงของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือมีการทำงานของเส้นประสาทบางเส้นอ่อนแรงไป ส่วนใหญ่อาการนี้มักค่อยเป็นค่อยไป และจะมีอาการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลา เช่น แขนอ่อนแรง อาจเริ่มจากอ่อนแรงเล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปก็อ่อนแรงมากขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหน้าเบี้ยวหรือหูไม่ได้ยินได้
  • 4.
    อาการที่เกิดจากมีการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เช่น อาการกระตุก ชัก โดยเฉพาะอาการชักเฉพาะที่ เช่น ชักเฉพาะแขน หรือชักเฉพาะขา หรือมีหน้ากระตุกอย่างเดียว เป็นต้น หรืออาการชักในผู้สูงอายุที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน ก็อาจมีสาเหตุจากเนื้องอกได้เช่นกัน
12
การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง
6
สำหรับการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง นอกเหนือจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจสมองโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะทำให้เห็นภาพในสมอง ช่วยให้แพทย์สามารถบอกชนิดของเนื้องอกหรือคาดการณ์ได้มากขึ้นว่าเนื้องอกนั้นน่าจะเป็นอะไร รวมถึงช่วยวางแผนในการรักษาได้ด้วย
11
เอ็มอาร์ไอ (MRI) ย่อมาจาก Magnetic Resonance Imaging เป็นการตรวจทางการแพทย์ที่ไม่ทําให้เกิดการเจ็บปวด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น ภาพที่ได้จากเครื่องเอ็มอาร์ไอเกิดจากการใช้สนามแม่เหล็กความ
เข้มสูงและคลื่นความถี่วิทยุค่าเฉพาะร่วมกับการคํานวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําให้ได้ภาพของอวัยวะ เนื้อเยื่อ กระดูกและภาพเสมือนของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายโดยไม่ต้องใช้รังสีภาพที่ได้สามารถถ่ายเป็นฟิล์มหรือเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้
2
รายละเอียดของภาพเอ็มอาร์ไอช่วยให้ แพทย์ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายและความจําเพาะเจาะจงของโรคได้มากกว่าภาพจากเอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์
12
ลักษณะของเครื่องเอ็มอาร์ไอ
11
เครื่องเอ็มอาร์ไอทั่วๆ ไปมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยสนามแม่เหล็กลึกประมาณ 1-2 เมตรและมี เตียงที่เลื่อนเข้าออกในอุโมงค์ได้ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างภาพตั้งอยู่นอกห้องเอ็มอาร์ไอ
26
สาเหตุที่ต้องตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ
  • เพื่อดูรายละเอียดของเนื้องอกของส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เพื่อหาความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลัง
  • เพื่อหาความผิดปกติของระบบกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ
  • เพื่อหาความผิดปกติบางอย่างของระบบหัวใจ
  • เพื่อหาว่ามีการอุดตันหรือโป่งพองหรือความผิดปกติอื่นๆ ของระบบเส้นเลือด
  • เพื่อหารอยโรคของตับ เช่น โรคตับแข็ง และโรคของอวัยวะอื่นๆ รวมทั้งท่อนํ้าดี ถุงน้ำดี และท่อน้ำในตับอ่อน
  • เพื่อดูถุงน้ำและเนื้องอกในไตและท่อปัสสาวะ
  • เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดในช่องเชิงกรานของผู้หญิง เช่น เนื้องอก
  • เพื่อตรวจหาเนื้องอกของเต้านม
24
ข้อดีของเอ็มอาร์ไอ
  • เอ็มอาร์ไอเป็นการตรวจที่ไม่มีอันตรายและไม่ใช้รังสีในการสร้างภาพ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถสร้างภาพของระบบประสาทได้อย่างชัดเจนและมีรายละเอียดดี โดยเฉพาะส่วนสมอง คอ และ กระดูกสันหลังทําให้ได้ภาพที่ดีกว่าการตรวจทางรังสีอื่นๆ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถวินิจฉัยรอยโรคที่เกิดในตับได้ดีกว่าการตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถวินิจฉัยรอยโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับมะเร็ง หัวใจ โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด กระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถสร้างภาพเส้นเลือดได้โดยไม่ต้องฉีดสี
  • ยา(สี)ที่ใช้ในเอ็มอาร์ไอมีโอกาสแพ้น้อยกว่าที่ใช้ กับทางเอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan หรือ CT Scan)
  • เอ็มอาร์ไอสามารถทําเทคนิคพิเศษเพื่อตรวจดูข้อมูลของสารเคมีบางชนิดใด
6
การรักษาเนื้องอกในสมอง
1
ในปัจจุบันแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ 3 วิธีใหญ่ๆ คือ การผ่าตัด การฉายรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกแนวทางการรักษาโดยพิจารณาจากหลายปัจจัย อาทิ อาการของผู้ป่วย ตำแหน่งของเนื้องอก และขนาดของเนื้องอก หากผู้ป่วยมีเนื้องอกที่ไม่ได้ทำให้เกิดอาการและมีขนาดเล็กมาก อยู่ในตำแหน่งของสมองที่ไม่ได้ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของร่างกาย อาจเพียงแค่ติดตามอาการเพื่อดูว่ามีการขยายตัวของเนื้องอกเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงค่อยทำการรักษา แต่ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่พอสมควรและทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนแรงหรือปวดศีรษะมาก ก็จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้องอกออกไป ในกรณีที่ผ่าตัดเนื้องอกออกไปแล้ว พบว่าเป็นเนื้อร้ายก็อาจต้องทำการฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
13
การผ่าตัดสมองด้วยวิธีจุลศัลยกรรม (Microneurosurgery)
30
การผ่าตัดสมองด้วยวิธีจุลศัลยกรรมเป็นการผ่าตัดแบบมีผลต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อย (minimally invasive neurosurgery) โดยการใช้กล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูง (microscope) ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงแบบ 3 มิติ ช่วยขยายให้แพทย์สามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ได้ชัดเจน โดยเฉพาะความผิดปกติที่อยู่ในสมองส่วนที่อยู่ลึก ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ ปลอดภัย และได้ผลการรักษาดีกว่าการผ่าตัดโดยอาศัยตาเปล่า
9
โรคทางสมองที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีจุลศัลยกรรม
หลอดเลือดในสมองโป่งพอง
เนื้องอกในสมองและไขสันหลัง
เลือดออกในเนื้อสมอง
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยในการผ่าตัด
นอกเหนือจากการใช้กล้องผ่าตัดที่มีกำลังขยายสูงแล้ว การผ่าตัดวิธีจุลศัลยกรรมอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์อื่นที่มีประสิทธิภาพร่วมด้วยเพื่อช่วยให้การผ่าตัดสำเร็จได้ด้วยดี เช่น
  • 1.
    เครื่องสลายเนื้อเยื่อด้วยคลื่นเสียง (ultrasonic aspirator) – ใช้ในการสลายและดูดเนื้องอกด้วยคลื่นความถี่สูง ช่วยให้เส้นเลือดไม่ถูกกระทบกระเทือนมาก จึงทำให้ไม่มีเลือดออกมากระหว่างผ่าตัด
  • 2.
    เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท (nerve stimulator) – ใช้ในการหาตำแหน่งของเส้นประสาทที่อยู่ติดกับก้อนเนื้องอก เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ
  • 3.
    การใช้สารเรืองแสง (fluorescent dye) ในเนื้องอกบางชนิด – เพื่อช่วยให้แพทย์เห็นตำแหน่งของเนื้องอกและเส้นเลือดได้ชัดเจน
11
ข้อดีของวิธีจุลศัลยกรรม
4
  • 1.
    กระทบต่อเนื้อเยื่อต่างๆ บริเวณที่ผ่าตัดและบริเวณข้างเคียงน้อย ลดความบอบช้ำของเนื้อเยื่อ ทำให้ลดความเจ็บปวดของแผลหลังการผ่าตัด
  • 2.
    ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยลง
  • 3.
    การผ่าตัดแม่นยำ ปลอดภัย ทำให้เกิดข้อแทรกซ้อนน้อยลง
การผ่าตัดต่อมใต้สมองผ่านโพรงจมูก
การผ่าตัดต่อมใต้สมองผ่านโพรงจมูกและกระดูกสฟีนอยด์ (transsphenoidal surgery) ทำเพื่อเอาเนื้องอกที่เจริญผิดปกติในต่อมใต้สมองออก เนื้องอกที่ต่อมใต้สมองสามารถทำให้ร่างกายมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนซึ่งอาจมีอาการแสดงต่างๆ กัน เนื้องอกอาจโตจนกดทับประสาทสำคัญๆ และหลอดเลือดแดงที่สมองได้ เนื้องอกต่อมใต้สมองส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็งและมักเจริญอยู่ภายในต่อมใต้สมองและเนื้อเยื่อรอบๆ โดยไม่ค่อยแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นเหมือนเนื้องอกที่เป็นมะเร็ง แพทย์มักเลือกรักษาโดยพยายามควบคุมการเติบโตของเนื้องอกและใช้ยาควบคุมระดับฮอร์โมนก่อน หากไม่ได้ผลจึงค่อยใช้วิธีผ่าตัด
14
ประโยชน์ของการทำหัตถการ
เพื่อนำเนื้องอกที่เจริญผิดปกติในต่อมใต้สมองออก
ทางเลือกอื่นในการรักษา
วิธีรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมองขึ้นอยู่กับว่าเป็นเนื้องอกชนิดใด ขนาดใหญ่เพียงใดและเนื้องอกเจริญเข้าไปในสมองมากเพียงใดแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้รอดูว่าเนื้องอกจะโตขึ้นหรือไม่ หรืออาจใช้ยาเพื่อควบคุมฮอร์โมน และ/หรือทำให้เนื้องอกหดลง ผู้ป่วยบางรายอาจต้องฉายแสงโดยบางรายอาจต้องผ่าตัดร่วมกับฉายแสง หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่และไม่สามารถเอาออกได้ด้วยการผ่าตัดทางโพรงจมูกผ่านกระดูกสฟีนอยด์อาจต้องผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะแทน
36
แพ็คเกจการรักษาและราคา
Brain Health Screening (MRI Brain) Package
ศูนย์โรคระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
13
ให้บริการวินิจฉัย รักษา และฟื้นฟู สำหรับความผิดปกติของระบบประสาทอย่างครอบคลุม ตั้งแต่ความผิดปกติของความจำไปจนถึงการผ่าตัดสมอง โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและศัลยแพทย์ระบบประสาท รวมกว่า 50 ท่าน ซึ่งได้ผ่านการศึกษาและอบรมจากสถาบันที่มีชื่อเสียงของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังพร้อมด้วยทีมนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดที่จะช่วยฟื้นฟูและบำบัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทให้สามารถกลับมาควบคุมและเคลื่อนไหวร่างกายได้เหมือนเดิม
1
คุณหมอผู้เชี่ยวชาญที่ให้การดูแลรักษาคุณ Pok Mindset
8
นพ. ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ: https://www.bumrungrad.com/th/doctors/Roekchai-Tulyapronchote
22
รศ.นพ. ยศ นวฤทธิ์โลหะ: https://www.bumrungrad.com/th/doctors/Yot-Navalitloha
22
โฆษณา