3 ม.ค. 2022 เวลา 07:00 • ธุรกิจ
ธุรกิจยุคใหม่ บริหารคนยังไงให้รุ่งในปี 2022 ?
ในปี 2022 เป็นอีกหนึ่งปีที่ท้าทาย “HR” หรือ “ฝ่ายทรัพยากรบุคคล” ที่ต้องทำหน้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม ปรับตัวให้ทันเทรนด์การทำงานที่คนทำงานยุคใหม่ต้องการเพื่อให้สามารถรักษาบุคคลากรที่มีคุณภาพเอาไว้
1
“กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” ชวนส่อง 8 HR Mega Trend ที่จะเป็นตัวช่วยให้ “ผู้บริหาร” และ “HR” มองเห็นภาพรวมในการบริหารคนที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับรูปแบบการ “บริหารคน” ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เข้าใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจยุคใหม่ บริหารคนยังไงให้รุ่งในปี 2022 ?
เทรนด์ที่ 1: จ้างงานคนในมากกว่าใช้คนนอก (Hiring New Talent Internally)
การจ้างงานในปี 2022 จะเน้นไปที่การเติมเต็ม หรือ จ้างงานคนข้างใน มากกว่าการจ้างงานคนนอก โดยสร้างกลไกใน 2 มิติ คือ 1. การสร้าง Internal Talent Marketplace การอัพสกิลรีสกิลในหมู่พนักงานและ Talent อย่างต่อเนื่อง 2. ฝั่งผู้บริหาร ต้องมองเรื่องการสร้าง Internal Recruitment ซึ่ง HR พร้อมออกแบบการเติบโตของอาชีพ Career Path ใหม่ๆ ให้ Talent สามารถเติบโตได้ในหลายทิศทาง (Multidirectional) มากขึ้น และให้ความสำคัญกับคนที่เก่งจากการมีทักษะรอบด้าน
1
เทรนด์ที่ 2 : บริหาร 4 GEN แบบไร้รอยต่อ (Building New Management Models for a Multigenerational Workforce)
องค์กรต้องพร้อมสร้างวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ที่ครอบคลุมและรองรับการทำงานของคนอย่างน้อย 4 เจเนเรชัน อย่าง GEN Z, GEN Y, GEN X และ Baby Boomer เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
เทรนด์ที่ 3 : ทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Enabling Hybrid Workplaces)
Workplace จะเปลี่ยนไปเป็น Hybrid Workplace ผสมผสานระหว่าง Virtual ทำงานจากที่ไหนก็ได้บางวัน และการเข้ามาทำงานที่บริษัทแบบ Face-to-Face ในบางวัน ดังนั้น หน้าที่ของ HR คือ หาจุดบาลานซ์ในหลากหลายมิติใหม่ ทั้งเรื่องรูปแบบการทำงาน และการดูแลคนในองค์กร เช่น การ On-Boarding การสื่อสารภายในองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงานการประเมินผลงานพนักงานที่เน้นผลลัพธ์ ตลอดจนการเสริมทักษะผู้บริหารในการบริหารจัดการทีมแบบ Virtual Communication
เทรนด์ที่ 4 : ปรับมุมคิด ต้อนรับ GEN Z (Rethinking Work For Gen Z)
Gen Z ที่กำลังเข้ามาในตลาดงาน และมีการทำงานที่สุดขั้วต่างจาก Gen Y โดยสิ้นเชิง ดังนั้น การใช้คอนเซ็ปต์แบบเดียวกันในการบริหารคนต่างเจนไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ต้องคิดต่างและคิดมุมใหม่ในการทำงานร่วมกับคน Gen Z  เน้นการ Mentor เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่เหล่านี้อยากมาทำงานกับเรา และสร้างผลงานแบบ High Productivity ซึ่งจะนำพาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงและเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน
เทรนด์ที่ 5 : ทำงานกับ Gig workforce ได้ดี (Benefiting from a Growing Gig Economy)
การจ้างงานถาวรเริ่มลดน้อยลง เพราะองค์กรเริ่มให้ความสนใจกับการจ้างคนเป็นงานๆ หรือ การจ้างเป็นรายสัญญา รายโปรเจค ซึ่งหลายองค์กรเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์นี้มากขึ้น และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยนั้นมี Gig workforce เกิดขึ้นเป็นจำนวนหลานแสนคนเลยทีเดียว ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์กรที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้เร็วแบบ Agile จะมีการใช้ Gig Worker มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2022 ดังนั้น HR จะต้องเตรียมตัวในเรื่องของการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานประจำและเหล่า Gig ทั้งหลาย ผ่านนโยบายที่เหมาะสมการดูแลพนักงาน หรือ Talent ทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมไปถึงการพัฒนาทักษะผู้บริหารให้ทำงานสื่อสารกับ Gig workforce ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทรนด์ที่ 6 : สร้างทักษะทางอารมณ์ ทักษะดิจิทัล และทักษะความคิด (Increasing Need for Power Skills: Soft Skills, Digital Skills, Thinking Skills)
.
เรื่องที่สำคัญมากๆ คือ ปีหน้าองค์กรต้องเร่งเพิ่ม “ทักษะทรงพลัง” ใน 3 มิติ ได้แก่ ทักษะทางอารมณ์ ทักษะดิจิทัล และทักษะด้านความคิด ที่ผ่านมา องค์กรยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ เพราะติดกับดักในเรื่อง Soft Skills อย่างเรื่อง Mindset และ Communication เป็นต้น ที่หลายองค์กรยังมองเผินๆเหมือนไม่สำคัญ แต่แท้จริงแล้ว ทักษะเหล่านี้กลับกลายเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กร นอกจากนี้คนในองค์กรต้องมี Digital Savvy เข้าใจการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล และต้องมีการพัฒนาในเรื่องของความคิดที่จะช่วยเรื่องการเติบโตขององค์กรได้เป็นอย่างดี
1
เทรด์ที่ 7: ติดสปีดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้พนักงาน (Planning for Perpetual Reskilling/Upskilling at Speed)
HR ต้องติดสปีดการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร เร่งเติมเสริมศักยภาพของพนักงานผ่านการรีสกิลและอัพสกิลที่เหมาะสม จัดลำดับความสำคัญของทักษะที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร ต้องทำคู่ขนานไปกับแผนการดำเนินงานขององค์กร และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเร่งติดอาวุธทักษะให้กับคนในองค์กร และเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
เทรนด์ที่ 8: สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตร (Increasing Focus on Building Learning Ecosystems)
การมีส่วนร่วมของพนักงานนั้นสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ การสร้างระบบนิเวศในการทำงานใหม่จึงจำเป็นมากในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรให้พนักงานไม่รู้สึกกดดันในการทำงานมากเกินไป
1
ที่มา: SEAC
โฆษณา