Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เที่ยววัด...ตามใจ
•
ติดตาม
19 ธ.ค. 2021 เวลา 12:23 • ประวัติศาสตร์
พระเนื้อผงตุ๊กตาวัดพลับ สังฆราชสุก ไก่เถื่อน
ไม่ได้เป็นผู้สร้าง.........จริงหรือไหม
วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จวัดพลับ หรือที่ในปัจจุบันเรียกกันสั้นๆ ว่าพระวัดพลับ พระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงที่
เก่าแก่ของกทม.
และเชื่อกันว่าสมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อน
ได้สร้างไว้เมื่อคราวที่ยังจำพรรษาอยู่ที่ วัดพลับ หรือวัดราชสิทธารามในปัจจุบัน
พระวัดพลับนั้นมีทั้งพระที่บรรจุกรุ และที่ไม่ได้บรรจุกรุอีกจำนวนหนึ่ง การพบครั้งแรกเมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2485 ได้มีการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ขณะรื้อกำแพงก็ได้มีผู้พบ
พระเครื่องเหล่านี้ ตามแนวกำแพง ประตูพัทธสีมา
และเจดีย์รายต่างๆ ปรากฏว่าเป็นพระเนื้อผง
และพบพระเนื้อชินตะกั่วบ้างเล็กน้อย
พระวัดพลับที่พบมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์เช่น
พระวัดพลับยืน
พระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่
พระวัดพลับพิมพ์พุงป่องใหญ่
พระวัดพลับพิมพ์สมาธิใหญ่
พระวัดพลับพิมพ์สมาธิกลาง
พระวัดพลับพิมพ์เข่ากว้างใหญ่
พระวัดพลับพิมพ์เข่ากว้างเล็ก
พระวัดพลับพิมพ์พุงป่องเล็ก
พระวัดพลับพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
พระวัดพลับปิดตาพิมพ์ใหญ่
พระวัดพลับปิดตาพิมพ์เล็ก
และยังพบเป็นพิมพ์สองหน้าอีกด้วย
"พระวัดพลับประเภทเนื้อผงเป็นพระที่พบเป็นส่วนใหญ่
และมีเนื้อหาคล้ายคลึงกับพระสมเด็จ วัดระฆังฯ มาก "
พระที่พบในครั้งนี้ทางวัดได้เปิดโอกาสให้ประชาชน
เช่าบูชาองค์ละ 2 บาท เพื่อนำเงินมาปฏิสังขรณ์พระอุโบสถดังกล่าว ทางวัดเปิดให้เช่าอยู่ 2-3 ปี
ตอนตักบาตรเทโว จนพระเหลือน้อยแล้ว ทางวัดจึงได้นำ
พระไปบรรจุเข้าไว้ในเจดีย์ตามเดิม และได้ถูกลักเจาะในปีพ.ศ. 2494 พระที่ออกมาภายหลังนี้จะเป็นพิมพ์ตุ๊กตาเล็กเสียเป็นส่วนใหญ่
ต่อมาได้มีการพบพระวัดพลับอีกที่จังหวัดอุทัยธานี ที่วัดโค่ง ปัจจุบันชื่อวัดธรรมโสภิส ตามประวัติกล่าวไว้ว่า
หลวงตาจัน เป็นผู้นำพระมาบรรจุไว้ที่วัดแห่งนี้ ในพระอุโบสถและในพระเจดีย์ และได้มีการพบพระวัดพลับที่
วัดแห่งนี้ถึงสองครั้ง พระที่พบมีทั้งพระเนื้อผงและพระเนื้อตะกั่วเช่นเดียวกับที่พบที่วัดพลับ
แต่พระเนื้อตะกั่วพบจำนวนน้อยมาก
ข้อมูลจาก เที่ยววัดตามใจ
"ใครกันแน่ ผู้สร้าง พระเนื้อผงตุ๊กตาวัดพลับ"
จากการค้นหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระ
พระเนื้อผงตุ๊กตาและพระพิมพ์ที่แปลกไปจากสมเด็จอรหัง
ของสำนักนี้จากเอกสารประวัติวัดระบุตามเอกสาร น.384
ปะขาวจันทร์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาและอุปสมบท
ก่อนที่สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน จะสิ้นพระชนม์นั้น
ได้ทรงกล่าวฝากตาจันทร์ไว้กับ ท่านเจ้าคุณหอไตร หรือ
ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ชิต) ซึ่งทั้งสองท่านเข้าใจ
ทราบด้วยจิต
ต่อมาปะขาวจันทร์ได้ขอพักอยู่ที่ ศาลาการเปรียญ ที่เคยตั้งพระศพสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
และได้ขอขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
กับท่านเจ้าคุณพรหมมุนี (ชิต) ท่านศึกษาอยู่หลายเดือนก็ไม่สามารถที่จะผ่านองค์พระกรรมฐานในห้องพระปีติ 5 ไปได้ เพราะจิตของท่านรุ่มร้อน ท่านเจ้าคุณพรหมมุนี
หรือท่านเจ้าคุณหอไตร จึงให้ ตาจันทร์ ทำพระพิมพ์ ที่เรียกว่า "พิมพ์พระตุ๊กตาใหญ่" เพื่อจะให้จิตท่านจดจ่ออยู่ที่
พระพิมพ์ จิตจะได้เยือกเย็นเป็นสมาธิ ท่านทำอย่างนี้อยู่
ประมาณสองเดือน ก็สามารถผ่านองค์พระปีติ 5 องค์พระยุคล 6 องค์พระสุขสมาธิ 2 ประการ เข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัดออกวัด เข้าสะกด จนจบการเจริญสมาธิเบื้องต้น
ต่อมาปะขาวจันทร์มีศรัทธา ที่จะทำพระพิมพ์ที่เรียกว่า
"พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก"ท่านพิมพ์ถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาคุณสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน กับพระอาจารย์
คือ ท่านเจ้าคุณหอไตร
ต่อมาท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ชิต) ได้บรรพชาอุปสมบทปะขาวจันทร์ เป็นพระภิกษุ พระญาณรักขิต(ฮั่น) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวินัยธรรมกัน เป็นพระอนุสาสนาจารย์
ปะขาวจันทร์อุปสมบทแล้ว ได้ออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ พระวินัยรักขิต (ฮั่น)พระกรรมวาจาจารย์ ให้ท่านยืมบริขารธุดงค์บางอย่าง
เช่นไม้ปักกลด และต่อมา ขรัวตาจันทร์ ก็ได้จารึก
เรื่องราวของท่าน และการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ไว้ในใบลาน จำนวน 1 ผูกยังปรากฏทุกวันนี้
ต่อมาขรัวตาจันทร์ ระลึกถึง มรณะสติอยู่เนื่องๆ
ท่านจึงสร้าง "พระพนมนอน"ดอกบัวขึ้นมา บางทีก็เรียกพระถือดอกบัว กล่าวว่าท่านได้บรรลุมรรคผลองค์หนึ่งของ
วัดพลับ โดยการแนะนำของลูกศิษย์เอกทั้งสาม
ของสมเด็จฯ ช่วยกันกล่อมเกลา ต่อมา
ท่านก็ปลีกวิเวกแล้วก็หายไป ไม่ปรากฏล่องลอย
ข้อสันนิษฐานช่วงเวลาที่ท่านสร้างพระ
ปะขาวมาวัดพลับหลังจากสังฆราชสุกสิ้นพระชนม์
ประมาณปี พศ.2365ดังนั้นช่วงเวลาในการสร้างพระ
ก็น่าจะอยู่ราวช่วงปี พศ.2366-2370
โดยประมาณซึ่งจากหลักฐานจากข้อมูลที่บันทึกก็เชื่อได้ว่า
พระพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก พระพิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ นั้นอาจจะมีพระที่ทันสมัยสมเด็จสังฆราชสุก ไก่เถื่อนสร้างก็เป็นไปได้เพราะ การสร้างพระเครื่องในลักษณะดังกล่าวเพื่อให้ผู้ฝึกกรรมฐานแบบมัชฌิมาไว้ฝึกการกำหนดจิตเพื่อพัฒนาการด้านการฝึกสมาธิขั้นที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุเจาะจงได้ว่าใครเป็นผู้สร้างเพราะเป็นหนึ่งในขั้นตอนการเรียน
สมาธิของสำนักวัดพลับ ส่วนพิมพ์พระพนมนอน
น่าจะยืนยันได้ว่าน่าจะเป็นขรัวตาจันทร์เป็นผู้สร้างไว้
ก่อนจะปลีกวิเวกไปจากวัดพลับในเวลาต่อมา
เครดิตข้อมูล
เอกสารพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถือน)
รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่
www.somdechsuk.com
บทความ คุณแทน ท่าพระจันทร์
ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด
บทความ พลายชุมพล จากเว็ป ไทยรัฐออนไลน์
เผยแพร่ 3 มิ.ย. 2561
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย