20 ธ.ค. 2021 เวลา 03:48 • ครอบครัว & เด็ก
การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างนึงในการให้การปรึกษาครอบครัว
บางครั้งเราต้องฝึกกันบ่อยๆเลยค่ะ เพื่อให้เกิดเป็นทักษะของการสื่อสารที่เหมาะสม
การสื่อสารประกอบไปด้วย 3 ส่วน
1️⃣ผู้ส่งสาร
2️⃣สารที่ต้องการจะสื่อ
3️⃣ผู้รับสาร
จากองค์ประกอบของการสื่อสาร จะเห็นได้ว่า
แม้จะเป็นคำพูดเดียวกัน ก็สามารถมีหลายความหมายได้
หรือคำพูดเดียวกัน แต่มาจากคนละคน ก็มีผลกับความหมายของการสื่อสารได้เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น บางครอบครัวเมื่อต้องการให้เด็กทำหยุดทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เด็กหยุดพฤติกรรมได้ทันทีเมื่อคุณพ่อพูดด้วยน้ำเสียงโทนต่ำจริงจัง มากกว่าคุณแม่ที่พูดตะโกน บ่น บ่อยๆซ้ำๆ
Tone of voice หรือ น้ำเสียง
จึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อเช่นกัน
แอดมินคิดว่า ความน่าสนใจของ Tone of voice คือ ความไหวเร็วของอารมณ์ที่รู้ทันก่อนที่จะส่งสารที่ต้องการจะสื่อออกไป ค่ะ
บ่อยๆ ที่คุณพ่อคุณแม่เอ็ดตวาด ก็จะรู้สึกผิดตามมา แต่ก็ยังอดไม่ได้เกิดเป็นวงจรซ้ำๆ ของความโกรธ —> ความรู้สึกผิด —> ความคับข้องใจของตนเอง —> ความโกรธ
หนังสือวินัยเชิงบวก ของ Jane Nelsen ให้คำแนะนำเรื่องของน้ำเสียงไว้ว่า
1. เมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่อารมณ์แย่หรืออารมณ์ไม่ดี ให้คิดว่า “เรารักลูกมากแค่ไหนกันนะ”
2. ให้เวลากับตัวเอง หลีกเลี่ยงก่อนถ้าจำเป็น จนกว่าจะมั่นใจว่า กำลังจะพูดออกไปด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน
3. เมื่อได้สติทันว่า กำลังใช้น้ำเสียง ที่ไม่เคารพซึ่งกันและกัน ให้เอ่ย “คำขอโทษ”
4. ให้อภัยตัวเองซ้ำๆ (เป็นกำลังใจให้ตนเอง ที่กำลังจะพยายามทำในสิ่งที่ตนเองไม่คุ้นชิน)
เด็กๆจะทำสิ่งที่เหมาะสม ถ้าเค้ามั่นใจว่าตนเองมีโอกาสจะทำในสิ่งที่ดีๆต่อไปได้
ผู้ใหญ่ก็เช่นกันค่ะ 🙂
โฆษณา