Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดาราศาสตร์หลังบ้าน
•
ติดตาม
26 ธ.ค. 2021 เวลา 02:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หมายเหตุ: เนื้อหาในบทความต่อไปนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ หากเนื้อหาส่วนใดในบทความกระทบต่อความรู้สึกของบุคคลใด ทางเพจ ดาราศาสตร์หลังบ้าน ต้อง ขออภัยด้วยครับ
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หรือ วันนี้ เมื่อ 17 ปี ที่แล้ว...
1 วันให้หลังจากเทศกาลแห่งความสุข หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อ "เทศกาลวันคริสต์มาส"
ในช่วงเวลานี้เป็นช่วง ไฮซีซั่น ที่ผู้คนมากมายทั่วทุกมุมโลกต่างให้เวลาพักผ่อนกับตัวเองหลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการทำงานมาตลอดทั้งปี
โดยประเทศในแถบเอเชียก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกยอดฮิต ที่เหล่านักท่องเที่ยวเลือกที่จะมาใช้เวลาพักผ่อนกัน
แน่นอนว่าประเทศไทยเราก็รั้งอันดับต้นๆ ในตัวเลือกเหล่านั้น
1
ผู้คนมากมายต่างกำลังเพลิดเพลินกับช่วงเวลาแห่งความสุขของพวกเขาเอง
1
โดยที่ไม่อาจจินตนาการได้เลยว่าช่วงเวลานี้ กำลังจะเปลี่ยนไปแบบชนิดจากหน้ามือเป็นหลังมือ
จุดเริ่มต้นแห่งหายนะ เริ่มขึ้นเมื่อ เวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย
ลึกลงไป 30 กม. ใน มหาสมุทรอินเดีย ที่บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 9.1 ถึง 9.3 ตามมาตราโมเมนต์
ประชาชนในประเทศอินโดนิเซียต่างล้มลงบนพื้นถนนเนื่องมาจากแรงสั่นไหวที่รุนแรงของแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวในครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มี ความรุนแรงเป็นอันดับ 3 ของโลก และ มีคาบเวลาที่ยาวนานที่สุดในโลก
โดยคาบเวลายาวนานถึง 8 - 10 นาที
และ ได้ก่อให้เกิดบางสิ่งที่ทำให้คนไทยเรารู้จักกับมัน นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา "สึนามิ"
ภาพวาดของศิลปินที่กล่าวถึงสึนามิเมื่อ ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004)
คำว่า "สึนามิ" (Tsunami) เกิดมาจากรากศัพท์ดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า คลื่นท่าเรือ โดยเป็นการรวมกันของคำ 2 คำ
ที่มาจากคำว่า 津 (สึ) ที่แปลว่าคลื่น กับ 波 (นามิ) ที่แปลว่า ท่าเรือ
จึงออกมาเป็นคำว่า 津波 (สึนามิ) โดยสันนิษฐานว่าตั้งตามพฤติกรรมของตัวคลื่นเอง ที่จะปรากฏก็ต่อเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่งเท่านั้น
แต่ในปัจจุบันทั่วโลกเข้าใจนิยามของคำๆนี้ ที่หมายถึง คลื่นยักษ์ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์
และ ใช้กันอย่างแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน
ที นี้เรากลับเข้ามาในเหตุการณ์ของวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยผมจะขอโฟกัสผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นหลัก
แผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นจาก "แผ่นเปลือกโลกอินเดีย" มุดตัวลงไปใต้ "แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย"
โดยกระบวนการนี้จะใช้เวลาหลายร้อยปี ที่ แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย จะเกิดความตึงเครียด และ สะสมพลังงานเอาไว้ จนในที่สุดก็ไม่สามารถทนได้
แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย จึงเกิดการดีดตัวกลับขึ้นมาเป็นแนวยาวโดยไล่จากทิศใต้ ขึ้นมา สู่ทิศเหนือ เป็นระยะทาง 1,300 กม.
1
กราฟฟิก: แสดงการกระจายตัวออกของเคลื่อนสึนามิตามแนวจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว
การดีดตัวของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในครั้งนี้ ส่งผลให้มีการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาสู่ผิวน้ำ ผลักดันน้ำ และ ยกน้ำสูงขึ้นเหนือกว่าระดับน้ำทะเล
และ กระเพื่อมออกไปสู่ทุกทิศทาง เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 500 - 700 กม./ชม.
และ นี้เอง คือ ต้นกำเนิดของ "สึนามิ" โดย ประเทศแรกที่มันไปเยือนหลังจากแผ่นดินไหวได้เพียง 20 นาที คือ ประเทศอินโดนิเซีย
แผนที่ของ จังหวัดอาเจะฮ์
พื้นที่ๆ ได้รับความเสียหายมากที่สุดของประเทศอินโดนิเซีย คือ จังหวัดอาเจะฮ์ พื้นที่นี้ ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิหลายระลอก และ ลึกเข้าไปในแผ่นดินไกลสุดจากชายฝั่งถึง 5 กม.
โดยระลอกที่ 2 เป็นระลอกที่รุนแรงที่สุด โดยมีความสูงของยอดคลื่นถึง 30 ม.
จากคำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตที่พูดถึงคลื่นระลอกที่ 2 ว่า " มันสูงกว่าต้นมะพร้าวและดูเหมือนภูเขา"
ภาพถ่ายดาวเทียม: แสดงให้เห็นถึงความเสียหายบริเวณ จังหวัดอาเจะฮ์
ภาพถ่าย: แสดงให้เห็นถึงความเสียหายบริเวณ จังหวัดอาเจะฮ์
ในเวลา 09.38 น. หรือ ประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง หลังจากแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิลูกแรกก็เดินทางมาถึง จ. ภูเก็ต ประเทศไทย เป็นที่แรก (จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ห่างจาก จ.ภูเก็ตประมาณ 580 กม.)
ใน จ.ภูเก็ต ต้องเผชิญหน้ากับคลื่นที่มีความสูงเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3 - 6 ม.
หลังจากนั้นในช่วงเวลา 10 นาที ก็มีรายงานมาจากอีก 5 จังหวัดของประเทศไทย ที่มีชายฝั่งติดกับทะเลอันดามัน ว่ามีคลื่นยักษ์เข้าซัดในพื้นที่
โดยมีลักษณะเหตุการณ์คล้ายครึงกัน คือ "น้ำทะเลลดระดับลงจากชายฝั่งอย่างรวดเร็ว" สามารถวัดการลดระดับจากชายฝังได้ไกลถึง 500 - 1,000 ม.
5 - 20 นาที ต่อมา คลื่นสึนามิลูกแรกก็มาถึงและเข้าปะทะกับชายฝั่ง
ภาพถ่าย: เหตุการณ์ การลดระดับของน้ำทะเลบริเวณชายฝังของ หาดกะตะน้อย จ.ภูเก็ต ก่อนที่คลื่นสึนามิจะมาถึง
ภาพถ่าย: ช่วงเวลาที่คลื่นสึนามิเข้าโจมตีบริเวณ หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
ภาพถ่าย: นักท่องเที่ยวกำลังหนีคลื่นสึนามิบริเวณ หาดไร่เลย์ จ.กระบี่
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ ประกอบไปด้วยทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่
1. ตรัง
ผู้เสียชีวิต 5 คน
2. สตูล
ผู้เสียชีวิต 6 คน
3. ระนอง
ผู้เสียชีวิต 160 คน
4. ภูเก็ต
ผู้เสียชีวิต 279 คน
5. กระบี่
ผู้เสียชีวิต 721 คน
6. พังงา
โดย จังหวัดพังงา เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั้งในแง่ของ มูลค่าความเสียหาย และ จำนวนผู้เสียชีวิต
ภาพถ่าย: นักท่องเที่ยวกำลังยืนดูคลื่นสึนามิที่มีลักษณะเป็นกำแพงคลื่นสีขาวที่ขอบฟ้า บริเวณเขาหลัก จ.พังงา
สึนามิ ที่มีความสูงมากที่สุดพบในจังหวัดพังงาโดยมีความสูงมากถึง 10 ม. และ พัดกระหน่ำเข้าไปในแผ่นดินไกลถึง 2 กม. จากชายฝั่ง
และ ระดับน้ำท่วมที่เกิดขึ้นช่วงสึนามิซัดเข้าสู่ชายฝั่งสูง 7 - 8 ม. (ท่วมถึงชั้น 3 ของอาคาร)
ด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตที่สามารถยืนยันได้ 4,244 คน สูญหาย 1,717 คน บาดเจ็บ 5,597 คน
ภาพถ่าย: คลื่นสึนามิ กับ เรือตำรวจ (เรือตำรวจมีความสูง 5 ม.) บริเวณเขาหลัก จ.พังงา
คลื่นสึนามิ หลายระลอกพัดเข้าทำลายชายฝั่งอย่างต่อเนื่องจนในที่สุด เวลา 12.00 น. น้ำทะเลได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ
หลังจากเหตุการณ์สงบลง มันก็ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ สึนามิ ได้ทิ้งไว้ นั้นคือความสูญเสียอย่างมหาศาล
ภาพถ่าย: ความเสียหายบริเวณเขาหลัก จ.พังงา
ภาพถ่าย: เรือตำรวจ 813 ที่ถูกคลื่นสึนามิพัดเข้ามาในแผ่นดินไกลจากชายฝั่งถึง 2 กม.
ภาพถ่ายดาวเทียม: เปรียบเทียบ ก่อน และ หลัง เกิดเหตุการณ์สึนามิ บริเวณ เขาหลัก จ.พังงา
ภัยพิบัติ แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
มีทั้งหมด 14 ประเทศที่ได้รับผลกระทบ
แต่ผมจะยกมาเพียง 5 ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
1. ประเทศอินโดนิเซีย
ผู้เสียชีวิตที่สามารถยืนยันได้ 130,736 / สูญหาย 37,063
2. ประเทศศรีลังกา
ผู้เสียชีวิตที่สามารถยืนยันได้ 35,322 / สูญหาย ?
3. ประเทศอินเดีย
ผู้เสียชีวิตที่สามารถยืนยันได้ 12,405 / สูญหาย 5,640
4.ประเทศไทย
ผู้เสียชีวิตที่สามารถยืนยันได้ 5,395 / สูญหาย 2,817
5.ประเทศโซมาเลีย
ผู้เสียชีวิตที่สามารถยืนยันได้ 78 / สูญหาย ไม่มี
จากการเก็บข้อมูลคาดว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 230,000 - 280,000 คน
ป้ายประกาศตามหาผู้สูญหายในเหตุการณ์สึนามิ
เกร็ดความรู้เล็กน้อย
●
เหตุการณ์น้ำทะเลลดระดับลงก่อน สึนามิ จะมานับว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณทางธรรมชาติที่ชัดเจนที่สุด แต่กรณีนี้จะไม่เกิดขึ้นเสมอไป การที่น้ำจากชายฝั่งจะลดได้จะต้องมีปัจจัยมาจาก ท้องคลื่น ของ คลื่นสึนามิ เข้ามาถึงชายฝั่งก่อน ซึ่งท้องคลื่นจะดูดน้ำไปสร้างเป็นตัวคลื่น อีกกรณีน้ำจากชายฝั่งจะไม่ลดลง สาเหตุมาจากยอดคลื่นเข้าถึงฝั่งก่อนในรูปแบบนี้จะอันตรายมากถ้าเกิดในตอนกลางคืน เพราะคลื่นจะเข้าปะทะ กับชายฝั่งโดยตรง ในขณะที่คนบนฝั่งไม่ทันได้สังเกต
●
คลื่นสึนามิในปี 2547 เดินทางไปไกลถึง ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางถึง 5,500 กิโลเมตร
ขอไว้อาลัยแก่ทุกชีวิตที่สูญเสียไปในวันนี้เมื่อ 17 ปี ก่อน
ด้วยความเคารพ จากเพจ ดาราศาสตร์หลังบ้าน
สึนามิแผ่นดินไหว
สึนามิ
2547
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย