20 ธ.ค. 2021 เวลา 10:27 • หุ้น & เศรษฐกิจ
# อำนาจภาวะเงินเฟ้อ ของสหรัฐอเมริกา ในศักราชหน้า
คนทั้งโลก เริ่มหวั่นวิตกกันอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้บริหารประเทศต่างๆ และนักลงทุนทั้งหลาย ด้วยทางสหรัฐฯ ที่เป็นประเทศผู้นำของโลก ที่ได้เคยออกมาตรการกระตุ้นเศรษกิจด้านการเงิน มาตั้งแต่ ปี 2014 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่เรียกว่า คิวอี ( QE ) โดยก่อนหน้านี้ เดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ปรับลดวงเงิน ไปแล้ว15,000 ล้านดอลล่าร์ ส่วนปีหน้า เริ่ม เดือน ม.ค. 2565 ปรับลดลงอีก 30,000 ล้านดอลล่าร์ ไปสิ้นสุดเดือน มี.ค.2022 จากนั้น ก็จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อีก 2 ครั้ง ในปี 2566-2567
Jerome Powell tanking the stock market
เหตุผลมี 2 อย่าง ข้อแรก คือ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยี ก้าวหน้าไปเร็วมาก ทำให้อุปสงค์ หรือความต้องการของผู้บริโภค มีมากกว่าอุปทาน หรือความสามารถจากผู้ขาย มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีๆ จนทำให้สินค้ามีราคาแพง กลายเป็น ภาวะสะสมเงินเฟ้อ มาตลอด ตัวอย่างเช่น ราคาของรถยนต์ไฟฟ้า เทสล่า ถึงแม้จะแพงหูฉี่ แต่ก็มี หลายคนเกือบทุกประเทศ ที่สั่งจองกันตั้งแต่ต้นปี ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไร จึงนำมาซึ่ง เหตุผลข้อที่ 2 จะเป็นใครไปไม่ได้ นั่นคือ โรคระบาดโควิด นั่นเอง โดย สหรัฐ ยังคงเป็นผู้นำ อีกเช่นเคย ล่าสุด ยอดคนติดเชื้อ 51 ล้านกว่าคน ทิ้งห่างอันดับ 2 คือ อังกฤษ ไปไกลโข คือ 11 ล้านกว่าคน
โดยมีผู้เสียชีวิตของสหรัฐ 8 แสนกว่า ในขณะที่ อังกฤษ กำลังสาหัส พุ่งไปถึง 1 แสนคนแล้ว
Inflation List in the world
ในส่วนของ เงินเฟ้อในสหรัฐ ได้เคยพุ่งขึ้นไปถึง 6.8% สูงสุดในรอบ 40 ปี แต่ขณะนี้ อยู่ที่ 4.3% คาดหวังว่าปี 2565 จะเป็น 2.6 % และปี 2566 วางไว้เป็น 2.3 % ซึ่งพอมาเทียบกับ ญี่ปุ่น หนึ่งในสี่ ประเทศผู้นำที่มีธนาคารกลางอันเข้มแข็ง ที่ติดลบ 0.2% ก็ไม่น่าแปลกใจเพราะคนญี่ปุ่น ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย แต่ส่งออกสินค้าไฮเทคไปทั่วโลก ส่วนไทยเรา อัตราเงินเฟ้อ เป็น 0.9% รักษาระดับนี้แบบขึ้นๆลงๆ มาทุกยุคสมัย
Omicron cause more severe vary location
หันมาดูที่อัตราดอกเบี้ย , ธนาคารกลางสหรัฐ ( เฟด : FED ) ปัจจุบันอยู่ที่ 0-0.2 % กำลังจะปรับขึ้นเป็น 0.9% ภายในสิ้นปี 2565 และจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.6% ในปี 2566 และ 2.1% ในปี 2567 ส่วนอีก 2 ธนาคารใหญ่คือ อังกฤษ อยู่ที่ 0.25% ซึ่งเตรียมจะขึ้นดอกเบี้ย เพราะ โควิดโอมิครอน กับ ธนาคารกลางแห่งยุโรป ยังคงรักษาความสมดุล ได้อย่างคงที่ 0.00 % ด้วยมีประเทศพัฒนาแล้วเกือบทั้งทวีป การจะพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ ส่วนใหญ่ก็สอดคล้องกับระดับความเป็นอยู่ของคนในประเทศ
ในเอเชีย ยักษ์ใหญ่อย่าง ธนาคารแห่งชาติจีน เข็มงวดกว่าเดิม อยู่ที่ 3.85 % และอินเดีย ส่วนใหญ่คนในประเทศยากจน จะอยู่สูงถึง 4.00 % ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคงตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.5 % พอมีพอใช้ตามกำลัง
แหล่งอ้างอิง : สำนักข่าว CNN News
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ https://www.imf.org/en/home
โฆษณา