Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้สรุปมา
•
ติดตาม
20 ธ.ค. 2021 เวลา 21:59 • ธุรกิจ
“จุดเริ่มต้น ความล้มเหลว แรงจูงใจ จุดเปลี่ยน และสิ่งที่ทำให้ THE STANDARD ประสบความสำเร็จ”
============
1. ประวัติของคุณเคน
============
- เป็นนักเล่าเรื่อง (ส่วนที่คนเห็นเยอะ) และผู้บริหาร (กรรมการผู้จัดการ)
- เกิดมาในครอบครัวใหญ่ เรียนเตรียมอุดมศึกษา -> คณะเภสัชศาสตร์ มศว (เรียนตามที่พ่อแม่อยากให้เรียน)
- เจอนิตยสาร a day ตอน ม.ปลาย เป็นนิตยสารที่เปลี่ยนชีวิต อ่านแล้วประทับใจมาก เล่าบุคคลที่คิดต่าง ความคิดสร้างสรรค์ เปิดโลกวัยรุ่นมาก
- จุดเปลี่ยนคือตอนเรียนปี 3 รู้สึกอยากเป็นนักเขียน เลยไปลองสมัครฝึกงานกับ a day ได้เข้าโครงการทำนิตยสารภายใน 3 เดือน เหมือนได้เกิดใหม่ ได้ลองทำงานนิตยสารจริง รู้เลยว่าเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ แต่ยังต้องเรียนเภสัชให้จบ รู้สึกเป็นทุกข์มาก ทำแล้วไม่มีความสุข ไม่อินกับการเรียน ดึกๆ จะชอบแอบอ่านหนังสือนิยาย วรรณกรรมที่ชอบ เป็นช่วงที่ลำบากมาก เพราะต้องทำคู่กันไปทั้งสิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่เป็นความฝัน
- เรียนจบเภสัชแบบเฉียดฉิว แต่ก็ยังกลัว ไม่กล้าออกจาก comfort zone จึงไปสมัครเป็นเซลล์ขายยา ซึ่งรายได้ดี แต่ไม่มีความสุขเลย
- ทำอยู่ 1 ปี 7 เดือน จึงตัดสินใจลาออก สิ่งที่บอกกับตัวเองคือ ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เราจะทำมันไหม ก็รู้สึกว่าไม่อยากทำ คำตอบที่ได้มันชัดมากคือ อยากเขียนหนังสือ เป็นความฝันที่แรงกล้ามาก
- ไปสมัครเรียนต่อด้านการเขียน ไปเรียนคอร์สเจอพี่ท่านหนึ่งมาทัก ถามว่าออกจากเภสัชแล้วเหรอ แล้วพี่เขาไปเล่าให้คุณก้อง ทรงกลด บางยี่ขัน ฟัง (บก. a day ในยุคนั้น) เขาจึงมาชวนไปทำงานด้วย ตอบตกลงทันทีเพราะเป็นงานที่อยากทำมาตลอดชีวิต เรื่องเรียนต่อเลยล้มพับไป
- แรกๆ เขียนเรื่องทั่วไป รับหน้าที่สัมภาษณ์คนที่มีแนวคิดน่าสนใจ คนที่ประสบความสำเร็จ ได้ฝึกทำการเขียนทุกรูปแบบ บทสัมภาษณ์ สกู๊ป บทความ บางครั้งก็ได้ลงสนามจริงด้วย ไม่ได้โดดเด่นด้านไหนเป็นพิเศษ แค่ทำในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- ทำงาน a day อยู่ 2 ปี 11 เดือน มีข้อเสนอมาจากทาง Bangkok Post ชวนไปเป็นบรรณาธิการบทความ ฟังคอนเซ็ปหนังสือและสิ่งที่จะได้เรียนรู้แล้วคิดว่าน่าสนใจ ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันก็ได้ไปเขียนบทความให้หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ โดยเป็นตัวแทนของ a day ไปเขียน ทำสองงานนี้ไปพร้อมๆ กัน ทำอยู่ 2 ปี 10 เดือน ได้เรียนรู้การเป็นหัวหน้าคน
============
2. จุดเริ่มต้นของ THE STANDARD
============
- วันหนึ่ง พี่โหน่ง วงศ์ทนง โทรมาชวนไปทำสื่อออนไลน์ เรารู้สึกว่าสื่อกำลังจะเปลี่ยน กำลังจะถึงยุคที่เจอ distruption ครั้งใหญ่ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะไปทำดีไหม เพราะสื่อตอนนั้นยังไม่เชื่อเรื่องออนไลน์ คิดอยู่ไม่นานก็ตอบรับพี่โหน่ง มาก่อตั้งสำนักพิมพ์ The Momentum ทำประมาณ 6 เดือน เป็นบทบาทที่ใหม่มากทั้งในแง่ออนไลน์ และตำแหน่งจากบรรณธิการบทความเป็นบรรณธิการบริหาร เริ่มเข้าใจความเป็นผู้นำ เข้าใจว่า leadership สำคัญยังไง เริ่มเข้าใจโลกธุรกิจ
- พอครบหกเดือน พี่โหน่งกับพี่ปิงปองตัดสินใจที่จะแยกทางกับผู้ถือหุ้นหลักออกมาทำบริษัทของตัวเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ THE STANDARD
- ในช่วงสองปีแรก ดูข่าวเป็นหลัก ดูเรื่องออนไลน์ social media management พอทำมา พี่บิ๊ก ภูมิชาย บุญสินสุข (ปัจจุบันเป็น Creative Director ของ THE STANDARD) ก็สนใจทำ podcast ซึ่งตอนนั้นเมืองไทยยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก บอกว่า THE STANDARD จะมี podcast ในฐานะที่เคนเป็น บก. ต้องมีรายการเป็นของตัวเองสักรายการ ให้การบ้านไปคิด ก็เลยทำสิ่งที่ชอบคือการถอดรหัสความสำเร็จ เลยเป็นจุดเริ่มต้นของรายการ The Secret Sauce พยายามถอดรหัสความสำเร็จของคน ของธุรกิจ ของแบรนด์ เพื่อให้คนนำไปปรับใช้
============
3. ความล้มเหลวของ THE STANDARD ในช่วงเริ่มต้น
============
*1. เรื่องดราม่า
- เราอาจจะไร้เดียงสาเกินไปในทางการเมือง โดนถล่ม ก่อนเปิดตัว (5 มิถุนายน 2017) ถล่มโดยการตั้งเพจก็อปปี้ใช้ชื่อ Double Standard แสดงให้เห็นว่าสำนักข่าวนี้ไม่มีมาตรฐาน โจมตีคอนเทนต์ของเราทุกคอนเทนต์
- ช่วงแรกมีคนกดไลค์อยู่ 5-6 คนต่อโพสต์ เคยให้น้องไปไลฟ์ มีนักกีฬาคนไทยได้เหรียญทองกลับมา มีคนดูไลฟ์อยู่แค่ 9 คน เหมือนเราไม่สามารถทำธุรกิจอะไรได้ คนจะด่าแบรนด์เราตลอดเวลา เป็นเรื่องแรกที่หนักมากในช่วงเริ่มต้น
*2. เรื่องธุรกิจ
- เดือนที่สองเรามีรายได้เข้าบริษัทประมาณ 50,000 บาท เพราะผลงานเราก็ยังไม่ดี คุณภาพข่าวก็ยังไม่ได้ลงตัวมาก ลูกค้าก็ไม่เข้าใจเรา ออนไลน์ใหม่มาก ถ้าเป็นออนไลน์ก็ต้องมีเรตติ้ง ยอดคนดู ยอด follower เป็นช่วงที่ล้มลุกคลุกคลานหนักที่สุด
============
4. สิ่งที่เป็นแรงจูงใจให้ทำ THE STANDARD ต่อ
============
*1. Vision ที่ใหญ่
- เราอยากเปลี่ยนแปลงสังคมเชิงบวก ไม่ค่อยมีคนที่ทำสำนักข่าวจริงจังแบบ trust + creativity อยากลองทำ และเชื่อว่าทำได้
- เชื่อว่าสื่อมีอิทธิพลต่อสังคมสูงมาก สื่อสามารถเปลี่ยนความคิดคนได้ เหมือนที่เราถูกเปลี่ยนความคิดมาจากนิตยสาร a day เราอยากพิสูจน์ตัวเอง ว่าเราเจตนาดี
*2. ทีมงาน
- ในฐานะผู้นำทีม ไม่อยากให้น้องๆ มาเจอแบบนี้ เราควรจะพาน้องๆ ผ่านมรสุมนี้ไปให้ได้ อยากลองดู ให้ผลงานพิสูจน์ จะมีคนเห็นคุณค่า
============
4. วิธีการบริหารเงินใน THE STANDARD
============
- เชิงรับ: หยุดสิ่งที่คิดว่าไปต่อไม่ได้ เช่น แม็กกาซีน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
- เชิงรุก: เพิ่มคุณภาพของงาน ทำให้โดนมากขึ้น เอาฟีดแบคของคนมาดู อันไหนยอดดี ดีเพราะอะไร ไม่ดีเพราะอะไร
- ทำไปเรื่อยๆ คอนเทนต์เริ่มดีขึ้น กลุ่มคนอ่านเริ่มเจอเรา เริ่มเจอคนที่ใช่ของเรา คนที่อยากพัฒนาตนเอง ผ่านไปเกือบประมาณ 2 ปี ถึงจะเริ่มมีลูกค้าที่เริ่มเข้าใจเข้ามาหา
============
5. โปรดักคือสิ่งที่สำคัญที่สุด
============
- ต่อให้ธุรกิจโมเดลดีแค่ไหน ถ้าโปรดักไม่ดี ก็ไม่มีลูกค้า พัฒนาโปรดักโดยฟีดแบคจากลูกค้า แต่ก็ยังไม่มี product champion จนเราไปเจอสิ่งๆ หนึ่งคือ podcast
- คนส่วนใหญ่รู้จัก THE STANDARD จาก podcast เยอะ เป็นสื่อใหม่ เราเชื่อว่ามันเป็นอนาคต เลยตัดสินใจลงทุนใน podcast อย่างจริงจัง ลูกค้า podcast ผ่านไปปีนึงยังไม่มีสักคน แต่เราเชื่อในสิ่งนี้
- วิธีที่จะดูว่าเรามาถูกทางหรือไม่ คือถ้าคนเริ่มบอกต่อ นั้นแหละแปลว่ามาถูกทางแล้ว แต่ต้องพัฒนาต่อ ห้ามหยุด
============
6. สิ่งที่ทำให้ podcast ของ THE STANDARD ประสบความสำเร็จ
============
*1. ต่างจากสื่ออื่นๆ / ผู้เล่นน้อย
*2. ตอบโจทย์ end point กับคนเมือง
*3. ใหม่มาก สำหรับ marketing
- ทั้งหมดทำให้โปรดักมันดีขึ้น คนรู้จักเรามากขึ้น พิสูจน์ตัวเองได้มากขึ้น เสียงวิจารณ์ลบๆ ในช่วงแรกเริ่มหายไป เพราะผลงานมันดีขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าเริ่มไว้ใจ เริ่มเยอะขึ้นเรื่อยๆ
============
7. จุดเปลี่ยนสำคัญของ THE STANDARD
============
- THE STANDARD DEBATE ตอนการเลือกตั้งปี 62 (เลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 7 ปี)
- รู้ว่านี่คือฤดูกาลเก็บเกี่ยวของเรา ถ้าทำได้ดีจะมีคนรู้จักเราเยอะขึ้นมาก ตั้งใจทำมาก
- คนพูดถึงเยอะมาก ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่งของโลก เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ทำให้อุปสรรคที่เราเคยเจอมา มันเริ่มที่จะคลี่คลายขึ้น ฐานะทางการเงินก็โอเคขึ้น พัฒนาแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
============
8. ปัจจุบันของ THE STANDARD
============
- คนติดตาม: ประมาณ 5 ล้านนิดๆ (เป็น follower ที่อยู่กับเราในทุกๆ วัน)
- พนักงาน: 120 คน
- รายได้: 165 ล้านบาท (ปี 2563)
============
9. คุณสมบัติที่ดีของคุณเคน
============
*1. Super Learner
- ชอบเรียนรู้ มี growth mindset ตลอดเวลา ชอบได้เจออะไรใหม่ๆ มันมีอะไรให้เรียนรู้เสมอ ถ้าเราเปิดโอกาสให้ตัวเอง
*2. Can-Do Attitude
- เป็นคนมองโลกแง่บวก มองทุกสิ่งเป็นไปได้
============
10. ความหมายของเงินสำหรับคุณเคน
============
- ตอนทำงานเป็นนักเขียนหรือเภสัชแรกๆ เป็นคนที่แอนตี้ทุนนิยมมาก คิดว่าเงินเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเบี่ยงเบนเป้าหมายในชีวิต แต่จริงๆ แล้วเราไร้เดียงสา เพราะมีคนหลายคนเขาไม่มีโอกาส มันมีปัญหาโครงสร้าง
- ตอนนี้ เงินคือเครื่องมือ เป็นตัวกลางให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น มีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่มันไม่ใช่ทุกอย่าง
- เลเวลแรกของการทำงาน เรามีเงิน เราต้องการสิ่งที่ไม่เคยมี เช่น รถ บ้าน มีเงินในการใช้จ่ายชีวิตที่ดีให้ครอบครัว มองเงินเป็นแค่นั้น
- เพราะฉะนั้น สิ่งที่อยากได้ก็คือ อิสรภาพทางการเงิน ทำให้ช่วงหลังเริ่มสนใจด้านการลงทุน แต่เราไม่ได้เป็นนักลงทุนจ๋า เรามองเงินเป็นเครื่องมือหนึ่ง มันไม่ใช่ทุกอย่าง ไม่ใช่เป้าหมาย เงินคือระหว่างทาง ถ้าเรามองตรงนี้ออก เราจะรู้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของเราคืออะไร
- เลยพูดตั้งแต่แรกตั้งแต่ทำงานว่า เราอยากทำงานให้ดี งานคือเป้าหมายแรก เงินคือเป้าหมายรอง ค่อยมาถามเรื่องเงินว่าผลตอบแทนมันโอเคไหม ถ้ามันไม่โอเคแต่อันแรกดีกว่า เราก็จะเลือกที่จะทำ
- ถ้าคนมองผิดจุดตั้งแต่เริ่มต้นและคนที่สับสนระหว่างสองสิ่งนี้ คิดว่าน่าเสียดาย คุณอาจจะพลาดอะไรดีๆ ในชีวิตไปเยอะเลย
============
สรุปจาก เคน นครินทร์ นักเล่าเรื่องแถวหน้าของเมืองไทย ที่สร้างรายได้กว่า 100 ล้าน!! | The Exclusive Talk Ep.6 (
https://youtu.be/Xpjtu2rMTc4
)
============
#KenNakarin #THESTANDARD #PaulPattarapon #วันนี้สรุปมา
thestandard
kennakarin
paulpattarapon
9 บันทึก
5
6
9
5
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย