21 ธ.ค. 2021 เวลา 09:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
💵 ปีนี้ควรซื้อลดหย่อนภาษีด้วย SSF/RMF เท่าไหร่ดี
หนึ่งในคำถามที่น่าจะคาใจใคร ๆ หลายคนก็คือถ้าจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF "ควรซื้อลดหย่อน" เท่าไหร่ดี ถึงจะเหมาะสม ก่อนที่จะตอบได้ว่าควรซื้อเท่าไหร่ ต้องรู้ก่อนว่า SSF และ RMF ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่
ซึ่งเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย SSF คือสามารถนำเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของ "เงินได้ที่ต้องเสียภาษี" แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อนับรวมกับ RMF ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนการออมแห่งชาติ กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ห้ามเกิน 500,000 บาท
สำหรับเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีด้วย RMF ก็คือลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30% ของ "เงินได้ที่ต้องเสียภาษี" และเมื่อนับรวมกับ SSF ประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กองทุนการออมแห่งชาติ กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ห้ามเกิน 500,000 บาท
(ที่มา กรมสรรพากร www.rd.go.th)
ขั้นตอนแรกที่จะดูว่าเราควรซื้อเท่าไหร่ ก็คือต้องดูว่า "ซื้อตามเงื่อนไข" เราสามารถซื้อได้อยู่ที่เท่าไหร่
สำหรับใครต้องการดูว่าซื้อ "ได้สิทธิลดหย่อนภาษี" ได้เท่าไหร่ เราต้องรู้ก่อนเลยว่า "รายได้พึงประเมิน" ในปีนั้น ๆ เราจะอยู่ทีประมาณเท่าไหร่ สำหรับใครที่ทำงานประจำที่มีรายได้แน่นอน สม่ำเสมออาจจะคำนวณไม่ยาก แต่ถ้าเป็นฟรีแลนซ์อาจจะต้องประมาณการรายได้ที่น่าจะได้รับ ก็จะรู้ทันทีว่าสามารถซื้อได้ SSF และ RMF ได้เท่าไหร่
ตัวอย่างการคำนวณ เช่น ประเมินแล้วว่าปีนี้น่าจะมีรายได้ 600,000 บาท ก็แปลว่าเราสามารถซื้อ SSF ได้ไม่เกิน 180,000 บาทนั่นเอง แต่ถ้ารายได้ปีนี้อยู่ที่ 1,000,000 บาท ซึ่ง 30% จะเท่ากับ 300,000 บาท ซึ่งเกินเงื่อนไขที่ซื้อได้ไม่เกิน 200,000 บาท ก็จะซื้อ SSF ได้แค่ 200,000 บาทเท่านั้น
ซึ่งต้องบอกว่ายยิ่งได้สิทธิลดหย่อนได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยทำให้เปลี่ยนภาษีเป็นเงินออมได้มากขึ้นเท่านั้น แล้วยังช่วยเพิ่มโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายการเงินในอนาคตได้มากขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากซื้อได้เต็มสิทธิถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
แต่หลังจากที่เราประเมินแล้วว่าปีนี้สามารถได้สิทธิลดหย่อนได้เท่าไหร่ อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องประเมินคู่กันเสมอก็คือเรื่อง "สภาพคล่อง" เพราะต้องห้ามลืมเด็ดขาดว่า การได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF ถือว่าเป็นการลงทุน "ระยะยาว" สำหรับใครที่อายุไม่ถึง 45 ปี ไม่ว่าจะลดหย่อนภาษีด้วย SSF หรือ RMF ต้องถืออย่างน้อย 10 ปีขึ้นไปอย่างแน่นอน
ดังนั้นต้องอย่าลืมประเมินด้วยว่า ถ้าหากเราซื้อเต็มสิทธิตามเงื่อนไขแล้ว สามารถซื้อไหวหรือไม่ ถ้าซื้อเต็มสิทธิแล้วจะกระทบกับ "สภาพคล่อง" ทำให้เงินขาดมือหรือไม่
ซึ่งเรื่องสภาพคล่องถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการได้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มสิทธิ เพราะถ้าหากสภาพคล่องเราขาดมือ แล้วทำให้ต้องขาย SSF หรือ RMF ก่อนครบตามเงื่อนไข เราจะต้องคืนภาษีที่ได้สิทธิลดหย่อนพร้อมค่าปรับด้วย แถมกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุนยังต้องนับมารวมคำนวณภาษีปลายปีด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มอย่างมาก ห้ามลืมคำนวณและประเมินสภาพคล่องให้ดีก่อนลดหย่อนภาษีทุกครั้ง
สำหรับใครที่อยาก "ได้สิทธิลดหย่อนภาษี" พร้อมเก็บเงินเพื่อเกษียณของตัวเอง แต่รับความเสี่ยงได้ไม่มากนัก แนะนำให้เลือกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนแบบผสมที่จะมีการผสมระหว่างการลงทุนทั้ง “หุ้น” และ “ตราสารหนี้” ที่จะช่วยให้นักลงทุนยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เพียงอย่างเดียว แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการลงทุนหุ้นเพียงอย่างเดียว
🔷"กองทุนเปิดกรุงไทย คอนเซอเวทีฟ 25/75 เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ กองทุน KT25/75RMF"
✔️ซึ่งจะเป็น RMF แบบ "กองทุนรวมผสม" ที่ผสมสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยไม่เกิน 25% ส่วนที่เหลือ 75% เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ เช่นเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ รวมถึงตราสารหนี้ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ไม่สูง และก็ต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากธนาคารทั่วไป
ซึ่งกองทุน KT25/75RMF มีความเสี่ยงกองทุนระดับ 5 ถือว่าเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง แต่มีจุดเด่นเรื่องความผันผวนที่ต่ำจากสัดส่วนตราสารหนี้กว่า 75%
สำหรับใครสนใจข้อมูลกองทุน KT25/75RMF เพิ่มเติม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail.aspx?IdF=14
รายละเอียดผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน คลิก https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail-performance...
🔷สำหรับกองทุน SSF แนะนำ “กองทุนเปิดกรุงไทย 70/30 เพื่อการออม (ชนิดเพื่อการออม) หรือ กองทุน KT70/30S-SSF ซึ่งเป็นกองทุน SSF แบบผสมเช่นเดียวกัน โดยนโยบายการลงทุนต้องลงทุนในหุ้นไทยอย่างน้อย 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และส่วนที่เหลือจะกระจายการลงทุนไปยังเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี ซึ่งมีทีมงานบริหารเดียวกับกองทุน KTLF70/30
สำหรับใครสนใจข้อมูลกองทุน KT70/30S-SSF เพิ่มเติม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail.aspx?IdF=30
รายละเอียดผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน คลิก https://www.ktam.co.th/rmf-ltf-fund-detail-performance...
✔️โปรโมชั่นกองทุน SSF/RMF คลิก https://www.ktam.co.th/.../tb_promotion_895_1637232300...
✔️นอกจากนี้ยังสามารถซื้อกองทุนทั้ง SSF และ RMF ผ่านบัตรเครดิต KTC หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุกๆ 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
อ่านบทความบนเว็บไซต์ คลิก https://bit.ly/SSFRMFMB3
ศึกษารายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk), ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Risk), ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ (Liquidity Risk) เป็นต้น
ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน นโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุน SSF/RMF และผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในหนังสือชี้ชวนหรือให้ขอข้อมูลจากบุคคลที่ขายหน่วยลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ลงทุนอาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
#กองทุนลดหย่อนภาษี2564 #กองทุนลดหย่อนภาษี #กองทุนรวมลดหย่อนภาษี #กองทุนรวม #กองทุนไหนดี #กองทุนSSFRMF #กองทุนRMF #กองทุนSSF #กองทุนKTAM #ซื้อกองทุนผ่านบัตรเครดิต #KTAMSMARTTRADE
โฆษณา