22 ธ.ค. 2021 เวลา 08:30 • สัตว์เลี้ยง
บรรพบุรุษของ “เจ้าเหมียว” เกิดมาบนโลก
กว่า 50 ล้านปีแล้ว … จริงหรือ ?!!?
นักชีววิทยาค้นพบว่า บรรพบุรุษของแมวถือกำเนิดขึ้นบนโลกกว่า 50 ล้านปีมาแล้ว
“แมว” เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และกินเนื้อเป็นอาหาร เรียกว่า “Miacis” และวิวัฒนาการขึ้นมาจนมีลักษณะคล้ายแมวเมื่อ 10 ล้านปีก่อน มีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับแมวป่าที่มีเขี้ยวขนาดใหญ่ เรียกว่า “Dinistis”
Miacis
แมวมีชื่อในภาษาลาตินว่า “Felis Catus” เป็นสัตว์เก่าแก่ดึกดำบรรพ์ มีอยู่ในทุกทวีปทั่วโลก รูปร่างลักษณะ และโครงสร้างคล้ายคลึงกัน แต่ขนาด และความยาวของขนแตกต่างกัน
ชาวตะวันตกเชื่อว่าแต่เดิมแมวเป็นสัตว์ในแอฟริกา ชาวอียิปต์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน แมวจึงอยู่กับคนเรื่อยมา จนในที่สุดเผ่าพันธุ์ของมันก็กระจายไปทุกหนแห่งทั่วโลก
แมวสายพันธุ์ “อบิสซีเนีย”
แมวพันธุ์แรกคือ “อบิสซีเนีย” ขายาว หน้าแหลมยาว ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะออกไปต่างๆ นานาตามหลักทางชีววิทยา แต่แมวที่ยังคงลักษณะรูปเดิม คือมีรูปร่างเพรียว หน้าแหลม ตาคม สัญนิษฐานว่าเหลือเพียง 3 สายพันธุ์ในโลก คือ “แมวอบิสซิเนียน” “แมวอียิปต์” และ “แมวไทย” แมวทั้ง 3 สายพันธุ์นี้หน้าตาไม่ต่างกันมากนัก สองชนิดแรกสัญนิษฐานว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้ว คงเหลือแต่ “แมวไทย” ที่นับเป็นพันธุ์เก่าแก่ที่สุดในโลกพันธุ์เดียว บรรพบุรุษของแมวไทยน่าจะเป็นแมวอียิป์ เพราะมีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมาก อียิปต์จะเรียกแมวว่า “เมียว”
แมว “คาราคัล” สายพันธุ์อียิปต์โบราณ
แมวมายังแถบตะวันออกได้โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ในสมัยโบราณมีเรือสินค้าจากอียิปต์มาค้าขายยังแถบตะวันออก อาจจะมีกะลาสีเรือเอาแมวใส่เรือไว้เพื่อช่วยจับหนู แมวอียิปต์จึงเผยแพร่มาถึงทางตะวันออกด้วยเหตุนี้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถยืนยันในสมมติฐานข้อนี้
 
ในยุคอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 กว่าปีก่อน พวกชาวนาได้นำแมวป่า (แมวพื้นเมืองของอียิปต์) มาฝึกให้เชื่องเพื่อใช้จับหนูในโรงนา และเมื่อหนูในโรงนาหมดไป ทำให้ผลิตผลและพืชพันธุ์มีความเสียหายน้อยลง ประชาชนมีอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และไม่มีโรคภัยที่เกิดจากหนู ชาวอียิปต์จึงนับถือแมวเป็นสัตว์เทพเจ้า ชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้า “Bastet” (เทวีบัสเตต) ซึ่งมี “ตัวเป็นคน หัวเป็นแมว” เป็นเทพเจ้าแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์
เทพแมว Bastet
นอกจากชาวอียิปต์จะใช้แมวจับหนูในโรงนาแล้ว ยังใช้แมวจับหนูบนเรือสินค้าด้วย จึงเชื่อว่าเมื่อเรือเทียบท่า แมวลงจากเรือแต่ไม่ได้กลับขึ้นเรือ จึงทำให้แมวขยายพันธุ์ไปทั่วโลก
มัมมี่แมว
ชาวอียิปต์โบราณนับถือแมวมาก หากแมวในบ้านตาย จะนำไปทำมัมมี่ (มัมมี่คน จะทำเฉพาะราชวงศ์และขุนนางเท่านั้น) มัมมี่แมวสามารถหาดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ
แมวเป็นสัตว์เทพเจ้าของอียิปต์โบราณ จึงมีกฎ “ห้ามฆ่าแมว” ใครทำจะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก
พวกที่ต้องการยึดครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ จึงใช้ยุทธวิธีชั่วร้ายโดยการ “อุ้มแมวไปรบ” (แต่อียิปต์ก็ไม่ได้ล่มสลายเพราะแมว) ชาวอียิปต์ในสมัยนั้นนับถือบูชาแมวมากขนาดที่ชาวโรมันบางคนฆ่าแมว ยังต้องถูกนำมาลงโทษ (สมัยนั้นโรมันปกครองอียิปต์)
ต่อมาในยุคกลาง ชาวยุโรปมีความเชื่อเรื่องแม่มด และความชั่วร้ายต่างๆ ชาวยุโรปในยุคนี้กล่าวหาว่า “แมวเป็นสัตว์เลี้ยงของแม่มด” (โดยเฉพาะแมวดำ) ดังนั้นใครเลี้ยงแมว จะถูกประนามว่าเป็นแม่มดร้าย ยิ่งเป็นคนแก่ยิ่งแล้วใหญ่ พวกนี้มักจะโดนเผาทั้งเป็น ทั้งคนและแมว ดังนั้นเมื่อแมวน้อยลง จึงทำให้มีหนูมากขึ้น ทำให้กาฬโรคระบาดหนักในยุโรปช่วงนั้น
 
ในยุคใกล้ๆ กัน แถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นกับจีน เริ่มเลี้ยงแมวกันมากขึ้น จากเดิมที่เคยเลี้ยงอยู่แล้วชาวญี่ปุ่นใช้แมวเป็นสัญลักษณ์นำโชค จะเห็นได้จาก “แมวกวัก” ที่ใช้กันในร้านค้า ใช้กวักเรียกลูกค้าหรือกวักเงิน และชาวจีนก็เชื่อว่า “แมวเป็นสัตว์นำโชค” เพราะว่าแมวจะเข้ามาอยู่ในบ้านก็ต่อเมื่อมันพอใจที่จะอยู่เท่านั้น เมื่อมันเข้ามาอยู่แล้วเจ้าของบ้านก็มักจะมีโชคลาภ
แมวสายพันธุ์ “ไทย”
ในประเทศไทย มีการเลี้ยงแมวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย “แมวไทยคู่แรก” ได้ออกสู่สายตาชาวโลกเมื่อปี พ.ศ.2427 เป็น “แมววิเชียรมาศแต้มสีครั่ง” โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงพระราชทานให้กับกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพมหานคร ขณะนั้นคือ Mr.Owen Gould และได้นำไปให้น้องสาวที่อังกฤษอีกทอดหนึ่ง
หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ.2428 แมวไทยคู่นี้ได้เข้าประกวดที่ประเทศอังกฤษ ในงาน “The Crystal Palace” และได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดอีกด้วย
การประกวดครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวอังกฤษนิยมหันมาเลี้ยงแมวไทยกันมากขึ้น จนได้จัดตั้ง “The Siamese Cat Clubs” ในปี พ.ศ.2443 และ “The Siamese Cat Society of the Brithish Empire” ในปี พ.ศ.2471
จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้แมวไทยคู่นี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าแมวไทยสามารถทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักแก่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก จึงได้พระราชทานแมวไทยให้กับหลายๆ ประเทศ จนแมวไทยและประเทศไทยกลายเป็นที่รู้จักมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
แมวสายพันธุ์ “ไทย”
การแบ่งสายพันธุ์ “น้องเหมียว” ดูจากอะไร?
ต้นตระกูลของแมวบ้านจริงๆ นั้น แยกออกมาจากตระกูลของ “เสือไซบีเรียน” และ “แมวพื้นเมือง” ในปัจจุบันสายพันธุ์แมวถูกรวบรวมไว้ถึง 36 ตระกูล 51 ชนิด (รวมทั้งสิงโตและเสือด้วย)
โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ “แมวขนยาว” (Longhaired cat) และ “แมวขนสั้น” (Shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่างๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
“ส้มจี๊ด” แมวบ้าน : กัดเก่ง ข่วนเก่ง (~ไม่มีอะไรจะโม้~แค่อยากออกสื่อ~^^)
แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมวพวกเสือหรือสิงโต “แมวเลี้ยง” หรือที่เราเรียกว่า “Domestic cat” นั้น มีวิวัฒนาการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก
ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่มันถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ.1871 ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก
ขอบคุณ ที่อ่านจนจบนะคะ ^^
ตอนหน้า… มาทำความรู้จัก “ระบบร่างกายของเจ้าเหมียว” กัน
ข้อมูลจาก
โฆษณา