Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอแมวหมอหมา มาบอกเล่า
•
ติดตาม
23 ธ.ค. 2021 เวลา 09:18 • สัตว์เลี้ยง
วิธีเลือกยากำจัดเห็บหมัดที่เหมาะสมและปลอดภัย?
เลือกตัวไหนดีน๊าา?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัญหาเห็บหมัดในสุนัขแมว เป็นปัญหาโลกแตกที่มีให้พบเจอกันอยู่ทุกวัน ซึ่งมีความพยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้กันอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพบว่าหลายบริษัทได้ทำผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดออกมาจำนวนมาก และมีให้เลือกหลากหลาย ทำให้เจ้าของหลายคนเกิดความสับสนได้ว่า เอ๊ะ! แล้วจะเลือกใช้แบบไหนดี?
1
วันนี้หมอมีแนวทางการเลือกใช้ยาป้องกันเห็บหมัดฉบับเข้าใจง่าย มาแนะนำก่อนอื่นเรามาดูความสำคัญของการกำจัดเห็บหมัด ปรสิตภายนอกที่ไม่ธรรมดา ที่จะนำพาโรคร้ายมาสู่เด็กๆของเรากันก่อน กับโรคที่เจอได้บ่อย 3 โรค
2
1. โรคโลหิตจาง(anemia) เนื่องจากเห็บหมัดดูดเลือดเป็นอาหาร รู้หรือไม่ว่า หมัด 1ตัว สามารถสามารถดูดเลือดจากตัวสัตว์ได้หลายสิบเท่าเลยทีเดียว หากน้องหมาน้องแมวใครมีเห็บหมัดจำนวนมาก จะทำให้เสียเลือดมากตามมา ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ น้องก็จะแสดงอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่าย และอาจป่วยด้วยโรคอื่นๆแทรกซ้อนได้ง่ายนั่นเอง
2. ภาวะแพ้น้ำลายหมัด (flea bite allergy) หมอเจอบ่อยมากว่าน้องหมา น้องแมวมาด้วยอาการผิวหนังอักเสบ ขนร่วง โดยเฉพาะขนบริเวณเอวและก้น คันมาก ทั้งเกา ทั้งกัดแทะตัวเอง ซึ่งเกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในน้ำลายหมัด
นั่นเอง ไม่เฉพาะแค่สุนัขแมวที่แพ้ คนเราก็สามารถแพ้ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างคือตัวหมอเอง ที่บ่อยครั้งโดยหมัดกัด ทำให้ต้องทนทรมานกับอาการผื่นแดงคันอยู่นานเป็นสัปดาห์กันเลยทีเดียว
3. โรคพยาธิในเลือด(blood parasite) ถือว่าเป็นโรคยอดฮิตเลยในสุนัขและแมว ที่ทำให้เด็กๆของเรามีอันตรายถึงชีวิตได้ หรืออาจต้องรักษากันยาวๆ มีภาวะอื่นๆแทรกซ้อนมากมายตามมา โดยปกติเห็บจะเป็นพาหะโรคพยาธิในเลือดของสุนัข
และหมัดมักจะเป็นพาหะโรคพยาธิในเลือดของแมว
ขอบคุณภาพจาก https://images.app.goo.gl/c7bX5HT5cMw8A7or7, https://images.app.goo.gl/nxc6Chuy5Vui8qo9A, https://images.app.goo.gl/3sYq7iBpoGiNoavh9,https://images.app.goo.gl/5SkzuDtMkt6WoV6E7
เมื่อเรารู้ว่าเห็บหมัดมีความร้ายกาจเพียงใดแล้ว อาจจะเริ่มอยากกำจัดเห็บหมัดให้สิ้นซากจากตัวลูกๆ และเจ้านายของเราแล้วใช่ไหมคะ
เรามาดูกันต่อว่ายาเห็บหมัดมีกี่แบบ
รูปแบบยาเห็บหมัดแบ่งตามการใช้งาน
1. แบบเฉพาะที่ เช่น ยาอาบน้ำ ตัวยาส่วนมาก เช่น amitraz, pyrethroids เป็นต้น
2. ยาหยดหลังมีหลากหลายยี่ห้อ ทั้งที่ออกฤทธิ์ผ่านระบบไหลเวียนเลือด และการออกฤทธิ์ผ่านผิวหนังตามตัวสัตว์เช่น fipronil, selamextin, moxidectin เป็นต้น
3. แบบยากิน ที่นิยมใช้และมีประสิทธิภาพมากที่สุดตอนนี้คือ ยากลุ่ม isoxazolines ซึ่งมีหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เช่น fluralaner, afoxolaner และ sarolaner เป็นต้น
**ขอเพิ่มเติมนิดนึงในส่วนของยาฉีด ที่ทุกคนรู้จักกันดี และหลายคนเคยใช้เนื่องจากราคาถูก เป็นตัวยา ivermectin ซึ่งเป็นยากำจัดปรสิตภายในและภายนอก โดยทางสัตวแพทย์จะเน้นใช้ในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร หรือใช้โดยการกินในขนาดที่สูงเพื่อรักษาขี้เรื้อนเปียก แต่ต้องบอกก่อนว่า ยานี้ให้ผลกำจัดเห็บหมัดได้น้อยมากๆๆ และหากให้ในขนาดที่สูงเกินไป มักพบว่าสัตว์มีความผิดปกติของระบบประสาทได้ หลายเคสที่หมอพบเจอคือ จะมีอาการเดินเซ ชัก ตาบอดเฉียบพลัน
สรุปว่าในส่วนของหมอ จะไม่แนะนำให้ใช้ยานี้เพื่อการจำกัดหรือควบคุมเห็บหมัดนะคะ**
มาถึงวิธีการเลือกใช้ยากันแล้วนะคะ
มีข้อควรพิจารณาดังนี้ค่ะ
1. การระคายเคือง มักพบในรูปยาหยดหลัง ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์บนตัวสัตว์หรือชนิดเข้าสู่กระแสเลือด ก็สามารถพบผลข้างเคียงคือผิวหนังอักเสบบริเวณที่หยดหลัง หากสุนัขแมวของใครมีประวัติแพ้ยาง่าย หรือเคยใช้หยดหลังบางตัวแล้วขนร่วงบริเวณที่หยด ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้
ขอบคุณภาพจาก https://images.app.goo.gl/tN54H4dVFz5xUs9u8
2. ผลข้างเคียงของยา ยากินในกลุ่ม isoxazolines เป็นยากินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกตัวสามารถกินได้นะ สำหรับสัตว์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการชัก เช่นเคยชัก หรือเป็นโรคลมชัก หรือเป็นไข้หัดสุนัขอยู่ ห้ามใช้รวมถึงสัตว์ที่มีปัญหาโรคตับ/ภาวะตับอักเสบ ต้องระมัดระวังและควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้จึงจะดีที่สุด
1
ขอบคุณภาพจาก https://images.app.goo.gl/EBVNa5oXAahvVMg67
3. อายุสัตว์สัตว์อายุน้อยควรเลือกแบบออกฤทธิ์สั้น เช่น ออกฤทธิ์1เดือน มากกว่าแบบออกฤทธิ์นาน 3เดือน เพราะน้ำหนักน้องยังไม่คงที่ ยังมีอัตราการเติบโตสูง ทำให้ช่วงท้ายของการออกฤทธิ์ของยาอาจมีขนาดยาที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้การควบคุมเห็บหมัดได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรนั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก https://images.app.goo.gl/HmhZGyDN1Vcc4dG98
4. สัตว์ท้อง/ให้นมลูก ยาส่วนมากมักไม่แนะน าให้ใช้ในสัตว์ท้องหรือให้นมลูก แต่หมอเจอบ่อยค่ะที่น้องหมาขณะท้องมีเห็บเยอะ ทำให้เสี่ยงต่อการป่วย ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆก็ให้เลือกตัวที่มีผลการศึกษาว่าปลอดภัยในสัตว์กลุ่มนี้เช่น
fluralaner(bravecto) / selamectin (revolution) เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก https://images.app.goo.gl/72N77RvVTY4pXnRN8
5. สัตว์ที่มีโรคประจำตัว หากมีโรคประจำตัวเป็นโรคลมชัก เป็นโรคตับ ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม isoxazolines เพราะจะกระตุ้นให้ชักมากขึ้น
6. ความสะดวกในการให้ยา หากเป็นสุนัขจรอาจต้องเลือกแบบหยดหลัง เนื่องจากปลอดภัยต่อผู้ให้มากที่สุด หากน้องหมากินยายาก และจะใช้ยากินควรเลือกแบบออกฤทธิ์นาน เพื่อจะได้ออกฤทธิ์ต่อเนื่อง ลดโอกาสการขาดช่วงในการได้รับยาเพราะการป้อนยาไม่ได้
7. ปริมาณเห็บหมัดจำนวนมาก หากน้องมีเห็บหมัดเยอะอาจจะต้องได้ยาหลายอย่างร่วมกัน แต่ต้องเลือกยาที่ออกฤทธิ์คนละที่ เพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ใช้ยากิน isoxazolines ที่ออกฤทธิ์ผ่านการไหลเวียนเลือด ร่วมกับยาหยดหลัง fipronil ที่ออกฤทธิ์ผ่านผิวหนังที่ตัวสัตว์เป็นต้น
ขอบคุณภาพจาก https://images.app.goo.gl/chcRUgqift21sfCZ7
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับการเลือกใช้ยาป้องกันเห็บหมัดที่ใช้กับตัวสัตว์แต่ถ้าให้ดีขึ้นควรมีการจำกัดที่สภาพแวดล้อมร่วมด้วย เนื่องจากวงจรชีวิตของเห็บหมัดนั้นไม่ได้มีอยู่แค่ที่ตัวสัตว์แต่อยู่ที่สภาพแวดล้อมด้วย จะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
หากใครมีข้อสงสัยอยากสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สัตวแพทย์ใกล้บ้าน หรือ inbox มาคุยกับหมอได้ตลอดเวลานะคะ
สุดท้ายนี้ .........ขอให้เด็กๆของทุกคนสุขภาพแข็งแรง ไม่มีเห็บหมัดตามตัวนะคะ (หมอเล็ก)
youtube chanel :
https://bit.ly/3q751cc
facebook page :
https://www.wethidapetclinic.com
บันทึก
1
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เทคแคร์เจ้านายง่ายๆ ผ่านบทความสุขภาพ
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย