23 ธ.ค. 2021 เวลา 17:07 • ปรัชญา
ขอให้คุณเปิดฟังแทนการอ่านนะครับ
ผมจะอธิบายเรื่องราวโดยละเอียดทั้งหมด
การเปิดฟังจะช่วยให้คุณเข้าใจได้ง่าย
มากกว่าการอ่านนะครับ
คนรวยในประเทศนี้มีจำนวนแค่หยิบมือเดียว
ถือครองทรัพย์สินครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเอาไว้
คนจนนั้นเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
แต่กลับจนซะจนไม่รู้จะจนยังไง
ถือครองทรัพย์สินรวมกันได้แค่นิดเดียว
คนจนจึงมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก
คุณภาพชีวิตต่ำต้อย
ต้องแบก รับความเสี่ยงสารพัดรูปแบบการใช้ชีวิต
และขาดโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน
ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ข้อความนี้คือประโยคลวงโลกครับ
มีคนจนมากมายที่ทำงานหนักตั้งแต่เกิดจนตาย
ก็ยังไม่เคยได้จับเงินหมื่น
ถ้ากติกาคือเพียงแค่ไม่หยุดพยายาม
ใครๆก็คงสามารถเอาชนะเกมนี้ได้
ป่านนี้คนรวยคงไม่เดินชนกันทั่วประเทศไปแล้วรึ
ทำไมถึงมีคนรวยแค่หยิบมือเดียว
อะไรคือสิ่งที่ฉุดรั้งคนจนเอาไว้
สิ่งนี้มันคือความเหลื่อมล้ำครับ
คนรวยไม่เคยต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่
ผูกมิตรสร้าง connection กับทายาทธุรกิจต่างๆ
ธนาคารให้สินเชื่อมาตั้งบริษัท
มี connection ที่แข็งแกร่ง
กิจการของคนรวยจึงประสบความสำเร็จ
กลายเป็นคนที่อายุน้อยร้อยล้าน
ภาคภูมิใจในความสำเร็จที่สร้างขึ้นด้วยน้ำมือของตัวเอง
ในขณะที่คนจน เกิดมาในครอบครัวที่ยากจน
หนี้สินรุงรังอดมื้อกินมื้อ
เข้าโรงเรียนชนบท ครูมาสอนบ้างไม่สอนบ้าง
ต้องทำงานหาเลี้ยงไปด้วย
แทบไม่เหลือเวลาไปอ่านหนังสือ
เมื่อจบ มอ6 ก็ต้องออกไปทำงาน
พร้อมกับติดหนี้สารพัด และภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จบไม่สิ้น
เข้าไปหางานทำในกรุงเทพฯ
อาบเหงื่อต่างน้ำ ส่งเงินกลับไปให้ที่บ้าน
เพราะชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ได้มาตรฐาน
ประกอบกับการทำงานหนัก
คนจนจึงล้มป่วย
เงินติดตัวทั้งหมด 0 บาท
ทั้งๆที่ตั้งใจทำงานด้วยความขยันมาตลอด
ชีวิตของคนรวยเต็มไปด้วยโอกาส
ในขณะที่ชีวิตของคนจนเต็มไปด้วยภาระ
ความพยายามของคนรวยมีแต่จะผลิดอกออกผล
ในขณะที่คนจนพยายามจะวิดน้ำออกจากทะเล
ไม่ว่าจะพยายามขนาดไหนก็ไม่มีวันจบสิ้น
คนรวยมีแหล่งทุนที่พร้อมจะใส่พานมาให้
ในขณะที่คนจนไม่มีอะไรเลย
คนรวยล้มป่วยก็ยังมีประกันสุขภาพ
แต่ถ้าคนจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อ
ก็ถือเป็นวันโลกาวินาศของครอบครัวเลย
เพราะไม่มีเงินจะเอามารักษา
ไม่มีคนหารายได้เข้าบ้าน
ความเหลื่อมล้ำนี่ทำให้คุณภาพของคนจน
ออกห่างจากคำว่ารวยขึ้นเรื่อยๆ
และความเหลื่อมล้ำยังสร้างความไม่เข้าใจกันระหว่างทั้งสองฝ่าย
เมื่อคนรวยมองลงมาที่คนจน
เขาจะมองเห็นเพียงแค่คนที่ไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ
ไม่รู้จักวางแผนรับมือกับความเสี่ยง
คนรวยจะไม่มีวันเข้าใจ ว่าทำไมครอบครัวของคนจน ถึงไปเลือกกู้หนี้ยืมสินนอกระบบ
ทั้งๆที่รู้ว่าหนี้นอกระบบมันโหดขนาดไหน
ในขณะที่คนจนก็มองเห็นคนรวย เป็นเพียงแค่ลูกผู้ดีที่โชคเข้าข้าง เกิดมามีทุกอย่าง ไม่ต้องดิ้นรนอะไรมาก ก็ประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ
ถ้าคนจนใช้เงินทองที่หามาอย่างยากลำบาก
ไปกับการผ่อนคลาย เหล้ายาปลาปิ้ง
คนรวยก็มีแนวโน้ม ที่จะตัดสินว่าคนจนเป็นแค่คนโง่ ที่ไม่รู้จักเก็บออม โดยลืมไปว่าคนจนก็เป็นแค่คนๆหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องจักร มีความต้องการแบบมนุษย์ทั่วไป ไม่ต่างอะไรจากตนเอง
ความจนจึงไม่ได้เกิดจากความขี้เกียจ
แต่เป็นส่วนผสมของการขาดแคลนโอกาส
และการฉุดรั้งจากกลไกความเหลื่อมล้ำ
สิ่งนี้มีชื่อเรียกในทางเศรษฐศาสตร์ว่า
กับดักความยากจน
ไม่ว่าประชาชนจะออกแรงดิ้นรนอย่างไร
กลไกความเหลื่อมล้ำก็ไม่อนุญาตให้คุณหลุดพ้นไปจากกับดักนี้ได้
1 ความเหลื่อมล้ำทางการเมือง
ความเหลื่อมล้ำเปิดช่องว่างให้คนที่มีสตางค์
เข้ามามีอิทธิพล ใช้เงินบงการกลไกต่างๆ
ที่มีผลกับการเลือกตั้ง
ความเสมอภาคทางการเมืองจึงถูกทำลาย
เมื่อทุกคนไม่ได้มี1เสียงเท่ากันอีกต่อไป
เมื่อเสียงของนายทุนสำคัญกว่าเสียงของประชาชน รัฐบาลก็ไม่ต้องสน4 สน8
ว่าจะเอาเงินภาษีไปทำอะไร
แทนที่จะพัฒนาสวัสดิการพื้นฐาน
แต่กลับออกกฎหมายเอื้อให้นายทุนแทน
เพื่อรับประกันที่นั่งในสภาสมัยหน้า
แต่ถ้าอะไรๆมันไม่ได้ดั่งใจ
ก็ยังสามารถสั่งทำรัฐประหาร
เพื่อเคลียร์ทุกอย่างทิ้งได้
2 ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
ยิ่งคนรวยมีอิทธิพลทางกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ
ก็ยิ่งสามารถใช้การเมืองบงการชีวิตคนจนได้อย่างง่ายดาย ตลาดที่ผูกขาด สร้างสภาวะที่คนจนไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้
ยิ่งคนจนมีอำนาจทางการเมืองน้อยลง
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจก็ยิ่งทวีความรุนแรง
เกิดวงจรอุบาทว์ที่ทำให้คนรวยก็ยิ่งรวย คนจนก็ยิ่งจน และคนจนกลับเป็นคนที่ต้องจ่ายแพงที่สุด
เพราะคนรวยสามารถมีเงินเหมาซื้อของทีละเยอะๆได้ในราคาที่ถูกกว่า คนจนที่ได้รับเงินค่าแรงรายวัน มีปัญญาซื้อของได้ทีละชิ้น
ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในระดับครัวเรือน
แต่มันเกิดขึ้นในระดับอุตสาหกรรม
กิจการขนาดใหญ่ใช้การกินรวบผูกขาด
บีบให้ธุรกิจเล็กๆอยู่ไม่ได้ เเละการใช้อำนาจทางการเมืองผ่านกฎหมายจำกัดขนาดของผู้ประกอบการ ที่ทำให้การแข่งขันไม่เกิดขึ้น
ตลาดโดนผูกขาดเพื่อผลประโยชน์ให้กับคนแค่กลุ่มเดียว
2
3 ความเหลื่อมล้ำทางสังคม
เมื่อทรัพยากรส่วนรวมถูกนำไปกระจายใช้งานอย่างไม่เสมอภาค แทนที่จะเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ทรัพยากรดันถูกจัดสรรให้เข้าถึงได้แค่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
โดยอภิสิทธิ์เหล่านั้น สามารถได้มาในรูปแบบของฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย
ตลอดไปจนถึงเส้นสายในการประกอบอาชีพ
เด็กโรงเรียนดังๆ มีครูเก่งๆคอยประกบ
ย่อมมีผลการเรียนดีกว่านักเรียนในชนบท
ยังไม่นับค่าสอนแพงๆที่ตัดสิทธิผู้สมัครจนๆตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มแข่งขัน
อันจะนำไปสู่โอกาสการเติบโตทางอาชีพ
สะท้อนออกมาเป็นรายได้เฉลี่ยตลอดชีวิตที่ห่างไกลกันหลายเท่า
พื้นที่ที่ขาดแคลนขนส่งมวลชนที่พึ่งพาได้
ย่อมสูญเสียโอกาสการพัฒนามากกว่า
พื้นที่ที่ขนส่งมวลชนเข้าถึง
คนที่ได้รับการเยียวยาจากสาธารณภัย
ย่อมมีโอกาสฟื้นฟูความเสียหาย
มากกว่าคนที่ไม่ได้รับอะไรเลย
การที่ชาวบ้านต้องมาดิ้นรนลงทะเบียน
เพื่อแย่งสิทธิ์การเยียวยา
ทั้งๆที่ทุกคนก็ได้รับผลกระทบกันหมด
นี่คือตัวอย่างทั้งหมดของการเหลื่อมล้ำ
2
สิ่งเหล่านี้ทำให้ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยพุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก
โฆษณา