Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mommy of Two
•
ติดตาม
24 ธ.ค. 2021 เวลา 04:42 • ข่าว
มณฑลจี๋หลินในจีนผุดนโยบายให้กู้ 1 ล้านบาทเพื่อการเลี้ยงดูลูก หวังแก้ปัญหาขาดแคลนประชากร
ทีมา: Pexels.com
ปัจจุบันในหลายๆ ประเทศประสบปัญหาอัตราการเกิดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก และโลกกำลังจะย่างเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ
ในมณฑลจี๋หลินของจีนได้มีการเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับคู่สามีภรรยาเพื่อการเลี้ยงดูลูก โดยให้วงเงินอยู่ที่ 200,000 หยวนหรือราวๆ 1 ล้านบาท นอกจากนี้ หากคู่สามีภรรยาที่มีลูก 2-3 คนเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคล้ายๆ SMEs บ้านเรา ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีอากรต่างๆ อีกด้วย
เหตุผลที่จี๋หลินต้องออกนโยบายนี้เนื่องมาจากว่าจำนวนประชากรของจี๋หลินลดลง 12.7% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว บวกกับนโยบายหลักของรัฐบาลกลางของจีนที่สนับสนุนให้ประชากรมีลูกเพิ่มมากขึ้น
สำหรับจีนแล้ว การลดลงของประชากรคือเรื่องใหญ่มากเพราะจีนคือศูนย์กลางการผลิตของโลก เมื่ออัตราการเกิดลดลง นั่นหมายความถึงการขาดแคลนแรงงานที่จะเกิดในอนาคตอย่างแน่นอน
นอกจากการสนับสนุนด้านเงินกู้แล้ว จี๋หลินยังขยายระยะเวลาการลาคลอดของคุณแม่จากเดิม 95 วันให้เป็น 180 วัน และของคุณพ่อจาก 15 เป็น 25 วัน เรียกได้ว่าสนับสนุนกันอย่างเต็มที่
ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลกลางของจีนออกนโยบาลลดหย่อยภาษีให้กับครอบครัวที่มีลูกอายุต่ำกว่า 3 ปี อีกทั้งยังพยายามปรับเปลี่ยนนโยบายที่อนุญาตให้มีลูกแค่ 1 คนในอดีตมาเป็นสนับสนุนให้มีลูก 3 คน ยกตัวอย่างเช่นครอบครัวใดที่มีลูก 3 คนจะไม่ต้องเสียค่าปรับหรือได้รับการยกเว้นโทษที่ได้รับจากการทำงาน ได้เช่าแฟลตของรัฐบาลในราคาถูก หรือผ่อนปรนกฎที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้าน เป็นต้น
ดังนั้นในมณฑลต่างๆ ของจีนก็เริ่มออกนโยบายเสริมเพื่อขานรับนโยบายจากส่วนกลาง นอกจากจี๋หลินที่ให้เงินกู้แล้ว เมืองเหลียนเจียง ในมณฑลกวางตุ้งมีนโยบายให้เงินสนับสนุนรายเดือนอยู่ที่ราวๆ 16,000 บาท สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีลูกที่เกิดหลังวันที่ 1 กันยายน และจะได้รับเงินสนับสนุนนี้ไปจนถึงอายุ 2 ขวบครึ่ง (ซึ่งคิดเป็นยอดรวมอยู่ที่ 480,000 บาทต่อเด็ก 1 คน!!) อ่านถึงตรงนี้เราอาจจะคิดว่า โอโห เมืองนี้เอางบประมาณมาจากไหน
คำตอบคือเงินบริจาคจากคนรวยในเมืองค่ะ
นอกจากนี้ในเมืองอื่นๆ เช่น ส่วนเขตหลินเจ๋อในมณฑลกานซูให้เงินสนับสนุนเพื่อที่อยู่อาศัยราวๆ 198,400 บาทให้กับคู่สามีภรรยาที่มีลูก 2-3 คน และมีแผนการที่จะให้เงินสนับสนุนประมาณ 48,000 บาทต่อปี เมืองพันจือหัว มณฑลเสฉวนก็มีนโยบายแจกเงินประมาณ 2500 บาทต่อเดือนให้กับครอบครัวที่มีลูก 2-3 คน
อ่านถึงตรงนี้แล้ว บางคนอาจจะอยากย้ายไปอยู่เมืองจีนรึเปล่าคะ 🤔
เสียงของคนจีนหลังจากการออกนโยบายสนับสนุนให้มีลูก 3 คน
ถึงแม้ว่าจะมีนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนการมีลูก แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ก็ยังลังเลเพราะ
สถานการณ์โควิดในปัจจุบันบวกกับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมันโหดจริงๆ ถึงแม้จะมีนโยบายออกมา แต่การเลี้ยงลูก 3 คนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายยังค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่
ที่มา Pixabay
เค้าเคยว่ากันว่ามีลูก 1 คนจนไป 7 ปี ตอนนี้ถ้าบวกเงินเฟ้อไปด้วย อาจจะจนไปซัก 10 ปีไปเลยค่ะ
ส่วนเมืองเล็กๆ หรือในชนบท คนจีนก็ไม่ได้อยากจะมีลูกเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายของการเลี้ยงดูเด็ก 1 คนจะน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการอยู่ในเมือง แต่การเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ที่อยู่ในเมืองเล็กๆ ก็ยังได้รับแรงกดดันทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย คุณภาพการศึกษา และการสาธารณสุขอยู่ดี
นอกจากนี้ ค่านิยมของจีนที่อยากได้ลูกชาย กลับมาทำร้ายจีนอย่างหนักเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยที่มีประชากรชายอยู่ราวๆ 723 ล้านคน แต่มีประชากรหญิงเพียง 688 ล้านคน (ต่างกันราวๆ 35 ล้านคน) ในปี 2020
เปรียบเทียบประชากรเพศชายและหญิงในประเทศจีน ค.ศ. 2012 - 2020 ที่มา Statista
อีกทั้งสิทธิของผู้หญิงในจีนเริ่มมีความสำคัญ แนวคิดเดิมเกี่ยวกับหน้าที่การดูแลลูกเปลี่ยนไป ผู้หญิงออกมาทำงานบ้านนอกมากขึ้น ดังนั้นการมีลูกทำให้ผู้หญิงต้องเสียสละความเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งผู้หญิงยุคใหม่ในจีนหลายๆ คนก็ไม่ได้ต้องการแบบนั้น
ไหนๆ ก็เล่าเรื่องเมืองจีนแล้ว แอดก็เลยอยากรู้ต่อว่าแล้วในโลกล่ะ เป็นยังไงกันบ้าง
อัตราการเกิดและอัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลก
อัตราการเกิดเฉลี่ยทั่วโลกในปัจจุบันอยู่ที่ 18.5 คนต่อประชากรโลก 1,000 คน ซึ่งเมื่อดูจากสถิติตั้งแต่ปี 1990 แล้ว กราฟค่อยๆ ไต่ลงจาก 26 มาที่ 18 ในเวลาเพียง 30 ปีเท่านั้นค่ะ
และแนวโน้มของกราฟ ก็จะไต่ลงไปเรื่อยๆ
อัตราการเกิดเฉลี่ยของประชากรทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 - 2021 ที่มา United Natiins - World Populatiin Prospects
หากมองในแง่อัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility rate) หรือว่ากันง่ายๆ คือจำนวนเฉลี่ยที่ผู้หญิงแต่ละคนผลิตลูก ซึ่งตัวเลขที่พอเหมาะคือ 2.3 เพราะพ่อแม่สองคน ผลิตลูกมาแทนที่ตัวเอง 2 คน
ดังนั้นแปลว่าถ้าตัวเลขอัตราการเจริญพันธุ์น้อยกว่า 2 นั่นหมายความว่าประชากรในประเทศนั้นๆ กำลังลดลงค่ะ
โดยภาพรวม ถึงแม้ประเทศในทวีปแอฟริกา อัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 4.7 แต่ในประเทศในเอเชียอย่างจีน อัตราการเจริญพันธุ์อยู่ที่ 1.7 ส่วนเกาหลีอยู่ที่ 1.0 สิงคโปร์และฮ่องกงอยู่ที่ 1.1 ในยุโรปยิ่งแล้วใหญ่ เพราะไม่มีประเทศไหนเลยที่มีตัวเลขเกิน 2.0 ประเทศอย่างอเมริกา อัตราการเกิดมีเพียง 1.7
ส่วนเมืองไทยเรา อยู่ที่ 1.5 เท่านั้นค่ะ
อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลกปี ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564)
ทำไมต้องกังวลเกี่ยวกับตัวเลขประชากรที่ลดลง
โครงสร้างประชากรมนุษย์ จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงวัยเด็ก ช่วงวัยหนุ่มสาวหรือช่วงวัยทำงาน และช่วงวัยชรา เมื่อวัยทำงานมีจำนวนที่มาก ประเทศก็จะสามารถพัฒนาไปได้เพราะมีแรงงาน มีคนทำงานเสียภาษี กลับกันหากประเทศที่มีประชากรช่วงวัยชรามาก รัฐบาลก็จะต้องเสียงบประมาณด้านการสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก และต่อไปในอนาคตหากโลกมีอัตราการเกิดต่ำลงไปเรื่อยๆ รุ่นลูกรุ่นหลานเราที่เมื่อกลายเป็นประชากรวัยแรงงานแล้วจะต้องรับภาระหนักมาก เพราะวัยทำงานอย่างเราในปัจจุบันจะกลายเป็นวัยชรา และจะทำให้ประชากรวัยชรามีมากกว่าวัยแรงงาน หรือเรียกว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั่นเองค่ะ
ก็อย่างว่า ในมุมมองของแม่คนนึงนะคะ ถ้าแอดยังไม่มีลูกตอนนี้ก็คงจะคิดหนังมากว่าจะให้เค้าเกิดมาดีรึเปล่า ไหนจะโควิดเอย PM 2.5 เอย โลกร้อนเอย มลภาวะเอย รุ่นลูกคงจะต้องมาตามแก้ตามรับผลจากที่รุ่นเราทำไว้ แอดสงสารเค้าค่ะ
ที่มา
https://www.macrotrends.net/countries/WLD/world/birth-rate
http://whereisthailand.info/2011/06/fertility-rate/
https://worldpopulationreview.com/country-rankings/total-fertility-rate
https://www.reuters.com/world/china/china-allow-tax-deductions-care-small-children-help-boost-births-2021-07-20/
https://www.statista.com/statistics/251129/population-in-china-by-gender/
https://edition.cnn.com/2021/09/24/china/three-child-cash-incentive-intl-hnk/index.html
ประชากรลดลง
จีน
เงินสนับสนุน
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย