24 ธ.ค. 2021 เวลา 02:54 • สิ่งแวดล้อม
ปลาโรนิน หรือ ปลากระเบนท้องน้ำ 🐟
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhina ancylostoma
2
ปลาโรนินเป็นสัตว์ทะเลคุ้มครองตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม ฉบับที่ 4
ปลาโรนิน
ปลาโรนินมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้ง
มีปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีหนามตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถว ซึ่งหนามบนตัวปลานี้คนทางภาคใต้ของไทยนิยมนำมาทำเครื่องประดับ ทำหัวแหวน กำไร โดยเชื่อว่าเป็นของขลังสามารถป้องกันคุณไสย ป้องกันอันตรายจากภูติพรายที่อาศัยอยู่ในน้ำและอันตรายจากสัตว์น้ำได้ โดยทั่วไปพื้นผิวลำตัวของปลาโรนินด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่
ปลาโรนินมีส่วนหัวคล้ายกับกระเบนแต่ส่วนหางคล้ายฉลาม และยังมีลักษณะคล้ายกับปลาอีกตัวคือปลาโรนัน
แต่สามมารถแยกได้จากลักษณะของปลายส่วนหัวคือ
ปลาโรนินจะมีส่วนกลม ส่วนปลาโรนันจะมีส่วนหัวเรียวแหลม
เเหวนที่ทำจากเกล็ดบนหลังของปลาโรนิน
ปลาโรนินโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 3 เมตร หนังสูงสุดประมาณ 135 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน อาหารของปลาโรนินได้แก่ ปลาขนาดเล็กที่อาศัยตามพื้นทะเล กุ้งปูขนาดเล็ก หอยสองฝาและปลาหมึก ปลาโรนินออกลูกเป็นตัว ศัตรูตามธรรมชาติของปลาโรนินคือปลาฉลามเสือ สถานภาพของปลาโรนิน พบเห็นได้ยาก ใกล้สูญพันธุ์เเล้ว
ขอบคุณรูปภาพ: Google
โฆษณา