Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
1 ม.ค. 2022 เวลา 07:04 • ความคิดเห็น
สวัสดีครับ เมื่อสัปดาห์ก่อนได้นำแสตมป์กุ้งมาให้ชมกัน วันนี้เรามาดูหอยกันต่อเลยครับ
หอย 🐚🐚 นั้นเป็นสัตว์ที่กำเนิดมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่หลากหลายมากที่สุดรองจากแมลง ซึ่งพบแล้วไม่ต่ำกว่า 80,000 ชนิด มีการพิสูจน์พบว่าเปลือกหอยสามารถคงรูปร่างอยู่ได้นานถึง 75 ล้านปี😱😱😱
ในปัจจุบันมนุษย์ได้นำหอยมาใช้ในกายรศึกษาทั้งทางวิทยาศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี อย่างลวดลายของหม้อไหบ้านเชียงก็เชื่อว่ามีที่มาหรือแรงบันดาลใจจากก้นหอยโขงน้ำจืด หรือหอยขม
ในเมืองไทยมีการศึกษาอย่างจริงจัง ศาสตร์ที่ศึกษาเฉพาะทางด้านหอย เรียกว่า “สังขวิทยา”
กรมไปรษณีย์ โทรเลขในสมัยนั้น ได้นำเอาหอย มาจัดพิมพ์ลงบนดวงแสตมป์ด้วยกัน 4 ชนิด จะร่ายให้ฟังดังนี้ครับ
แสตมป์หอยชุดแรก ออกจำหน่ายวันแรก วันที่ 5 กันยายน 2518 จัดพิมพ์โดย แฮริสัน แอนด์ ซัน จากเกาะอังกฤษ ด้วยวิธีลิโธกราฟี่ ครบชุดมี 4 แบบ ชนิดราคา 75 สตางค์ 1 บาท 2.75 บาท และ 5 บาท โดยชนิดราคา 1 บาท พิมพ์จำนวน 3,000,000 ดวง อีกสามชนิดราคา จัดพิมพ์ชนิดละ 1,000,000 ดวงครับ
ในส่วนราคาประเมิน แบบที่ยังไม่ใช่ชุดละ 550 บาท หากใช้แล้วราคา 180 บาทครับ
แสตมป์หอยแมลงภู่
เริ่มที่แสตมป์ดวงแรก ชนิดราคา 75 สตางค์ พิมพ์รูปหอยแมลงภู่ (Mytilus Smaragdinus Chemnitz)
สีของเปลือกหอยเปลี่ยนไปตามสภาพการอยู่อาศัย ถ้าอยู่ใต้น้ำตลอดเวลามีสีเขียวอมดำ ถ้าอยู่บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ถูกแดดบ้างเปลือกจะออกเหลือง เปลือกด้านนอกมีสีเขียว ส่วนท้ายจะกว้างกว่าส่วนหน้า เนื้อหอยมีสีเหลืองนวลหรือสีส้ม มีหนวดหรือเส้นใยเหนียวสำหรับเกาะหลักเรียกว่า เกสร หรือ ซัง
เป็นหอยที่กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก กินอาหารแบบกรองกิน ซึ่งกินได้ทั้งแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ มีทั้งเพศแยก และมีสองเพศในตัวเดียวกัน
นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น หอยทอด ออส่วน
แสตมป์หอยอูด
ดวงที่สอง แสตมป์ชนิดราคา 1 บาท เป็นภาพหอยอูด (Turbo Marmoratus Linnaeus
🐚🐚หอยอูด (หอยมุกไฟ หอยโข่งเขียว หอยโข่งทะเลน้ำลึก) แล้วแต่จะเรียก ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น เนื้อหอยสามารถนำมาประกอบอาหารได้คร
แต่เปลือกหอยชนิดนี้เมื่อนำขึ้นมาจากทะเลผิวด้านนอกจะถูกเคลือบไว้ด้วยหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ผิวด้านในท้องหอยจะเคลือบด้วยสารที่ขับออกมาจากตัวหอย (น้ำลายหอย) จึงต้องนำไปผ่านกระบวนการขัดหินปูนที่เกาะอยู่ด้านนอกออก จึงจะปรากฏความแวววาว และสวยงามเมื่อกระทบกับแสงสว่าง เป็นประกายสีรุ้ง 7 สี นิยมนำมาใช้ประดับบานประตู หน้าต่างอุโบสถ
จากลักษณะดังกล่าวมาข้างต้น จึงถูกเรียกว่า “หอยมุกไฟ” ปัจจุบันหอยมุกไฟในประเทศไทยได้หมดไปแล้ว ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ประเทศพม่า อินเดีย ราคากิโลกรัมละประมาณ 2,5000-3,000 บาทบาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเปลือกหอย (เดิมในประเทศไทยพบในแถบทะเลอันดามัน)
คุณสมบัติพิเศษของหอยมุกไฟ
สะท้อนแสงจากธรรมชาติได้ 7 สี
มีลักษณะมันวาว ด้วยตัวของตัวเอง
พื้นที่การใช้งานมาก
แกนหอยสามารถนำไปทำเขียวหัวโขนได้ (เขี้ยวยักษ์)
ขื่อหอย ใช้ประกอบเครื่องยาจีน
ส่วนโค้งของเปลือกหอยนิยมทำพระเนตรขาวของพระพุทธรูป
ภาพหอยอูดก่อนขัดสีฉวีวรรณ บน และรูปหอยอูดหลังจากการขัดแล้ว ล่าง
วิบวับ
แสตมป์หอยกระดุม
ดวงที่สาม แสตมป์ชนิดราคา 2.75 บาท เป็นภาพหอยกระดุม (Olive Mustelina Lamarck) หรือหอยเม็ดขนุน
หอยกระดุมนี้มีเปลือกเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเป็นเงามัน แต่ละชนิดมีสีและลายสวยงามแตกต่างกันไป มักอาศัยตามชายฝั่งที่เป็นหาดทรายและทรายปนโคลน ในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ใต้พื้น แล้วยื่นงวงขึ้นมาเหนือพื้นเล็กน้อย ออกหาอาหารในเวลากลางคืน ตีนมีขนาดใหญ่จึงสามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นได้ค่อนข้างรวดเร็วและมีอวัยวะรับกลิ่นที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถได้กลิ่นอาหารหรือกลิ่นของศัตรู ที่อยู่ห่างออกไปหลายเมตร
อาหารของหอยกระดุม เป็นสัตว์ที่ยังมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น หอยกาบคู่ กุ้ง ปู และซากสัตว์ที่อยู่ตามชายหาดและพื้นทะเล ทั่วโลกพบหอยกระดุม ประมาณ 200 ชนิด เปลือกของหอยกระดุมนำมาใช้ทำกระดุมและเครื่องประดับ
แสตมป์หอยเบี้ย
ดวงสุดท้าย แสตมป์ชนิดราคา 5 บาท เป็นภาพหอยเบี้ย
หอยเบี้ย (Cyprae Moneta Linnaeus) มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร
เปลือกของหอยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตรา สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
(moneta ภาษาละตินแปลว่า เงินตรา)
นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้
เยี่ยมชม
blockdit.com
[เรื่องราวจากของเก็บ] สวัสดีวันศุกร์ครับ 🔥🔥🔥
สวัสดีวันศุกร์ครับ 🔥🔥🔥
ท้ายนี้ มีเพลงที่ร้องกันตอนไปเข้าตค่ายลูกเสือตั้งแต่ประถมมาฝากครับ น่าแปลกที่ผ่านมานานมากแล้ว แต่ทำไมยังจำได้ก็ไม่รู้นะครับ
🎵🎵หอยนางรม เป็นปุ่มเป็นปมอยู่ในซอกหิน
หอยนางรม เป็นปุ่มเป็นปมอยู่ในซอกหิน
ทำอย่างไรจะได้หอยกิน ทำอย่างไรจะได้หอยกิน
เอามือ…ฉีก…หิน แล้วจะได้กินหอย🎵🎵
ที่มาข้อมูล
http://www.changsipmu.com/motherofpearlinlay_p02.html
wikipedia
ขอบคุณที่ติดตามครับ 🌤🌤🌤
เล่าขานผ่านแสตมป์
แสตมป์ที่ระลึก
ของสะสม
บันทึก
10
25
3
10
25
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย