Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าไปเรื่อย
•
ติดตาม
30 ธ.ค. 2021 เวลา 14:07 • ไลฟ์สไตล์
Special Scoop: เทศกาลสุขใจ คริสต์มาสและปีใหม่สากล
นับถอยหลังสู่ปีคริสต์ศักราช 2022 หรือพุทธศักราช ๒๕๖๕
บทความพิเศษรับเทศกาล (ภาคต่อ)
ตามที่ติดไว้จากบทความพิเศษก่อนหน้า รอบที่แล้ว วาตาชิ รวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลคริตส์มาส มาในรอบนี้ตามคำพูด "ปีใหม่สากล" ทุกวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
ย้อนกลับไปในสมัยโบราณกาล มนุษย์ได้เริ่มมีวัฒนธรรม มีประเพณี และมีอารยธรรมที่มีการนับวันเวลาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมนี้ริเริ่มการใช้ปฏิทินโดยอาศัยดวงจันทร์ในการนับเดือน เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดให้เป็น 1 ปี และนอกจากการกำหนดปีปฏิทินแล้วยังมีการจัดเทศกาลเฉลิมฉลองเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (Vernal Equinox) ซึ่งเปรียบเหมือนการเริ่มต้นปีใหม่โดยจัดงานที่เรียกว่า เทศกาลอคิตู (Akitu) เพื่อบูชาเทพเจ้ามาร์ดุค (Marduk)
ผ่านมาอารยธรรมเมโสโปเตเมียได้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่คติการใช้ปฏิทินยังคงถูกนำมาประยุกต์ใช้โดยอารยธรรมอื่นๆ เช่น อียิปต์ กรีก โรมันก็นำระบบปฏิทินมาปรับใช้ให้ตรงกับฤดูกาลมากขึ้น
ต่อมาในสมัยของกษัตริย์ จูเลียส ซีซาร์ ได้นำปฏิทินโรมันมาปรับปรุงตามแนวคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอเล็กซานเดรีย นามว่า เฮมดัล โดยให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุกๆ 4 ปีให้มีเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน เรียกว่า ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar) หรือปี อธิกสุรทิน
ปฏิทินจูเลียนถูกใช้กันเรื่อยมา จนกระทั่งพบว่า วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวัน และกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต
แต่ในปี ค.ศ. 1582 (ตรงกับ พ.ศ. 2125) วสันตวิษุวัตกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม
เหตุนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไขโดยหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว)
ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
ซึ่งเริ่มแรกนั้นประเทศที่นับถือนิกายคาทอลิกเท่านั้นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ จนประเทศอังกฤษเริ่มต้นใช้ในปี 1752 โดยประกาศให้หลังวันที่ 2 กันยายน เป็น 14 กันยายน ในขณะที่ประเทศกรีซเพิ่งจะมาเริ่มใช้ในปี 1923
วันขึ้นปีใหม่ของไทย
แต่เดิมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นิยมใช้วันขึ้นปีใหม่ในช่วงวันสงกรานต์ ดังนั้นจึงมีชาวไทยส่วนหนึ่งที่ยังยึดถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยอยู่
เทศกาลวันปีใหม่ได้จัดเป็นวันเฉลิมฉลองในรูปแบบงานรื่นเริงครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เรียกว่าวันตรุษสงกรานต์
เหตุผลที่ราชการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม ตามหลักสากล เพื่อยกเลิกการนับปีใหม่ของลัทธิพราหมณ์กับพระพุทธศาสนา โดยใช้วันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลทั่วโลกไม่ให้ขัดต่อหลักพระพุทธศาสนาด้านการนับวัน รวมถึงการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนมาแล้วทั้งหมด 4 ครั้ง ตามปฏิทินการเปลี่ยนแปลงนักษัตร และเดือนตามจันทรคติ ได้แก่
- วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย
- วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์
- 1 เมษายน พ.ศ. 2432
- 1 มกราคม พ.ศ. 2484
ในปัจจุบันวันคริตส์มาสและวันปีใหม่สากล นับเป็นเทศกาลหยุดยาวต่อเนื่องกันเทศกาลหนึ่งและเป็นเทศกาลสากล เป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง นิยมแลกของขวัญและเดินทางไปเที่ยว พักผ่อน หรือเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ รวมถึงจัดเตรียมอาหารฉลองกันในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือองค์กร
ในหลายๆ ปีที่ผ่านมา มนุษยชาติเรามีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี แม้ในยามนี้ วาตาชิ เองก็เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้เราสามารถเฉลิมฉลองร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และหวังว่าเราจะได้กลับไปฉลองเทศกาลหยุดยาวนี้ร่วมกันได้อีกครั้ง
แล้วไว้เจอกันใหม่อีกครั้ง
วาตาชิ
Thanks for
wallpaperaccess.com
Muzika:
travel.trueid.net/
ประวัติ ที่มาวันปีใหม่ 1 มกราคม เทศกาลเฉลิมฉลองของโลก
ไทยรัฐออนไลน์:
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/
วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม มีประวัติที่มาและความสำคัญอย่างไร
บันทึก
1
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย