24 ธ.ค. 2021 เวลา 10:17 • ประวัติศาสตร์
“สตีฟ วอซเนียก” ผู้ยอมทิ้งตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และหุ้นก้อนโตจาก Apple
2
นอกจาก สตีฟ จอบส์ แล้ว อีกหนึ่งผู้ให้กำเนิดแอปเปิ้ลคือ สตีฟ วอซเนียก
1
ถ้าคุณคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งแอปเปิ้ล เป็นผู้บริหารระดับสูง เงินเดือนหลายล้าน แถมยังถือหุ้นประจำตำแหน่งไว้จำนวนหหนึ่ง สมมติบริษัทมีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท คุณถือหุ้นแค่ 1% เท่ากับว่าคุณถือสินทรัพย์ไว้ 1 หมื่นล้าน คุณจะทิ้งมันหรือเปล่า ?
1
รู้ไหมว่า.. “สตีฟ วอซเนียก” ยอมทิ้งสิ่งเหล่านี้ไป
แล้วทำไมเขาถึงทิ้งเงินและอำนาจมหาศาลขนาดนั้น มาหาคำตอบไปพร้อมกัน…
คุณ “สตีเฟ่น แกรี่ วอซเนียก” หรือ “สตีฟ วอซเนียก” ในที่นี้ขอเรียกสั้นๆ ว่า คุณวอซ
เขาเป็นอัจฉริยะชาวอเมริกัน เกิดในปี 1950 ที่ซานโฮเซ่ รัฐแคลิฟอร์เนีย พ่อของวอซเป็นวิศวกรล็อกฮีด บริษัทอาวุธยักษ์ใหญ่ระดับโลก
วอซเรียนไฮสคูลที่ Homestead โรงเรียนเดียวกับสตีฟ จอบส์ ที่เข้ามาเป็นศิษย์รุ่นน้อง
หลังจากนั้น เขาได้ต่อมหาลัยที่โคโลราโด โบลเดอร์ ก่อนที่จะถูกไล่ออก เพียงเพราะว่าแฮกระบบของมหาวิทยาลัย แต่เขาก็เรียนจนจบวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (หลังจากแอปเปิ้ลเป็นที่รู้จักแล้ว)
1
ในช่วงวัยนักศึกษา วอซได้เข้าฝึกงานที่ Hewlett-Packard บริษัทเทคยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อย่อว่า HP
1
ในช่วงนี้เอง วอซได้รู้จักกับสตีฟ จอบส์ ในฐานะของพี่เลี้ยง วอซเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อๆ หนึ่งว่า "เราพบกันครั้งแรกในปี 1971 ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัยขณะที่เขาเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย เพื่อนคนหนึ่งบอกว่า 'คุณควรได้พบกับสตีฟจ็อบส์เพราะเขาชอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเขาก็ชอบเล่นอะไรแผลงๆ ' เขาก็เลยแนะนำเราให้รู้จักกัน”
1
ไม่นาน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งกลายมาเป็นหุ้นส่วนกันครั้งแรก หลังได้รับแรงบันดาลใจจากบทความที่มีชื่อว่า “ Secrets of the Little Blue Box”
1
ทั้งคู่ได้สร้างโทรศัพท์ไร้สาย โดยใช้ชื่อว่า Blue Box ซึ่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 มันยังเป็นสิ่งใหม่ แถมยังผิดกฏหมาย เนื่องจากเวลานั้น ผู้คนธรรมดายังใช้เครือข่ายโทรศัพท์กันอยู่
1
วอซและจอบส์ขาย Blue Box ได้มากกว่า 200 ชิ้นในราคา 150 เหรียญ
2
แต่รู้ไหมว่า การละเมิดกฎหมายของทั้งคู่ เป็นจุดเปลี่ยนสู่ยุคสมาร์ทโฟนไร้สายในปัจจุบัน
2
และถ้าไม่มี Blue Box ในวันนั้น ก็คงไม่มี Apple ในวันนี้
1976 วอซและจอบส์ ร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์แรกของ Apple นั่นคือคอมพิวเตอร์ Apple I และ Apple II
วอซมีส่วนสำคัญมากในต้นกำเนิดของแอปปเปิ้ล เขาคือหัวคิด และเป็นผู้สร้างผลิตภัณฑ์ ส่วนจอบส์คือคนที่ทำการตลาด
1
ไม่นานนัก คอมพิวเตอร์จากแอปเปิ้ลก็ประสบความสำเร็จ จนนำไปสู่การต่อต่อยอดในโปรดักส์ต่างๆ อย่างที่เห็นกันกระทั่งปัจจุบัน
ต้นปี 1981 แม้ว่าแอปเปิ้ลจะประสบความสำเร็จแล้วในระดับหนึ่ง ทว่าวอซกลับประสบอุบัติเหตุทางเครื่องบิน ขณะที่กำลังเทคออฟขึ้น เครื่องเกิดการสะดุด ทำให้เด้งลงรันเวย์ทะลุรั้วสนามบิน
วอซทุกข์ทรมาณจากอาการบาดเจ็บและความจำเสื่อมเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนที่จะรักษาตัวจนหายดี แล้วกลับมาพัฒนาโปรดักส์แอปเปิ้ลอีกครั้ง
ครั้งหนึ่งในงานเปิดตัว Apple II สิ่งที่วอซเนียกตั้งหน้าตั้งตาพัฒนามันมาหลายปี แต่กลับไม่ได้รับเชิญให้เข้างาน แถมในงานก็ไม่ได้พูดถึงแผนกพัฒนา Apple II ของเขาเลยแม้แต่นิด
1
มีคนพบเห็นว่าวอซไม่พอใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ถึงขั้นกับเตะขยะในลานจอดรถเพื่อระบายอารมณ์กันเลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่ายอดขายในปี 1985 Apple II ครองส่วนแบ่งร้อยละ 85 จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของแอปเปิ้ล
เหตุการณ์นี้ไม่ได้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้วอซลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเสียทีเดียว เพราะเขาเป็นคนที่ไม่ชอบทำงานนั่งโต๊ะ มาจัดการ มาตัดสินใจ มาแก้ปัญหาภาระทั้งหลายของบริษัท เขาเป็นคนที่ชอบงานวิศวกรรม เพราะมันได้ลุยมากกว่า
2
นอกจากนี้ ส่วนตัววอซเนียกยังให้เหตุผลอีกว่า เขาไม่ได้มีความนุกเหมือนกับช่วงแรกที่ก่อตั้ง “บริษัทกำลังเดินไปผิดทางในช่วงห้าปีที่ผ่านมา” หลังจากนั้น ก็เซ็นใบลาออกในปีนั้น พร้อมกับขายหุ้นส่วนใหญ่ มูลค่าหลายล้านในมือ
1
หลังจากที่วอซลาออก เขาเลือกเดินในทางที่ตนเองชอบ ทั้งพัฒนา Universal Remote อันเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของโทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน
นอกจากนี้ เขายังได้พัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมาย ที่ช่วยอำนวยความสะดวกของผู้คนในชีวิตประจำวัน
1
อย่างไรก็ดี แม้วอซจะลาออกไปตั้งแต่ปี 1985 ในฐานะของพนักงานประจำของบริษัท แต่เขายังคงเป็นตัวแทนของแบรนด์แอปเปิ้ลในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ หรือแถลงข่าวออกสื่อ
1
และแม้เขาจะทิ้งหุ้นใหญ่ในมือ แต่เขาก็ยังคงถือจำนวนหนึ่งไว้อยู่ ในปี 2006 วอซได้รับการสำรวจถึงค่าจ้างจากการเป็นตัวแทนบริษัท ถึงปีละ 120,000 เหรียญ เลยทีเดียว
2
ปัจจุบัน แอปเปิ้ลคือเทคคอมปานี ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไม่แปลก ถ้าสตีฟ จอบส์ และทิม คุค ซีอีโอคนปัจจุบันจะทำการตลาดได้ดี
1
แต่ถ้าวันนั้นไม่มีวอซเนียก วันนี้ก็อาจจะไม่เห็นแอปเปิ้ลอย่างที่เป็น.. ก็ได้
1
วอซเนียก ไม่ได้เป็นแค่หัวสมองของแอปเปิ้ล แต่เขาเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาให้คนรุ่นหลัง เลือกที่จะทำในสิ่งที่ชอบจริงๆ ไม่เพียงแค่หวังจะหาผลกำไรจากมัน.. แค่อย่างเดียว
3
โฆษณา