25 ธ.ค. 2021 เวลา 07:33 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราวของสีฟ้า บน ท้องฟ้า
กลุ่มเมฆลอยตัวบนท้องฟ้า
ทุกคนคงเคยดูหนังเกี่ยวกับสงครามอวกาศ หรือข่าวการส่งยานขึ้นไปยังอวกาศ เมื่อยานอวกาศได้ทะยานเหนือพ้นโลกขึ้นไปแล้ว ยานอวกาศเดินทางทะยานท่ามกลางความมืด เป็นที่น่าสงสัยไม่ใช่น้อย ว่าทำไมสีท้องฟ้าไม่เหมือนกับตอนที่เราเห็นในช่วงกลางวัน
2
ทำไมเราถึงเห็นเป็นสีฟ้า..?
ปริศนานี้เป็นที่สงสัยของมนุษย์มาเนิ่นนาน
ไม่มีใครสามารถอธิบายได้ว่าทำไมท้องฟ้าถึงเป็นสีฟ้า
จนเมื่อพ.ศ.2412 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ จอห์น ทินดอลล์ ได้สามารถอธิบายการที่เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าได้ด้วยปรากฏการณ์ทินดอลล์(Tyndall Effect)
Tyndall Effect คือ ปรากฏการณ์กระเจิงแสง เมื่อทดลองฉายลำแสงไปในสารคอลลอยด์บางชนิด อนุภาคคอลลอยด์จะทำให้แสงกระเจิงและทำให้มองเห็นเป็นลำแสงได้
แน่นอนว่าแสงที่ทำให้ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าคือ แสงจากดวงอาทิตย์นั่นเอง หากมองเผินๆแล้วเราคิดว่าแสงดวงอาทิตย์คือแสงขาว แท้จริงแล้ว แสงอาทิตย์เป็น Spectrum รวมทุกย่านสี จะส่องลงมาผ่านชั้นบรรยากาศโลก และตรงชั้นบรรยากาศนี่เองที่ทำให้เกิดการกระเจิงของแสง โดยจะเกิดการกระเจิงกับแสงย่านความถี่สูงย่านน้ำเงิน-ฟ้า ส่วนแสงสีอื่นๆไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศด้านบน เดินทางต่อมายังชั้นบรรยากาศด้านล่างซึ่งมีฝุ่นควัน ละอองน้ำ
2
แสงขาวจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านปริซึมจะแยกออกเป็นแสงสีรุ้ง
มาถึงตอนนี้บางคนเกิดคำถามว่า อ้าวแล้วทำไมตอนเย็นถึงเห็นท้องฟ้าสีแดง ตามที่กล่าวข้างต้นว่าแสงสีน้ำเงินที่ถูกทำให้กระเจิงในชั้นบรรยากาศด้านบน ส่วนแสงสีอื่นๆทะลุผ่านลงมายังชั้นบรรยากาศด้านล่างที่เต็มไปด้วย ละอองลอย ฝุ่น ละอองน้ำ ซึ่งแสงสีแดงสะท้อนกับอนุภาคเหล่านี้ และการที่เรามองเห็นท้องฟ้าสีแดงในตอนเย็น เกี่ยวข้องกับมุมและระยะห่างจากแหล่งกำเนิดแสงที่เรายืนอยู่ด้วยตามช่วงเวลาในแต่ละวัน
9
รูปวาดแสดงตำแหน่งยืนบนพื้นโลกในตอนเย็นทำให้มองเห็นท้องฟ้าสีแดงเนื่องจากแสงสีแดงที่ทะลุผ่านมายังชั้นบรรยากาศด้านล่างเกิดการสะท้อนกับละอองลอย ฝุ่น
โฆษณา