25 ธ.ค. 2021 เวลา 14:21 • การศึกษา
วันนี้เขียนถึงบทความวิจัยต่อเนื่องจากบทความวิจัยเมื่อวานที่เป็นการพัฒนาแบบวัดแนวโน้มความเสี่ยง Risk propensity Scale โดยบทความวิจัยที่นำมาเขียนต่อวันนี้มีการเขียนอ้างอิงได้จากดังข้างล่างนี้
Hung, K.-T., Tangpong, C., Li, J., & Li, Y. (2012). Robustness of General Risk Propensity Scale in Cross-cultural Settings. In Source: Journal of Managerial Issues (No. 1; Vol. 24, pp. 78–96).
ต่อเนื่องจากบทความที่เขียนถึงไปเมื่อวันก่อนโดย Hung, K. T., & Tangpong, C. (2010) ซึ่งขั้นตอนแรกผู้เขียนได้ทำการนำข้อคำถามที่มีอยู่แล้วของ Jaworski and Kohli’s (1993) มาใช้ในการเริ่มต้นพัฒนาโดยมี 5 ข้อคำถามดังต่อไปนี้
I believe that higher risks are worth taking for higher rewards.
I like to take chances, although I may fail.
To earn greater rewards, I am willing to take higher risks.
I prefer a tested-and-tried approach over a new approach, although the new approach has some possibility of being a better one in the end (reverse coding).
I like to implement a plan only if it is very certain that the plan will work (reverse coding).
และผู้เขียนได้คิดข้อคำถามเพิ่มเติมอีก 5 ข้อดังนี้
To me, the best possible plan is the plan that is risk-free (reverse coding).
Although a new thing has a high promise of reward, I do not want to be the first one who tries it. I would rather wait until it has been tested and proven before I try it (reverse coding).
When I have to make a decision for which the consequence is not clear, I like to go with the safer option although it may yield limited rewards (reverse coding).
I like to try new things, knowing well that some of them will disappoint me.
I seek new experiences even if their outcomes may be risky.
จากผลการทดสอบความตรง (Validity) และเที่ยง (Reliability) ในงานนั้น จึงเหลือข้อคำถาม 5 ช้อในแบบวัดและให้ชื่อว่า General Risk Propensity Scale (GRP Scale) ดังนี้
I like to take chances, although I may fail.
Although a new thing has a high promise of reward, I do not want to be the first one who tries it. I would rather wait until it has been tested and proven before I try it (reverse coding).
When I have to make a decision for which the consequence is not clear, I like to go with the safer option although it may yield limited rewards (reverse coding).
I like to try new things, knowing well that some of them will disappoint me.
To earn greater rewards, I am willing to take higher risks.
5 ข้อคำถามข้างต้นในแบบวัด GRP Scale ที่เสนอในปี 2010 โดย Hung, K. T., & Tangpong, C. (2010) แต่ในปี 2012 ทางทีมผู้เขียนประกอบไปด้วย Hung, K.-T., Tangpong, C., Li, J., & Li, Y. (2012) ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาแบบวัด GRP Scale อีกรอบเพราะจุดอ่อนที่มีคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบความตรงในงานแรกนั้นเป็นนักศึกษาป.ตรีและ MBA แต่เขาเหล่านั้นยังนับว่ามีประสบการณ์ในการทำธุรกิจน้อยจึงอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนในการตัดสินใจทางธุรกิจที่ซับซ้อนได้
ทำให้งานที่พัฒนาในปี 2012 ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ทำงานและยังทำการเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่างจากสองวัฒนธรรมที่แตกต่างกันคือ กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 148 คนและจากประเทศจีนจำนวน 141 คน
โดยผู้เขียนได้ทำการทดสอบแบบวัดโดยใช้เทคนิคและขั้นตอนต่าง ๆ เหมือนบทความวิจัยที่ทำในปี 2010 และสุดท้ายก็ได้ข้อคำถามในแบบวัด Modified GRP Scale 5 ข้อดังนี้
I like to take chances, although I may fail.
Although a new thing has a high promise of reward, I do not want to be the first one who tries it. I would rather wait until it has been tested and proven before I try it (reverse coding).
I like to try new things, knowing well that some of them will disappoint me.
To earn greater rewards, I am willing to take higher risks.
I seek new experiences even if their outcomes may be risky.
ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ทำการปรับปรุงแบบวัดแนวโน้มความเสี่ยง Modified GRP Scale (2012) เพื่อที่สามารถนำไปใช้วัดแนวโน้มความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น โดยที่ผู้เขียนได้เสนอแนะว่าเราสามารถใช้แบบวัดนี้วัดระดับแนวโน้มความเสี่ยงของผู้บริหารหรือผู้จัดการและสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ว่าเขาจะเหมาะกับการตัดสินใจในการบริหารโครงการธุรกิจที่มีความเสี่ยงหรือไม่แน่นอนหรือไม่ นอกจากนี้แบบวัดนี้ยังสามารถใช้ได้กับคนตะวันตกและตะวันออกได้เพราะได้ทำการทดสอบความตรงจากทั้งสองวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามผู้เขียนได้พบว่าแบบวัดนี้อาจเหมาะกับทางตะวันตกมากกว่าทางตะวันออกเพราะผลทางการทดสอบต่าง ๆ มีค่าออกมาดีกว่าเมื่อทดสอบในกลุ่มตัวอย่างจากอเมริกา ดังนั้นผู้ที่จะนำแบบวัดนี้ไปใช้ในวัฒนธรรมตะวันออกอาจต้องพึงระวังและทำการทดสอบความตรงเพิ่มเติม
โฆษณา