Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นิตยสารสาระวิทย์
•
ติดตาม
27 ธ.ค. 2021 เวลา 07:34 • สิ่งแวดล้อม
ปลาพังกับ Channa melasoma
โดย ชวลิต วิทยานนท์
ปลาพังกับ Channa melasoma มีลักษณะรูปร่างอยู่ระหว่างปลากั้ง C. gachua กับปลาช่อน C. striata ขนาดใหญ่กว่าปลากั้ง แต่เล็กกว่าปลาช่อน จะงอยปากมน หัวโต ลำตัวทรงกระบอก เกล็ดเล็กมี 50-52 แถวตามแนวเส้นข้างตัว ครีบอกมีความยาวเท่ากับส่วนหัวด้านหลังลูกตา ตัวมีสีคล้ำอมน้ำตาลหรือเขียวขี้ม้า ด้านท้องสีจาง ใต้คางสีคล้ำมีจุดประสีจาง ครีบหลัง ครีบอก ครีบก้น และครีบหางสีคล้ำ ครีบก้นมีขลิบสีจาง ครีบท้องสีจาง ขนาดใหญ่สุด 30 เซนติเมตร
เคยมีรายงานว่าพบปลาพังกับเฉพาะที่มาเลเซียถึงเกาะบอร์เนียว แต่ต่อมาก็มีรายงานการพบปลาพังกับในประเทศไทยด้วย โดยพบได้เฉพาะในพื้นที่พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้โดยใช้ไซ ลอบ และเบ็ดธง เพื่อนำมาบริโภคในท้องถิ่น
⚛ นิตยสารสาระวิทย์ ⚛
Website:
https://www.nstda.or.th/sci2pub/sarawit
Facebook:
https://www.facebook.com/sarawitnstda
Blockdit:
https://www.blockdit.com/sarawit
Twitter:
https://twitter.com/sarawitnstda
YouTube:
https://www.youtube.com/c/SARAWITTV
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย