28 ธ.ค. 2021 เวลา 11:30 • การศึกษา
ไปส่งต่อความสุขด้วยการวางแผนภาษีกันเลย (ตอนที่ 6)
กระทรวงแรงงาน แจ้งเงื่อนไข ผู้ประกันตน ม.33-39-40 ยื่นลดหย่อนภาษี ปี 2564 โดยนำรายได้มาหักค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษี ซึ่งผู้ประกันตนแต่ละมาตรา จะมีสิทธิ์การลดหย่อนที่แตกต่างกัน ดังนี้
เงื่อนไข ม.33 ลดหย่อนภาษี ผู้ประกันตน มาตรา 33 สามารถขอเอกสารได้ที่สถานประกอบการที่ตนเองทำงานอยู่ โดยนายจ้างจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งจะแสดงยอดประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย และจำนวนเงินสมทบประกันสังคมที่หักไว้ เพื่อใช้สำหรับยื่นเสียภาษีประจำปี เงินสมทบมาตรา 33 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000 บาท (750×12 เดือน = 9,000 บาท) ขณะที่ ในปี 2564 มีการลดอัตราเงินสมทบ ม.33 จะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท
เงื่อนไข ม.39 ลดหย่อนภาษี เงินสมทบมาตรา 39 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 5,184 บาท (432×12เดือน = 5,184 บาท) แต่ในปี 2564 มีการลดอัตราเงินสมทบ ม.39 จะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,003 บาท
เงื่อนไข ม.40 ลดหย่อนภาษี เงินสมทบมาตรา 40 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,600 บาท (300×12 เดือน = 3,600 บาท) แต่ในปี 2564 มีการลดอัตราเงินสมทบ ม.40 ดังนี้
ตารางสรุปเงินประกันสังคม ปี พ.ศ. 2564
ทั้งนี้ผู้ประกันตน สามารถนำบัตรประชาชนตัวจริง ไปติดต่อขอคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ บริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา