28 ธ.ค. 2021 เวลา 13:49 • คริปโทเคอร์เรนซี
FOMO ต้นเหตุแห่งการขาดทุนมหาศาล
FOMO (Fear Of Missing Out) คือการกลัวที่ตัวเองจะตกกระแส ไม่ทันข่าวร้อนมาแรงที่เกิดขึ้น แต่ในการลงทุน FOMO อาจจะเรียกได้ว่า “การกลัวตกรถ” แต่ก่อนจะไปดูว่า FOMO ทำให้เราขาดทุนได้ยังไง เราต้องเข้าใจพื้นฐานของคนก่อนว่าทำคนเราถึง Fear Of Missing Out ตลอด แล้วทำไมถึงเป็นเหตุให้เราขาดทุนมหาศาล
เนื้อหาจะออกไปทางเล่าเรื่องซะส่วนใหญ่ จะได้เห็นภาพกันนะครับ
อย่างแรกเลย เราต้องเข้าใจก่อนว่าทุกคนที่เข้ามาลงทุน(99.99%) เรามักจะเข้ามาในตลาดการลงทุนเพราะความโลภนำมาอยู่แล้ว ไม่งั้นเราก็คงเอาเงินฝากธนาคารรอกินดอกเบี้ยอย่างเดียว และแน่นอนว่าเมื่อความโลภบังเกิดในการลงทุน มันก็จะทำให้ต่อมเหตุผลของเราน้อยลงไปด้วย สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดเวลาเราลงทุนจริงๆ มันไม่ใช่แค่เรามีความรู้เรื่องการเงินแล้วเราจะลงทุนได้เลย (โอกาสรอดน้อยมากๆ) ต้องมีจิตวิทยาการลงทุน เทคนิคการลงทุน เรื่องของการเข้าใจสภาวะตลาด และที่สำคัญคือเข้าใจตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญเลยที่จะทำให้เราสามารถทำกำไรจากตลาดได้ต่อเนื่อง
📌เมื่อเวลาเรารู้สึกว่าเรา FOMO จากการเห็นคนโพสกราฟลง Social Media ต่าง ๆ โพสอวดกำไรกัน โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมา ไม่มีใครไม่เห็นของ SAND GALA ENJ ที่มันปรับตัวขึ้นมาและเป็นกระแสมากๆ เหรียญพวกนี้อาจจะได้ผลประโยชน์จาก Metaverse พอ Facebook ประกาศ ตัวเหรียญพวกนี้ก็วิ่งกันเลย ทั้งๆที่เรายังห่างจากคำว่า Metaverse มากๆ ถ้าถามว่าเพราะอะไรนะหรอ ตลาดการลงทุนคือตลาดแห่งความคาดหวัง คนจึงให้มูลค่ากับมันไปก่อน ราคามันก็เลยวิ่งไปทั้งๆที่มูลค่าจริงๆอยู่ตรงไหนก็ไม่มีใครรู้ หรือว่าบางทีเราเห็นคนอื่นเค้าได้ เราก็คิดละว่าทำไมได้เยอะจังเลย อยากได้บ้าง นี่แหละคือความรู้สึก FOMO กลัวตกรถ กลัวที่จะไม่ได้เหมือนคนอื่น
1
หลายๆครั้งเวลาเราดูหุ้น เราดูอะไร เราจะไปดูตัวที่บวกเยอะๆ บางครั้งเราก็ไม่ได้ดูพื้นฐานของบริษัทด้วยซ้ำ ว่าบริษัททำอะไร ทำไมราคาปรับขึ้นมาได้ เหรียญตัวนี้ทำอะไร ทำไมเราถึงต้องถือ Demand ของเหรียญตัวนี้ทำไมถึงเพิ่มขึ้นเหตุจากอะไร ทำไมราคาวิ่ง
📌พอเรามีความ FOMO เราก็จะมีเรื่องของอารมณ์เข้ามามากกว่าเหตุผล เราก็จะ Bias (เห้ย! เดี๋ยวมันก็ไปต่อ กราฟมันวิ่งขึ้นมาสวยมาก เดี๋ยวมันก็วิ่งไปอีก) แต่ถ้าเรามองจากหลักการลงทุนเชิงพื้นฐาน เราก็จะเอามูลค่าที่แท้จริงเทียบกับราคาตลาดเสมอ ซึ่งเวลาราคามันวิ่ง มันจะวิ่งหนีห่างมูลค่าไปเรื่อยๆๆๆ ดังนั้น เมื่อตลาดมันเกิดการ Collection ลงมาแรงๆ แล้วมูลค่าไม่ได้ตามขึ้นไป ตามที่คาดหวังไว้ Gap หรือ โอกาสที่เราจะขาดทุน หรือติดดอย มันก็จะกว้างมากๆ มันเลยเป็นเหตุผลว่าทำไมการ FOMO แล้วเราไปเข้าตอนที่ราคาดีดมากๆ วิ่งไป 10-20% แล้ว เราไปเข้า จั่วที่หัวเลย โอกาสขาดทุนหรือเวลาขาดทุนมันจะขาดทุนเจ็บมากๆ
📌ถ้ามองในอีกมุมนึง ไม่ต้องอิงพื้นฐาน เวลาราคาขึ้นไปสูงมากๆ มันก็จะมีคนที่ต้นทุนต่ำกว่าเรา เค้าก็พร้อมที่จะเทขายใส่เรา ต้องอย่าลืมว่าตลาดการลงทุนประกอบไปด้วยคนหลายแสนหลายล้านคน เราไม่สามารถคาดเดาใจได้เลย ทุกคนไม่ได้คิดเหมือนเรา
ยกตัวอย่าง เราคิดว่าหุ้นตัวนี้น่าจะไป 100 บาทนะ (ตอนนี้อยู่ที่ 50 บาท) ยังไงก็น่าจะไป แต่อย่าลืมว่าหุ้นตัวนี้วิ่งมากจาก 5 บาท คนที่มีต้นทุนอยู่ที่ 5 บาท มาขาย50-60 บาท เค้ากำไร 10 เด้ง 12 เด้ง แล้ว คิดยินดีเทขายทันทีเลยนะครับ ถ้าเราไปเข้าช้า ทุนเราแพงกว่า เวลาตลาดย่อ เราจะเจ็บมากกว่า แต่สำหรับคนที่มีกำไรขึ้นมาจากข้างล่างเค้าเฉยๆ ชิวๆกัน เพราะ สถานะ หรือ Position มันแตกต่างกัน
1
หรือการที่เรา FOMO เพราะเราคันมือก็มี ผมก็เป็นบางที เวลา Day-Trade เงินสดในพอร์ตเหลือเป็นไม่ได้ (เดี๋ยวจะเสียโอกาส555) มันก็จะเกิดอาการคันมือ เพราะว่าเวลาเราซื้อ-ขายหุ้น หรือเหรียญ หรือสินทรัพย์การลงทุนใด ๆก็ตาม เราจะมี Bias ลึกๆอยู่แล้วว่า ซื้อไปน่าจะกำไร จะได้เท่านั้น เท่านี้ ได้กี่เด้งก็ว่าไป แต่ได้จริงมั้ยไม่รู้ (Bias ดมกาวไปก่อน) ในความเป็นจริงมันไม่มีวิธี หรือ How to ใด ๆ ที่เราจะสามารถทำกำไรได้แบบ 100%
1
📌ดังนั้นอย่าคาดหวังว่ามันจะได้ผล 100% เราต้องดูถึงกรณีที่ราคามันไม่เป็นไปตามที่เราคิดด้วย เราต้องหาทางออกไว้เสมอ มองหลายๆมุม (อย่ามัวแต่นั่งดมกาว) ต้องเตรียมแผนตั้งแต่ก่อนเข้าเลย ว่าจะ MM ยังไง/ กี่ไม้ดี/ หลุดเท่าไหร่ถึงต้องคัท/ ถึงเป้าเท่าไหร่ถึงต้องขาย ทุกอย่างต้องมีแผนเสมอ ไม่งั้นอยู่ยากครับ ผมเชื่อว่าแผนที่ดีจะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจได้ดี เวลาเทรดก็จะมีสติมากขึ้น ทำให้เราไม่ Bias หรือ ดมกาวมากเกินไปครับ
1
สำหรับใครที่อยากเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองการลงทุนกันใน Line Openchat สามารถ DM หรือ Inbox ทางเพจมาได้เลยครับ
.
#JTrader
#เทรดไปเที่ยวไป
#แผนชัดก็ซัดเลย
#ไม่ซิ่งก็ซี้
#Mindset
.
ปล1. จากข้อมูลข้างต้น ไม่มีเจตนาชักชวน หรือให้ซื้อ-ขายตามบทความข้างต้น
ปล2. การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรพิจารณาไตร่ตรองการลงทุนว่าจะซื้อหรือขายด้วยตัวท่านเองเท่านั้น
โฆษณา