"ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้นักกอล์ฟปวดหลัง"
ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีผู้ที่เล่นกอล์ฟอย่างน้อย 1 รอบใน 1 ปีถึง 26 ล้านคน
ส่วนกีฬากอล์ฟในประเทศไทยถือว่าได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะมี 2 โปรกอล์ฟสาวชาวไทย คือ "โปรโม" กับ "โปรเม" ที่มีความสามารถในระดับ LPGA
การเล่นกอล์ฟอาจจะเป็นการเล่นเพื่อออกกำลังกาย สังคม ก็ได้ โดยมีประโยชน์กับระบบไหลเวียนโลหิต การหายใจ และการเผาผลาญของร่างกายอีกด้วย
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับกีฬาอื่นๆแล้ว กอล์ฟ มีความเสี่ยงระดับปานกลางในการเกิดการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ (musculoskeltal injury) และอาการปวดหลัง (low back pain) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ประมาณ 15-35% ในนักกีฬาสมัครเล่น และ 55% ในนักกีฬาอาชีพ
โดยอาการปวดหลังมักมาจากท่าทางของวงสวิง ซึ่งเป็นกระทำที่ต้องทำซ้ำ (repetitive) มีความไม่สมมาตรของร่างกายขณะเล่น (asymmetrical motion) ซึ่งทำให้เกิดแรง บีบอัด (compressive) บิดหมุน (torsional) และแรงเฉือน (shearing) ต่อ กระดูกสันหลัง
โดยท่าการสวิงของนักกอล์ฟใรปัจจุบัน มีความแตกต่างจากท่าสวิงแบบดั้งเดิม โดยจะมีการเพิ่มการเคลื่อนไหวที่แยกกันระหว่าง ลำตัวส่วนบน/หัวไหล่ กับสะโพกช่วง backswing สูงสุด และระหว่างช่วง downswing ซึ่งเรียกว่า “X-factor” ตามรูป 1a การเพิ่มขึ้นของ X-factor จะเป็นการเพิ่มความเร็วหักมุม (angular velocity) ของลำตัวที่ทำกับลำตัวด้านที่ไม่ถนัด (nondominant side เช่น ถ้าตีมือขวา ลำตัวด้านซ้ายคือ nondominant side) เพื่อท่ะเพิ่มความเร็วของหัวไม้กอล์ฟ (clubhead) ซึ่งต้องอาศัยกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไหวได้ดี (adequate spinal mobility)
วงสวิงสมัยใหม่ยังทำให้เกิดการเอียงตัวไปด้านข้างของลำตัวข้างถนัดที่มากขึ้น (lateral flexion of dominant side) ซึ่งมีผลกระทบในช่วงเริ่มของการ follow-through ซึ่งเคลิ่อนที่ร่วมกันของ axial plane angular velocity ที่ทำกับ nondominant side และ lateral flexion ของ dominant side เรียกว่า “Crunch factor” รูป 1b ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
และยังมีการเคลื่อนไหวในจังหวะ follow-through ที่มีการแอ่นตัวมากขึ้น (hyperflexion) หรือ ท่า C หัวกลับ (reverse-C) ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน (รูป 1C)
จากการวิเคราะห์เชิงอภิมาน (meta-analysis) ล่าสุด ของ Jo Armour Smith และคณะ ปี 2018 พบว่า นักกอล์ฟมีอายุเฉลี่ย 51.5 ปี ความชุกของอาการปวดหลังในนักกีฬากอล์ฟอยู่ระหว่าง 12.4-26.9% แต่หากเป็นนักกอล์ฟมืออาชีพจะเพิ่มเป็น 40.0-58.1%
โดยนักกอล์ฟมือสมัครเล่นที่มีมวลกาย (body mass index:BMI) มากจะมีโอกาสปวดหลังมากกว่า แต่ในขณะเดียวกัน นักกอล์ฟมืออาชีพที่อายุน้อยที่มี BMI น้อยจะมีโอกาสปวดหลังมากขึ้นเช่นกัน
Reference
Smith JA, Hawkins A, Grant-Beuttler M, Buettler R, Lee SP ” Risk Factors Associated With Low Back Pain in Golfers: A Systematic Review and Meta-analysis. Sport Health 2018; 10(6): 538-549
โฆษณา