29 ธ.ค. 2021 เวลา 05:41 • ปรัชญา
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2454 ดร. ซุน ยัตเซ็น (Sun Yat-sen) อดีตผู้นำทางการเมือง หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง และนักปฏิวัติของจีน ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน (Republic of China) แต่ 2 เดือนต่อมาเขาได้ลาออกและยกตำแหน่งนี้ให้แก่ หยวน ซื่อ ไข่ ซุน ยัตเซ็นเป็นผู้คิดและสอนทฤษฎีทางการเมืองหรือ "หลัก 3 ประการแห่งประชาชน" (Three Principles of the People) คือให้ประชาชนยึดหลักเอกราชของชาติ ประชาธิปไตย และหลักความยุติธรรมในการครองชีพ แต่เขามีบทบาทอยู่ในช่วงเวลาไม่นาน เหมาเจ๋อตุงก็เข้ามายึดอำนาจ นำประเทศเข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์
หลักการประชาธิปไตยของดร.ซุน ยัดเซ็นซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดก็คือ หลักสามประการแห่งประชาชน หรือ ลัทธิไตรราษฎร์ ซานหมินจู่อี้ (The Three Principles of the people) อันได้แก่เอกราชแห่งชาติ (หมินจู่) อำนาจอธิปไตยของประชาชน (หมินฉวน) และหลักในการครองชีพ (หมินเซิง) ภาษาอังกฤษนิยมแปลเป็นหรือ socialism ซึ่งสามารถสรุปได้โดยย่อคือ
1) ชาตินิยม (หมินจู่) หรือหลักการถือความเป็นเอกราชของชาติ เนื่องมหาอำนาจจักรวรรดินิยมยังคงคุกคามตามหัวเมืองต่าง ๆ ผืนแผ่นดินของจีน ซุนได้ใช้หลักการต่อต้านจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคมมาสอดแทรกเป็นข้อย่อยของหลักการข้อแรก ส่วนข้อย่อยข้อสองคือหลักการปกครองตนเองที่ควรจะได้แก่ชนกลุ่มน้อยภายในประเทศจีน ซุนถือว่าทุกชนชาติในจีนทุกชนชาติควรมีความเสมอภาคเท่าทียมกันและล้วนเป็นชาวจีนด้วยกัน
(ประเทศจีนประกอบด้วยเชื้อชาติกลุ่มใหญ่ 5 เผ่า คือ ชาวฮั่น ชาวแมนจู ชาวมองโกล ชาวทิเบต ชาวอุยกูร์ ซุนถือว่าราชวงศ์ชิงในขณะนั้นปกครองโดยอภิสิทธิ์ชนชาวแมนจูจึงขัดกับหลักการจึงต้องทำการโค่นล้มราชวงศ์ชิงและให้ชาวแมนจูลงมามีฐานะเท่ากับเชื้อชาติอื่น ๆ
2) ประชาธิปไตย (หมินฉวน) หรือหลักการถืออำนาจอธิปไตยของปวงชน รัฐบาลในอุดมการณ์ของซุน จะต้องเป็นรัฐที่แบ่งแยกองค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 สาขา คือนอกจากมีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตามหลักของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ซุนยังมีเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในขณะเดียวกันต้องถือว่าประชาชนจะเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุด การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนอาจแสดงออกได้ 4 ทาง อำนาจการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) อำนาจถอดถอน (Recall) และอำนาจการลงประชามติ (Referendum)
3) ความเป็นอยู่ของประชาชน (หมิงเซิง) หรือหลักการในการครองชีพ เป็นหลักการที่ซุนได้ยืมเอาลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์มาใช้ มีการแบ่งสรรปันส่วนที่ดินใช้สอย #ซุนยัตเซ็น #SunYatsen
#บิดาของชาติสาธารณรัฐจีน #ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย #หลัก3ประการแห่งประชาชน #ThreePrinciplesofthePeople #ประเทศจีน #China #ประธานาธิบดีประเทศจีน #PresidentoftheRepublicofChina #ลัทธิไตรราษฎร์
โฆษณา