Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
30 ธ.ค. 2021 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
สรุปธุรกิจ แข่งรถ Formula One และความท้าทายที่กำลังเจอ
1
หากพูดถึงชื่อรายการการแข่งขันรถที่เราคุ้นหูมากที่สุด
เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึง “Formula One” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า F1
รถแข่งที่มีรูปลักษณ์ปราดเปรียว มีโลโกแบรนด์สินค้าต่าง ๆ อยู่รอบคัน
มีอัตราเร่ง 0 ถึง 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้ภายใน 2.6 วินาที
และสามารถทำความเร็ว สูงสุดเกือบ 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3
จากสถิติเหล่านี้ ทำให้การแข่งขัน F1
เรียกได้ว่าเป็นการแข่งขันรถที่มีสมรรถนะสูงระดับต้น ๆ ของโลกก็ว่าได้
และยังเป็นกีฬาที่มีผู้ติดตามรับชมทั่วโลกหลายร้อยล้านคน
ยิ่งไปกว่านั้น การแข่งขัน F1 นอกจากเป็นการวัดฝีมือของนักแข่ง และทีมงานแล้ว
ยังเป็นสมรภูมิของบริษัทผลิตรถยนต์จากหลายค่าย เช่น Mercedes, Ferrari และ Aston Martin
ค่ายรถยนต์เหล่านี้ พร้อมที่จะงัดเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุด มาใส่ในเครื่องยนต์
เพื่อวัดกันไปเลยว่า สมรรถนะเครื่องยนต์จากค่ายไหนดีที่สุด
และสร้างรถแข่ง F1 ที่สมบูรณ์แบบที่สุดให้กับนักแข่งใช้ประลองความเร็วในสนาม
แล้วเรื่องราวของ F1 น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ย้อนกลับไปปี 1950 การแข่งขัน F1 ครั้งแรก ถูกจัดขึ้นในสหราชอาณาจักร
โดย Fédération Internationale de l’Automobile หรือ FIA ภายใต้ชื่อรายการแข่งขัน The World Drivers’ Championship
1
ต่อมาในปี 1981 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น FIA Formula One World Championship และนี่ก็เป็นชื่อที่เราได้ยินกันมาจนทุกวันนี้
สรุปการแข่งขัน F1 แบบคร่าว ๆ ให้เข้าใจง่ายคือ
การแข่งขันจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “Grand Prix” คือแข่งขันแบบหลาย ๆ รอบ หลายสนาม เพื่อเก็บคะแนนสะสมหาผู้ชนะในปีนั้น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วจะจัดการแข่งขันช่วงมีนาคม-ธันวาคม ของทุกปี
โดยในปี 2021 แข่งทั้งหมด 22 สนาม ใน 20 ประเทศทั่วโลก
โดยคำว่า “Formula One” เป็นประเภทการแข่งขัน ที่มี FIA กำหนดกฎกติกาให้ทีมเข้าแข่งขันปฏิบัติตาม เช่น รถแข่ง F1 ต้องใช้เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ V6 ขนาด 1.6 ลิตร ร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า
1
ทีนี้มาพูดกันเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจการแข่งขัน F1 กันบ้าง
ซึ่งปัจจุบัน Formula One Group เป็นผู้ถือสิทธิ์จัดการแข่งขัน F1 แต่เพียงผู้เดียว
โดยบริษัทนี้มีมูลค่ากว่า 4.5 แสนล้านบาท
1
ผลประกอบการที่ผ่านมาของ Formula One Group
ปี 2018 รายได้ 60,291 ล้านบาท ขาดทุน 4,950 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 66,726 ล้านบาท ขาดทุน 10,263 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 37,785 ล้านบาท ขาดทุน 19,668 ล้านบาท
เราลองมาดูโครงสร้างรายได้กันบ้าง อ้างอิงจากผลประกอบการปี 2019 ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด
- ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด 38%
- การจัดการแข่งขัน 30%
- โฆษณา 15%
- อื่น ๆ 17%
โดยในปี 2020 เป็นปีที่ทั่วโลกเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด
บริษัทจึงได้รับผลกระทบเต็ม ๆ ส่งผลให้มีเหลือการแข่งขันเพียง 17 สนาม
จากเดิมที่ในปี 2019 มีสนามแข่งขันตลอดทั้งฤดูกาลทั้งหมด 21 สนาม
แถมยังมีมาตรการจำกัดการเข้าชมการแข่งขัน
ผลที่ตามมาก็คือ รายได้จากการขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันและการขายสิทธิ์การถ่ายทอดสดก็ขาดหายไป รวมถึงเม็ดเงินจากการขายโฆษณาก็ลดลง ทำให้ผลประกอบการแย่ลงกว่าเดิมไปอีก
ถ้าเราลองสังเกตจะพบว่า ธุรกิจแบบนี้มีความแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ พอสมควร เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยฐานแฟนกีฬาแข่งรถ F1 เพื่อสร้างรายได้ในช่องทางต่าง ๆ ให้กับบริษัท
1
แล้วจำนวนผู้รับชมทั่วโลกที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ?
หากเรามาดูจำนวนผู้รับชมการแข่งขัน F1 ผ่านช่องทางโทรทัศน์ทั่วโลก
1
- ปี 2018 มีผู้รับชมการแข่งขันจำนวน 490 ล้านคน
- ปี 2019 มีผู้รับชมการแข่งขันจำนวน 471 ล้านคน
- ปี 2020 มีผู้รับชมการแข่งขันจำนวน 433 ล้านคน
ถ้าดูจากยอดผู้รับชมทั่วโลกทางโทรทัศน์ที่มีแนวโน้มลดลงทุกปีแล้ว
แนวโน้มความนิยมของผู้ชมการแข่งขัน F1 ก็น่าจะน้อยลงตามไปด้วย
ซึ่งต้องบอกว่า Formula One Group กำลังเผชิญความท้าทายอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
โดยสาเหตุหนึ่งก็เพราะว่า ความสนุกและความเข้มข้นของการแข่งขันที่ลดลงไป เพราะหากลองมาดูการแข่งขัน F1 ในช่วงปี 2017 ถึง 2020 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าแชมป์ผูกขาดกับคนคนเดียวอย่างคุณ Lewis Hamilton ทีม Mercedes เท่านั้น แถมยังเป็นแชมป์ทิ้งห่างคู่แข่งแบบไม่เห็นฝุ่น
อย่างไรก็ตาม ในปีล่าสุด การแข่งขันก็มีความเข้มข้นมากขึ้นในรอบหลาย ๆ ปี เพราะเป็นการลุ้นแชมป์กันจนสนามสุดท้ายของฤดูกาล
ท้ายที่สุด คุณ Lewis Hamilton ก็เสียแชมป์ให้กับคุณ Max Verstappen จากทีม Red Bull เป็นอันต้องหยุดความฝันแชมป์สมัยที่ 8 ไปอย่างน่าเสียดาย
1
รวมถึงเรื่องงบประมาณในการทำทีมของค่ายรถยนต์ต่าง ๆ
การที่ทีมใหญ่มักจะมีงบประมาณในการทำทีมสูงกว่าทีมที่เล็กกว่า
จึงสามารถสร้างสรรค์รถแข่ง F1 สมรรถนะที่ดีกว่า
ทำให้สุดท้ายแล้วชัยชนะมักตกอยู่กับทีมใหญ่ ๆ ที่ได้เปรียบเรื่องเงินทุน เท่านั้น
1
ซึ่งทางผู้จัดก็เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้มีการออกกฎเพิ่มเติม
อย่างเช่น ตั้งเพดานงบประมาณในการทำทีม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2022
เพื่อหวังให้การแข่งขันมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ทีมที่เงินหนาก็ใช้งบเกินเพดานที่ตั้งไว้ไม่ได้
ซึ่งก็ต้องตามดูกันต่อไป ว่ากฎเกณฑ์ที่ว่านี้จะช่วยให้ภาพรวมความสนุกของการแข่งขัน F1 ดีขึ้นได้หรือไม่
ทั้งหมดนี้ก็คือสรุปธุรกิจ การแข่งรถ F1
และความท้าทายในตอนนี้ ที่ผู้จัดการแข่งขันกำลังเจอ และกำลังปรับตัว..
References
-
https://f1chronicle.com/what-is-formula-1/
-
https://www.autosport.com/f1/news/how-fast-is-an-f1-car-top-speeds-of-f1-indycar-motogp-and-more-4980734/4980734/
-
https://www.tutorialspoint.com/formula_one/car_design_specs_rules.htm
-
https://www.statista.com/statistics/480129/cable-or-broadcast-tv-networks-formula-one-f1-racing-watched-within-the-last-12-months-usa/
-
https://corp.formula1.com/
-
https://www.forbes.com/sites/brettknight/2021/07/22/a-new-budget-cap-gave-small-teams-a-reason-to-stay-in-formula-1-theyre-thinking-much-bigger/?sh=64c8ea371ad0
-https://racingnews365.com/formula-1-engine-rules-for-2021
16 บันทึก
35
6
16
35
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย