24 ม.ค. 2022 เวลา 11:00 • การศึกษา
อโดรา สวิทัก : ‘อะไรคือสิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้จากเด็ก ๆ’… หัวข้อ TED Talks ที่ชวนตั้งคำถามว่าเด็กสอนอะไรผู้ใหญ่ได้บ้าง ?
“ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เด็ก ๆ มักไม่มีสิทธิ์หรือมีน้อยมากในการบัญญัติกฎต่าง ๆ ในขณะที่จริง ๆ แล้ว การตั้งกฎควรมาจากสองฝ่าย”
อโดรา สวิทัก (Adora Svitak) ในวัย 12 ปี กล่าวบนเวที TED Talks เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010 ในหัวข้อ ‘อะไรคือสิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้จากเด็ก ๆ’ (What adults can learn from kids) เพื่อชักชวนให้ผู้ใหญ่รับฟังเสียงของเด็ก และเปิดพื้นที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับเรื่องสำคัญที่มักถูกมองว่าเป็น ‘เรื่องของผู้ใหญ่’ ตั้งแต่การศึกษาในห้องเรียนไปจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
แม้เนื้อหาจะชวนเครียด แต่การเลือกสรรถ้อยคำและวิธีการเล่าเรื่องของอโดรากลับทำให้ผู้ใหญ่หลายคนที่นั่งฟังยิ้มได้ ตามด้วยเสียงปรบมือครั้งแล้วครั้งเล่า จากมุกตลกที่อโดราแทรกเข้ามาอย่างชาญฉลาด และคำถามกระตุกความคิดตั้งแต่เริ่มต้น
“หนูขอเริ่มด้วยคำถามหนึ่ง คุณถูกเรียกว่า ‘ทำตัวเหมือนเด็ก’ (childish) ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?”
เธอพูดประโยคนี้ ตามด้วยตัวอย่างของเด็กและผู้ใหญ่ที่ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก ก่อนจะบอกว่า
“ดังนั้น หากคุณมองจากตัวอย่างดังกล่าว อายุ ไม่ได้มีส่วนเลยแม้แต่น้อย คุณลักษณะของการ ‘ทำตัวเหมือนเด็ก’ ที่สื่อออกมานั้น หลายครั้งผู้ใหญ่ก็เป็นเหมือนกัน และเราก็ควรยกเลิกการใช้คำเชิงกีดกันอายุคำนี้ โดยเฉพาะในการวิจารณ์พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ‘การไร้ความรับผิดชอบ’ และ ‘การคิดแบบไร้เหตุผล’”
นี่เป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งกับมุมมอง ความคิดและความมั่นใจของเด็กหญิงอายุ 12 ขวบคนนี้ และ TED Talks ไม่ใช่เวทีสุดท้ายของเธอ เพราะหลังจากนั้นเธอคือผู้ริเริ่ม TEDxRedmond ในปี 2010 ซึ่งจัดขึ้นโดยเยาวชน เพื่อเยาวชน พ่อแม่ คุณครู และผู้นำชุมชน นอกจากนี้อโดรายังขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 13 ปี ทั้งในสถานศึกษาไปจนถึงองค์กรต่าง ๆ อย่าง Google หรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC)
อโดรา สวิทัก (Adora Svitak) ในวัย 12 ปี กล่าวบนเวที TED Talks เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2010 ในหัวข้อ ‘อะไรคือสิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้จากเด็ก ๆ’ (What adults can learn from kids) เพื่อชักชวนให้ผู้ใหญ่รับฟังเสียงของเด็ก และเปิดพื้นที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับเรื่องสำคัญที่มักถูกมองว่าเป็น ‘เรื่องของผู้ใหญ่’ ตั้งแต่การศึกษาในห้องเรียนไปจนถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
แม้เนื้อหาจะชวนเครียด แต่การเลือกสรรถ้อยคำและวิธีการเล่าเรื่องของอโดรากลับทำให้ผู้ใหญ่หลายคนที่นั่งฟังยิ้มได้ ตามด้วยเสียงปรบมือครั้งแล้วครั้งเล่า จากมุกตลกที่อโดราแทรกเข้ามาอย่างชาญฉลาด และคำถามกระตุกความคิดตั้งแต่เริ่มต้น
“หนูขอเริ่มด้วยคำถามหนึ่ง คุณถูกเรียกว่า ‘ทำตัวเหมือนเด็ก’ (childish) ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?”
เธอพูดประโยคนี้ ตามด้วยตัวอย่างของเด็กและผู้ใหญ่ที่ลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก ก่อนจะบอกว่า
“ดังนั้น หากคุณมองจากตัวอย่างดังกล่าว อายุ ไม่ได้มีส่วนเลยแม้แต่น้อย คุณลักษณะของการ ‘ทำตัวเหมือนเด็ก’ ที่สื่อออกมานั้น หลายครั้งผู้ใหญ่ก็เป็นเหมือนกัน และเราก็ควรยกเลิกการใช้คำเชิงกีดกันอายุคำนี้ โดยเฉพาะในการวิจารณ์พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ‘การไร้ความรับผิดชอบ’ และ ‘การคิดแบบไร้เหตุผล’”
นี่เป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทึ่งกับมุมมอง ความคิดและความมั่นใจของเด็กหญิงอายุ 12 ขวบคนนี้ และ TED Talks ไม่ใช่เวทีสุดท้ายของเธอ เพราะหลังจากนั้นเธอคือผู้ริเริ่ม TEDxRedmond ในปี 2010 ซึ่งจัดขึ้นโดยเยาวชน เพื่อเยาวชน พ่อแม่ คุณครู และผู้นำชุมชน นอกจากนี้อโดรายังขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 13 ปี ทั้งในสถานศึกษาไปจนถึงองค์กรต่าง ๆ อย่าง Google หรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC)
1
ต้นทุนทางความรู้บวกกับการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอจึงทำให้อโดราได้ชื่อว่าเป็นแบบอย่างของเยาวชนอัจฉริยะด้านการสื่อสาร และกวาดรางวัลจากหลายเวที เช่น รางวัลการบริการสาธารณะด้านการศึกษาดีเด่น จากมูลนิธิสมาคมการศึกษาแห่งชาติ (the National Education Association Foundation) ในปี 2011 หรือปี 2013 ที่เธอได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้นำวัยรุ่นระดับโลกของ Three Dot Dash โดยมูลนิธิ We Are Family ซึ่งตั้งอยู่ในมหานครนิวยอร์ก จากผลงานการจัด TEDxRedmond ของเธอ และนิตยสาร Pacific Standard เรียกอโดราว่าเป็นหนึ่งใน ‘30 Top Thinkers Under 30’ และนักเคลื่อนไหวเพื่อสตรีนิยมและการเมืองแบบเสรีนิยม
แต่เมื่อถามถึงความสำเร็จและความภูมิใจ เธอกลับไม่ได้พูดถึงรางวัลเหล่านั้น โดยอโดราให้สัมภาษณ์ใน The Daily Californian ว่า
“หลังจากสุนทรพจน์ TEDxBerkeley ของฉันเกี่ยวกับสาเหตุที่สังคมต้องเปิดกว้างเรื่องเพศมากยิ่งขึ้น มีพ่อคนหนึ่งเดินเข้ามาหาฉันพร้อมกับลูกสาวสองคนแล้วพูดว่า “อโดรา เมื่อฉันได้ยินคำพูดบางคำในสุนทรพจน์ของคุณครั้งแรก ฉันรู้สึกไม่โอเค เพราะลูกสาวของฉันอายุแค่ 11 และ 12 ปี แต่แล้วคุณทำให้ฉันคิดบางอย่างได้ในมุมใหม่” นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับฉัน เพราะมันช่วยเสริมความเชื่อในอุดมคติของฉันที่ว่า ทุกคนสามารถเปิดใจได้หากได้รับโอกาสซึ่งเป็นความเชื่อที่จำเป็นมากสำหรับคนที่กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับปัญหาที่ขัดแย้งกันในบางครั้ง มันทำให้ฉันรู้สึกเหมือนได้สร้างมุมมองที่ต่างออกไปในชีวิตของใครบางคน ฉันรู้สึกประทับใจเสมอที่มีนักเรียนมาหาฉันและบอกฉันว่าตอนนี้พวกเขารู้สึกว่า มันเป็นไปได้หากจะทำสิ่งที่ท้าทายสังคมซึ่งกำลังบอกพวกเขาว่า พวกเขายังเด็กเกินกว่าจะทำอะไรที่มีคุณค่า”
ปัจจุบัน อโดรา สวิทัก ในวัย 23 ปี จบการศึกษาจาก University of California, Berkeley และเข้าทำงานที่มูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation) จัดการประกวด Heart of Knowledge ซึ่งเป็นงานศิลปะในหัวข้อ ‘การเข้าถึงความรู้แบบเปิดกว้างมีความหมายกับคุณอย่างไร’ รวมทั้งโครงการอื่น ๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนสังคม เพื่อสานต่อความตั้งใจเดิมเมื่อสิบปีที่แล้วอย่างที่เธอเคยกล่าวไว้ว่า
“ฉันอยากเห็นเด็ก ๆ จัดการกับปัญหาที่สำคัญสำหรับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นบางสิ่งที่ต้องแก้ไขในโรงเรียนของหรือโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาอยากจะเริ่มต้น ฉันต้องการให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขาสามารถลงมือทำได้ ในวัยเด็ก, เสียงของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นโปรดจงใช้มันให้คุ้มค่า”
เรื่อง ธัญญารัตน์ โคตรวันทา
ที่มา:
#ThePeople #social #AdoraSvitak
โฆษณา