2 ม.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยขาขึ้น ธุรกิจไหนได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ ?
1
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 เมื่อสถานการณ์ของโควิด 19 ในหลายประเทศเริ่มดูดีขึ้น
ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก จึงได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตาม
2
เมื่อความต้องการสินค้ามีมากขึ้น แต่ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการผลิตและการขนส่งยังไม่พร้อม
ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าแพงขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น จนเกิดเป็น “ภาวะเงินเฟ้อ”
1
ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นจนสูงถึง 6.8% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 39 ปี
ในขณะที่ประเทศอังกฤษ เงินเฟ้อก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนธนาคารกลางต้องประกาศขึ้นดอกเบี้ยเกินกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้
1
สำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ
- สหราชอาณาจักร 5.1% สูงที่สุดในรอบ 10 ปี
- เยอรมนี 5.2% และสเปน 5.5% สูงที่สุดในรอบ 29 ปีทั้งคู่
- ไทย 2.7% สูงที่สุดในรอบ 7 เดือน
5
คำถามที่ตามมาก็คือ หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
แล้วธนาคารกลางมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ
ธุรกิจไหนจะได้ประโยชน์ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
เรามาเริ่มจากกลุ่มธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อทันทีเลย ก็คือ “กลุ่มวัฏจักร”
โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตสินค้า
1
ยกตัวอย่างเช่น น้ำมัน, เหล็ก, ทองแดง, ทองคำ และข้าวโพด
รวมถึงธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่ง เช่น ตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่งสินค้า
1
สาเหตุก็เพราะว่าสินค้าและบริการในกลุ่มธุรกิจนี้ จะปรับตัวขึ้นตามเงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ซึ่งส่งผลดีต่อรายได้รวมจากการขายสินค้าและอัตรากำไรขั้นต้นที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2
ต่อมา หากเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้น ธนาคารกลางในประเทศต่าง ๆ
ก็จำเป็นที่จะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นตามไปด้วยเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน
โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์เมื่อมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้น ก็คือ
1
1. ธนาคารพาณิชย์
1
นั่นก็เพราะว่าธนาคารจะมีช่องว่างในการปรับดอกเบี้ยเงินกู้ตามดอกเบี้ยนโยบาย
ในขณะที่ต้นทุน หรือก็คือดอกเบี้ยเงินฝากนั้น ไม่ได้ปรับขึ้นมากเท่าดอกเบี้ยปล่อยกู้
3
ส่วนต่างของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ Net Interest Margin จึงเพิ่มขึ้น
โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นมาทั้งหมด จะไหลลงไปเป็นกำไรของธนาคารพาณิชย์ ทันที
2. บริษัทประกันชีวิต
ด้วยพื้นฐานของบริษัทประกันชีวิตจะมีรายได้จากการเก็บเบี้ยประกัน
ภายหลังจากเก็บเบี้ยของเราไป บริษัทก็จะมีทั้งส่วนที่สำรองไว้เพื่อรองรับการเคลมประกัน
อีกส่วนหนึ่ง ก็จะนำไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน ซึ่งประเภทการลงทุนที่นิยมที่สุดก็คือ ตราสารหนี้ และพันธบัตร
1
หากดอกเบี้ยนโยบายมีการปรับขึ้น
ตราสารออกใหม่ก็จะมีการปรับเพิ่มขึ้นอ้างอิงจากดอกเบี้ยนโยบาย
หมายความว่า ผลตอบแทนของบริษัทประกันชีวิตในอนาคต ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย นั่นเอง
1
นอกเหนือจากผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้ว
ดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้นยังทำให้อัตราคิดลดก็สูงขึ้นด้วย
ซึ่งจะทำให้มูลค่าหนี้ “เมื่อคิดเป็นปัจจุบัน” ลดลง
1
เมื่อมูลค่าหนี้ปัจจุบันน้อยลง บริษัทก็สามารถลดเงินสำรองลงได้และบันทึกเป็นกำไรได้ด้วย เช่นกัน
2
นอกจากธุรกิจทั้ง 2 กลุ่มนี้ อีกกลุ่มที่จะได้ประโยชน์ไปด้วย ก็คือ ธุรกิจที่มีการนำเข้าเป็นหลัก
เพราะเมื่อไรก็ตามที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น จะเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
ทำให้สกุลเงินในประเทศของเราแข็งค่าขึ้น
ซึ่งผู้นำเข้าก็จะได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงิน ทำให้เรามีต้นทุนในการผลิตสินค้าลดลง
แน่นอนว่าในทางกลับกัน ผู้ที่ทำธุรกิจส่งออก ก็จะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อมีกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว
ทีนี้ เรามาดูธุรกิจที่จะเสียประโยชน์ ว่ามีใครกันบ้าง ?
1. กลุ่มธุรกิจ Non-bank
1
เพราะรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงและชนเพดานอยู่แล้วจะปรับขึ้นได้อีกไม่มาก
ในขณะที่ต้นทุนที่มาจากการกู้ยืมจากแหล่งอื่น เช่น หุ้นกู้ ที่ปรับตัวสูงขึ้น
6
นั่นจึงทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธุรกิจกลุ่มนี้ลดลง กำไรบริษัทจึงจะลดลงตามไปด้วย
2. ธุรกิจที่ต้องลงทุนสูง เช่น โรงไฟฟ้า
เพราะธุรกิจประเภทนี้มักมีการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
ในรูปแบบของเงินกู้โครงการที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว
เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ต้นทุนของธุรกิจโรงไฟฟ้าก็จะสูงขึ้น
1
แต่ก็จะมีโรงไฟฟ้าบางประเภท ที่มีรายได้อ้างอิงตามดัชนีผู้บริโภคก็จะไม่ได้รับผลกระทบ
เพราะบริษัทก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกันกับดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่ายเพิ่ม นั่นเอง
2
3. ธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
1
เพราะผู้ซื้ออาจจะชะลอการซื้อบ้าน เนื่องจากดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนต่องวดปรับตัวสูงขึ้น
ซึ่งนอกจากธุรกิจที่กล่าวมานั้น ธุรกิจที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่มีกำไรและมีหนี้สูง
ก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น นั่นเอง
2
สุดท้ายแล้วไม่ว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
จะสูงขึ้นเพียงชั่วคราว หรือจะลากยาวต่อเนื่องไปอีกนาน ไม่มีใครรู้
แต่หากเรามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่าง เงินเฟ้อ, ดอกเบี้ย และค่าเงิน
ในแต่ละกลุ่มธุรกิจและแต่ละสินทรัพย์ มันก็จะทำให้เราสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปในอนาคต ได้ดีขึ้น..
1
References
โฆษณา