31 ธ.ค. 2021 เวลา 18:02 • การศึกษา
ข้อสอบNL2เรื่องงูพิษนี่เน้นๆเลยครับ ออกบ่อยมากๆๆๆ ง่ายมาก มักออกไม่ซับซ้อน
ผู้ป่วยชายโดนงูกัดที่ข้อเท้าช้าย 30นาที ก่อนมารพ. ผู้ป่วยรู้ตัวดี มีหนังตาตกเล็กน้อย Vital sign : BP = 100/80 mmHg, RR = 16/min, P = 98/min. มีบาดแผลที่ข้อเท้าช้ายเป็นรอยเขี้ยว 2 รอยห่างกันประมาณ 1.5 cm. รอบๆ มีบวม และ necrosis เล็กน้อย
ท่านคิดว่างูชนิดใดที่กัดผู้ป่วยรายนี้ (NL2 - 2017)
จำแนกงูตามพิษ
1. Neurotoxin มีกลไกคือทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง (มีผลที่NMJ)
2. Hematotoxin มีกลไกคือ ทำให้เลือดผู้ป่วยไม่แข็งตัว (consumptive coagulopathy)
3. Myotoxin มีกลไกทำให้เกิด Rhabdomyolysis
Neurotoxin “จง เห่า สาม คลา” :
ได้แก่ 1.งูจงอาง(king cobra) 2.งูเห่า(Cobra) 3.งูสามเหลี่ยม(Banded krait) 4.งูทับสมิงคลา(Malayan krait)
Hematotoxin“แมว กะ ไอ้เขียว” :
ได้แก่ 1.งูแมวเซา (Russell’s viper) 2.งูกะปะ (Malayan pit viper) 3.งูเขียวหางไหม้ (Green pit viper)
Myotoxin เช่น งูทะเล (sea snake)
งูทับสมิงคลา (Malayan krait, Bungarus candidus)
- ลักษณะเป็นป้องดำสลับขาว
- พบบ่อย มักพบที่ลุ่มชื้น ใกล้แหล่งน้ำ
งูสามเหลี่ยม (Banded krait, Bungarus fasciatus)
- ลักษณะเป็นป้องดำสลับเหลือง
- พบน้อย ไม่ค่อยกัดคน มักพบที่ราบ ป่าชายเลน ทุ่งนา
งูเห่า (Cobra) : แม่เบี้ยของงูเห่ามีขนาดสั้นและกว้าง ด้านหลังแม่เบี้ยมีรูปดอกจัน หัวงูเห่ามีลักษณะกลมมน เกล็ดมีขนาดใหญ่ทั้งหมด งูเห่าพ่นลมทำให้เกิดเสียงฟู่ฟู่ได้
งูจงอาง (king cobra) : แม่เบี้ยของงูจงอางแคบและตั้งได้สูงกว่างูเห่า ด้านหลังมีรูปคล้ายก้างปลา
สำหรับในกลุ่มNeurotoxinนี้ เราจะต้องรู้จักข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อในคนไข้ครับ ก็คือ ...
Indication for intubation (Neurotoxin)
1. Dysphagia
2. Peak flow < 200 litre/min. or Respiratory muscle weakness (สังเกตได้จากมี respiratory paradox)
3. หนังตาตก (palpebral fissure < 0.5 cm)
สำหรับการพิจารณาให้Antivenomนี้ก็มี indication ที่ควรรู้เช่นกันครับ
1. Indication for Antivenom in neurotoxin(indicationเดียวกับ intubation)
2. Indication for Antivenom in Hematotoxin
- Systemic bleeding(มีเลือดออกนอกบริเวณที่ถูกกัด)
- VCT(venous clotting time) > 20 min.
- Platelet < 50,000
สรุปแนวคิดข้อนี้
ข้อนี้มีประวัติงูกัด Fang mark มีPtosis ⇒ นึกถึงงูกลุ่ม Neurotoxinครับ
เมื่อนึกถึงงูกลุ่ม Neurotoxin แล้วก็ต้องแบ่งเป็น2กลุ่มคือ
1. กลุ่มที่มี local effectเด่น (swelling , tissue necrosis) ⇒ งูจงอาง (king cobra) , งูเห่า (Cobra)
2. กลุ่มที่มี local effectน้อย (อาจมีแค่รอยเขี้ยวและบวมเล็กน้อย ไม่มีskin necrosis) ⇒ งูสามเหลี่ยม(Banded krait) , งูทับสมิงคลา (Malayan krait)
ข้อนี้มีช้อยส์งูเห่า(Cobra) พอดี ตอบครับ
Ref
1. Emergency Care: The Pocket Guide Book ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6
2. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการดูแลรักษางูมีพิษกัด. สารราชวิทยาลัย 1999;16:27-34.
โฆษณา