2 ม.ค. 2022 เวลา 02:26 • การศึกษา
Past 2 #เตรียมพร้อมอย่างไร ?
เราได้พูดถึงเป้าหมาย 5 ประการที่เราจะต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กได้แก่
1) การได้อยู่บนโลกที่เขาอยากอยู่ รู้ตัวเองเป็นใคร ต้องการอะไรจากชีวิตนี้
2) เป็นผู้ทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม
3) มีทักษะที่จำเป็น เพื่อรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
4) การดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย รักงานที่ทำ มีเป้าหมายชีวิตชัดเจน
5) มีความมั่งคั่งทางการเงิน
ซึ่งในตอนนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับวิธีการเตรียมความพร้อม สามารถทำได้อย่างไรบ้าง ?
ในหนังสือ Prepared จะบอกถึงขั้นตอนหลัก 4 ข้อตามความเชื่อของโรงเรียน Summit ที่จะใช้ในการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนก่อนจะออกไปจากรั้วของโรงเรียนเพื่อเผชิญกับโลกภายนอกที่มีความเปลี่ยนแปลง
และการแข่งขันสูง ขั้นตอนทั้ง 4 ข้อนั้น คือ
1.การเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
2.การนำการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การสะท้อนคิดโดยอาศัยการชี้แนะ
4.การประสานความร่วมมือกับผู้อื่น
โดยขั้นตอนทั้ง 4 ข้อนั้นต้องเชื่อมโยงกัน
#ขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
สามารถกระทำได้โดย
1)เลือกหัวข้อที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน
2)ศึกษาเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น
3)กล่างสุนทรพจน์ (ในรูปแบบ Ted Talk) เพื่อโน้มนาว ชักจูงผู้อื่นให้เปลี่ยนแปลง
เราจะเห็นได้ว่าแนวทางในการจัดการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปจากการเรียนแบบเดิม ๆ ที่เน้นครูเป็นผู้บรรยายความรู้เป็นหลักสู่การทำโครงงาน (PBL , Project-Based Learning)
การสอนแบบโครงงานเป็นฐานหรือ PBL ไม่ใช่เรื่องใหม่มันถูกคิดค้นมานานแล้ว ความหมายของการสอนแบบ PBL คือ “วิธีจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียน ได้พัฒนาองค์ความรู้และทักษะผ่านการดำเนินงานในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อค้นคว้าและตอบสนองต่อปัญหาหรือความท้าทายที่มีจริง ดึงดูดใจและซับซ้อน
การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของใครสักคน เราต้อทำให้ความเชื่ออีกทางนั้นดีกว่า เมื่อนักเรียนได้พบเส้นทางที่ดีกว่าเขาจะละทิ้งประสบการณ์ และการฝึกฝนในอดีตของตนเพื่อเรียนรู้วิธีที่แตกต่างออกไป
บทบาทของครูจากการบรรยายหน้าชั้นก็จะต้องปรับเปลี่ยนให้การบรรยายนั้นน่าสนใจยิ่งขึ้น และให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น การบรรยายในห้องเรียนจะถูกแทนที่ด้วยการอภิปราย วางแผน ดำเนินการวิจัย สร้างแบบจำลอง การเขียน และการคิดเชิงวิพากษ์
# PBL , Project-Based Learning
ถ้าเราเป็นครูวิทยาศาสตร์ เราต้องให้นักเรียนได้ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ทำโครงงาน
โรงเรียน Summit ได้ใช้รูปแบบการจัดทำโครงงานเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนซึ่งมีรูปแบบดังนี้
1)ต้องตั้งปัญหา คำถาม หรือความท้าทายในชีวิต และชุมชนของนักเรียน
2)ต้องลงมือแก้ไขปัญหา ตอบโจทย์ จัดการความท้าทายของนักเรียน
3)ต้องได้รับคำแนะนำอย่างทันที เพื่อปรับใช้พัฒนาโครงงาน
และผลงานนั้นต้องมีคุณภาพสูง สามารถนำเสนอแบบจำลอง จำลองสถานการณ์ เผยแพร่ทางเว็บไซด์ มีการรณรงค์ สร้างแบบแปลน และนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ตัวอย่าง โครงงาน Sim City
คำถามสำคัญ : เราจะออกแบบเมืองที่มีความยั่งยืนกว่านี้ได้อย่างไร ?
ประชาชน บริษัททั้งหลาย และรัฐบาลต้องตัดสินใจในประเด็นใดบ้างเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร การจัดการมลภาวะและขยะแล้วการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
นักเรียน : เลือกได้ว่าจะสวมบทบาทเป็นนักออกแบบเมือง และรวมกันออกแบบเมืองจริง ๆ
กติกา : แข่งขันออกแบบเมืองใหม่โดยเริ่มจากศูนย์
เวลา : 2 เดือน
สิ่งที่คำนึง : ปัญหาการเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย
เหตุผลประกอบการตัดสินใจ : งานวิจัยสนับสนุน
อื่น ๆ : ความเชื่อส่วนบุคคล ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนทางการเงินและสังคม ความเชื่อความต้องการของพลเมือง ความเป็นไปได้ที่จะมีเสียงตอบรับทางลบ
โดยนักเรียนจะได้ทำโครงงานศึกษาตามอัธยาศัย (Passion Project)
นักเรียนที่ศึกษาในประเด็นที่ตัวเองรับผิดชอบต้องศึกษาจน “เชี่ยวชาญ” เพื่อสอนสมาชิกในกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มจะต้องเรียนรู้จากกันและ และต้องทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาการตัดสินใจร่วมกัน
ครูผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทตัวเองเป็นโค้ชที่คอยแนะนำอยู่สม่ำเสมอตลอดการทำโครงงาน การจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับโลกจริง รวมทั้งการฝึกซ้อม การได้รับคำแนะนำ จะช่วยผลักดันใหนักเรียนก้าวข้าม “ขีดจำกัดของตัวเอง”
#การพัฒนาการตัดสินใจ
ตลอดระยะเวลาที่นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือทำที่ Summit School นักเรียนจะถูกพัฒนาการตัดสินใจ โดยพิจารณาจากคำถามเหล่านี้ คือ
1)นักเรียนสามารถประเมินสถานการณ์อันยากโดยรอบด้านหรือไม่
2)เหตุผลใดและหลักศีลธรรมใดบ้างที่นักเรียนใช้ประกอบการพิจารณา
3)นักเรียนได้แสดงการประเมินทางเลือกที่แตกต่างอย่างชัดเจนเพียงใด
เราสามารถตั้งประเด็นปัญหาเพื่อทดสอบการตัดสินใจได้ เช่น ตั้งคำถามว่า “หากเพื่อนของนักเรียนโกง นักเรียนจะบอกครูหรือไม่?” โดยให้นักเรียนเขียนเรียงความออกมา
ผลปรากฏว่านักเรียนที่เรียนรู้แบบ PBL ตอบคำถามได้ดีกว่ามากเพราะได้พิจารณาสถานการณ์จากหลายมุมมองมองกว่า ชี้แจงเหตุผลได้ครอบคลุ่มกว่า และสามารถชั่งน้ำหนักข้อสัญนิษฐานที่สนับสนุนการตัดสินใจบ่อยครั้งกว่า
#อุปสรรคของการสอน PBL
ถึงแม้การจัดการเรียนรู้แบบ PBL จะมีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ก็ยังมีอุปสรรคในหลายข้อเช่น
1)มีความยากของการใช้ PBL ต่างจากหนังสือเรียนที่มีเนื้อหาและแบบฝึกหัดตรงตามมาตรฐาน
2)แบบทดสอบมาตรฐานระดับชาติ ไม่ตอบโจทย์การสอน PBL
3)ความเชื่อแบบเดิม ๆ คือ เรียน ๆ สอบ ๆ ก็ดีอยู่แล้ว เพราะมันง่ายกว่าที่มาตั้งคำถามว่า “ถ้าแต่ก่อนฉันได้รับการศึกษาที่ดีกว่าชีวิตฉันจะเป็นอย่างไร?”
ละทั้งหมดนี้คือขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ขึ้นตอนของการเตรียมความพร้อมตามแนวทางของโรงเรียน Summit ครั้งต่อไปเราจะมาพูดถึงขั้นตอนที่ 2 การนำการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าจะมีความน่าสนใจอย่างไร เดี๋ยวไว้มาเจอกันครับ ขอบคุณครับ
ฝากกดไลค์ กดแชร์ เพื่อรับบทความดี ๆ ทุกวันและเป็นกำลังใจให้กับเพจเราด้วยนะครับ ขอบพระคุณทุกท่านมาก ๆ ครับ
Past 2 #เตรียมพร้อมอย่างไร ?
Sarun's School
#การศึกษา
#prepared
โฆษณา