2 ม.ค. 2022 เวลา 13:00 • ความคิดเห็น
คุณงามความดีส่วนตนกับสาธารณประโยชน์
Private Virtue and the Commonweal
https://www.dictionary.com/e/s/extraordinary-ways-maintain-virtue/#being-virtuous-is-easier-said-than-done
ตามที่ Peter F. Drucker ได้แสดงทัศนะเอาไว้ในหนังสือ The Practice of Management ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ว่า
"ในสังคมที่มีศีลธรรม ประโยชน์ส่วนรวมจะพึ่งพาคุณงามความดีส่วนตนเสมอ"
คำถามคือ แล้วเราจะพัฒนาการตัดสินใจอย่างมีจริยธรรมของแต่ละบุคคลในสังคมได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ผู้เขียนขอนำเสนอ 1 ใน 5 แนวทางที่จะมาช่วยให้เรากำหนดกรอบการตัดสินใจด้วยคุณธรรมจากบทความ
"Five Ways To Shape Ethical Decisions: Virtue Approach by Capsim"
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คุณธรรมคือ องค์ประกอบของอุปนิสัยในแต่ละบุคคล ที่หลอมรวมเข้ากับการปฏิสัมพันธ์ผ่านผู้อื่นในสังคม ทั้งครอบครัว เพื่อนฝูงและคนใกล้ชิด องค์กรที่เราเรียนหรือทำงาน ชุมชนที่เราอยู่อาศัย ตลอดจนประเทศที่เราเสียภาษี ซึ่งทำให้ความเป็นมนุษย์ของเราลึกซึ้งยิ่งขึ้น (higher selves)
แน่นอนว่าวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละสังคมก็อาจให้ความสำคัญกับคุณธรรมบางอย่างมากกว่าคุณธรรมอื่น แต่โดยทั่วไปแล้ว คุณธรรมหมายถึงลักษณะเช่น ความซื่อสัตย์ ความเมตตา ความอดทน ความสุภาพ ความเห็นอกเห็นใจ ความพากเพียร การพึ่งพาตนเอง ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ความเอื้ออาทร การรู้จักพอประมาณ การควบคุมตนเอง ความรอบคอบ ฯลฯ
โดยเราต้องเริ่มฝึกตั้งคำถามกับการกระทำในชีวิต ว่าวิธีการตัดสินใจในแต่ละเรื่องของเรานั้น สะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ที่เราคิดว่าเราเป็น หรือต้องการจะเป็นหรือไม่? และการตัดสินใจนั้นส่งเสริมในสิ่งที่เราให้ความสำคัญทั้งกับตนเอง และสังคมที่เราปรารถนาจะสังกัดหรือไม่?
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนคิดว่าวิธีการที่ดีที่สุดคือ ก่อนเราจะตัดสินใจทำอะไรในฐานะปัจเจก เราอาจต้องคิดเสมอว่า เราจะสามารถทนอยู่กับผลลัพธ์ที่จะตามมาในอนาคตได้หรือไม่?
"In the long run, the public interest depends on private virtue."
by James Quinn Wilson, an American political scientist
อ้างอิง
โฆษณา